ตำแหน่งจุดโฟกัสของเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป


เรียนรู้จากบทเรียน มาศึกษาเชิงประจักษ์ ด้วยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความเชื่อมโยง นำมาสู่การเห็นแจ้ง แจ่มชัด ชัดเจน เข้าใจ

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมหนึ่งในหลักสูตรรังสีเทคนิค ที่เน้นให้นักศึกษาได้เข้าใจ เข้าถึงองค์ความรู้จากการลงมือปฎิบัติ ซึ่งผมได้พานักศึกษารังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 1 เข้าสู่การศึกษาเชิงประจักษ์ โดยการลงมือปฏิบัติ ดู จับ สัมผัส กับเครื่องเอกซเรย์ที่ประจำอยู่ตามห้องตรวจ เพื่อเชื่อโยงทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจ ชัดแจ้ง ชัดเจน มากขึ้น

นักศึกษากำลังช่วยกันมองหาว่าจัดโฟกัสอยู่ตรงไหน?

รวมถึงศึกษาส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญของเครื่องเอกซเรย์ ส่วนหนึ่งของเครื่องเอกซเรย์ที่หลายคนมองข้าม หรือ ไม่รู้จัก คือ จุดโฟกัส (Focal spot) จุดนี้เป็นบริเวณที่อิเล็กตรอนพุ่งเข้ากระทบหรือชน ซึ่งช่วยบ่งบอกว่า จุดกำเนิดรังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้นในหลอดเอกซเรย์ นั้นอยู่ตรงตำแหน่งใด 

ผมเจอจุดโฟกัสแล้วครับ

ภาพที่ระลึกของนักศึกษากับจุดโฟกัส จากการลงมือทำด้วยตัวเอง

จุดสีดำในวงกลมสีขาว คือ ตำแหน่งของจุดโฟกัสของเครื่องเอกซเรย์เครื่องนี้ ที่บอกในรูปสัญญาลักษณ์

   

หลอดนี้มีจุดแสดงตำแหน่งของจุดโฟกัสอยู่ค่อนข้างลึก แสดงเป็นจุดสีดำ(ศรชี้)

 

 

 

สำหรับหลอดนี้ แสดงจุดโฟกัส เป็นลักษณะเป็นจุดกลม

 

 

 

ส่วนเครื่องนี้เขียนบอกไว้อย่างชัดเจน  แต่เขียนไว้ด้านข้าง (ขอบนอก) ของหลอดเอกซเรย์

โดยมากแล้ว... หากเครื่องเอกซเรย์เครื่องใดๆ ที่ไม่มีเครื่องหมายบอกตำแหน่งจุดโฟกัสแสดงไว้บนตัวหลอดเอกซเรย์

เราอาจประมาณได้ว่า ตำแหน่งจุดโฟกัสน่าจะอยู่ประมาณ 1/3 จากด้านฐานล่างขึ้นไปด้านบนของหลอดเอกซเรย์นั้นๆ  (ภาพล่าง แสดงระยะทางจากขอบล่างถึงจุดโฟกัส โดยเส้นสีแดง ประมาณ 1/3 )

 

 

 

เมื่อใช้งานสำหรับการถ่ายภาพรังสี มีสิ่งหนึ่งที่ต้องทำ คือ การกำหนดระยะห่างระหว่างจุดโฟกัสถึงฟิล์ม (FFD : Focus Film Distance) ต้องถูกต้องและเหมาะสม เช่น

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ใช้ระยะFFD ประมาณ 60-72 นิ้ว

การถ่ายช่องท้อง ใช้ระยะ FFD ประมาณ 40 นิ้ว

เป็นต้น

 

 

ดังนั้นนักรังสีเทคนิคจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า ตำแหน่งของจุดโฟกัสของหลอดเอกซเรย์ของเครื่องที่ใช้งานนั้น อยู่ตรงไหน? 

เพิ่มคุณค่าของตนเองด้วยการเรียนรู้ ด้วยการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานในวิชาชีพที่มีมาตรฐาน เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มากกว่าการทำตามที่เคยทำหรือทำตามความสะดวกของตนเอง

 

 

 

การเรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือทำด้วยตนเอง ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ทำให้เกิดความเข้าใจ ความรู้คงอยู่ในความทรงจำได้ดีกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว   

 

 

สรุป :

จุดโฟกัสของเครื่องเอกซเรย์ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ว่าอยู่ตำแหน่งใด เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง

 

 

การรู้จักตน รู้ว่า... รู้ รู้ว่า...ไม่รู้ อะไร? แล้วค้นหา ค้นคว้า เรียนรู้ เพิ่มเติม เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

 

 

 

การรู้จักเครื่องมือที่ตนเองใช้งาน ทำให้สามารถใช้งานได้ตรงตามประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จในการทำงานได้มากขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 405739เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2010 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จากทฤษฎี มาดูของจริง ทำให้เข้าใจดีมากขึ้นครับ ปีที่แล้วผมก็ได้รับประสบการณ์นี้มาแล้ว ดีมากครับ

อ่านแล้วเกิดคำถามให้ตัวเอง คำถามที่ อ. ตอบให้แล้ว แต่ ลืม

เห็นทีต้องเปิดตำราใหม่อีกที แล้วล่ะ

ปฏิบัติอยู่ทุกวัน แต่บางครั้งก็ ลืม เหตผลไปซะงั้นละครับ

ทำไม ถ่ายภาพ bone กับ tissue ต้องใช้ขนาด focus ที่ไม่เหมือนกัน

พรุ่งนี้จะเปิดตำรา รื้อฟื้นแล้วคร๊าบบบบ

เรียน คุณโยธิน

การเห็น การได้ลงมือทำ ช่วยสร้างความเข้าใจ เกิดทักษะ

เรียน คุณสุภักดิ์

สิ่งที่ไม่ได้ใช้ ทำให้เกิดหลงลืม การค้นคว้า ทบทวน ช่วยรื้อฟื้นความรู้ ความทรงจำได้ ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาทบทวน ครับ

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ..ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วได้ทบทวนความรู้วิชา Instrument ดีมากๆค่ะ

เรียน คุณฐิตินันท์

การทบทวน เรื่องในชีวิต ในการทำงาน ช่วยกระตุ้นอะไรหลายอย่างในสมองและในร่างกาย

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท