การนิเทศ


การนิเทศภายในโรงเรียน
หลักการนิเทศ
         หากนำความหมาย หลักการนิเทศดั้งเดิมมาผสมผสานกับแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา แนวคิดที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
แนวคิดว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู และระดับคุณภาพครู/ผู้บริหาร (NTQ/EMQ)   หลักการนิเทศในยุคใหม่ ที่ควรจะเป็นก็คือ
1. เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและรองรับด้วยข้อมูลสารสนเทศ
2. เป็นกิจกรรมที่อยู่ในบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
3. เป็นกิจกรรมที่เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้รับการนิเทศ 
4.  เป็นกิจกรรมที่ดึงศักยภาพของผู้รับการนิเทศมาใช้ และให้การยกย่อง
5.  เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับมาตรฐานวิชาชีพหรือระดับคุณภาพครูของคุรุสภาให้สูงขึ้น และรักษา ไว้ได้
กระบวนการในการนิเทศ 
        กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการโดยทั่วไปที่นำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมการนิเทศ   ดังนี้
กระบวนการของเลฮ์แมน และวงจรเดมมิ่ง
ขั้นที่ 1 
การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need)
ขั้นที่ 
การกำหนดจุดประสงค์ที่วัดได้  (Measurable Goals)     
ขั้นที่ 3 
การกำหนดอุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
ขั้นที่ 
การกำหนดวิธีการที่เป็นทางเลือกใน การแก้ปัญหา (Alternatives)
ขั้นที่ 
การเลือกทางเลือกในขั้นที่ 4 มาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา (Selection)
ขั้นที่ 6 
 การนำทางเลือกที่เลือกแล้วไปทดลองใช้ (Implementation)
ขั้นที่ 7 
การประเมินผลการทดลอง เพื่อพิจารณาดูว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่(Evaluation)
ขั้นที่ 8  
  การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องหลังจากทดลองดูแล้ว(Modification)

 

คำสำคัญ (Tags): #kens#น้ำผุดโพธาราม
หมายเลขบันทึก: 405399เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2010 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การพิมพ์ข้อความไม่ดีเลย ท่านวิทยากร(คุณสุริยา)อ่านแล้วกรุณาช่วยแนะนำหน่อยนะคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีปีใหม่ 2554 ครับคุณโด่ง กระบวนการนิเทศของเลย์แมนดีนะครับ ลองปฏิบัติดูสิครับพบปัญหาอะไรจะได้นำมาเล่ากัน ตอนผมเป็นผู้บริหารผมใช้การนิเทศแบบคลีนิค หลักการง่ายๆ คือผู้ป่วยต้องไปหาหมอ คุณโด่งเชื่อไม่ครับในโรงเรียนไม่ค่อยมีใครป่วย จึงไมมีการนิเทศภายในแบบคลีนิค เดี่ยวนี้จึงเงียบๆไป ในความเห็นส่วนตัวจริงๆมีครูผู้สอนต้องการความช่วยเหลือจากผู้นิเทศแต่ไม่กล้าหาหมอ ซึ่งไม่เป็นธรรมดาทั่วไป เราต้องสำรวจความต้องการนิเทศจากครูและนิเทศให้ตรงใจ ส่วนจะใช้วิธีใด ก็ต้องฟังผู้ถุกนิเทศด้วย เกิดผลจากการนิเทศอย่างไรต้องรับรู้ร่วมกัน หากสำเร็จก็ไชโยด้วยกัน โรคที่ป่วยหายขาด ทุกข์ใจหายหมด เป็นความสุขจากการนิเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท