KM ที่รัก ตอนที่ 26 "อบต. ชายขอบ"


ศึกชิงน้ำของคนชายขอบ
"อาจารย์ครับ บ้านผมเกิดวิกฤตแล้วครับ" เสียงตัวแทนชาวบ้านชุมชนรอบล่มน้ำลำตะโคง (เป็นสาขาของแม่น้ำมูล)ผ่านโทรศัพท์มือถือของผม ซึ่งกำลังสัมนาทฤษฏีทางสังคมในเรื่อง "กระบวนการ กลายเป็นคนขายขอบ หลังจากรับโทรศัพท์แล้วผมคุยกับเพื่อนนักศึกษาว่าผมได้กรณีศึกษาของทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคนชายขอบของจริงสด ๆ แล้ว ซึ่งตัวแทนชาวบ้านมีความดีใจมากที่ผมรับปากจะเข้าร่วมประชุมหารือถึงปัญหาดังกล่าวในวันที่ 23 กรกฏาคม (วันนี้)ที่ศาลาวัดริมฝายกักเก็บน้ำ บ้านป่ามัน ตำบลหัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดงจังหวับุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผมกับกลุ่มพ่อคำเดื่อง ภาษี ร่วมทำงานกับชาวบ้านมานานมากกว่า 15 ปี แล้ว ชุมชนล่มน้ำลำตะโคง ประกอบไปด้วยชุมชนที่อยู่รอบอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมี อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล)ล้อมรอบ 4 อบต.คือ อบต.นิคม อบต.หัวฝาย อบต.ร่อนาทอง อบต.ดอนมนต์ ปัญหาอยู่ที่เทศบาลอำเภอสตึกซึ่งอยู่ห่างจากอ่างเก็บน้ำบ้านหัวฝาย 20 กิโลเมตร กำลังขุดวางท่อเพื่อจะนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำหัวฝายไปทำน้ำประปาให้กับเทศบาลอำเภอสตึกที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลแต่ใช้น้ำจากแม่น้ำมูลมาทำน้ำประปาไม่ได้ เนื่องจากน้ำเน่าเสียจากเหตุปัจจัย 3 ประการ 1 โรงงานเหล้าที่อยู่เหนือน้ำปล่อยน้ำเสียลงน้ำ 2เกิดสภาวะน้ำลดมากและน้ำไม่ไหลเนื่องจากมีการดูดทราย ตรงชายฝั่ง(ITV เคยนำเสนอหลายครั้งแล้ว) ทำให้เกิดตะลิ่งพัง 3 มีการระบายน้ำเสียจากเทศบาลจากเทศบาลและโรงพยาบาลลงสู่แม่น้ำ วิธีการแก้ปัญหาคือไปแอบทำสัญญากับ อบต.นิคม เพื่อนำน้ำไปใช้ทำประปาให้ชาวเมืองใช้ ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านรอบฝายนั้นมีปัญหาแย่งน้ำกันใช้อยู่ทุกปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันของประชาสังคม หลายฝ่าย เช่นฝ่ายกำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต.หัวฝาย เจ้าหน้าที่อนามัย และตัวแทนเกษตรกร บรรยาการการประชุมค่อนข้าง ตึงเครียด มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย - ทำไมจึงไม่หารือกับอบต.ที่ได้รับผลกระทบที่รอบ ๆ ฝายก่อน - ถ้าเกิดศึกแย่งชิงน้ำใครจะรับผิดชอบ - เทศบาลสตึกแก้ปัญหาแหล่งน้ำตนเองไม่ได้ แล้วทำไมต้องมาขโมยน้ำที่ชาวบ้านเขาชวยกันดูแลมาโดยยาวนาน ที่ประชุมมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างมากมายและมีข้อสรุปอยู่ 2 ประเด็น 1 ชุมชนรอบลำตะโคงฝ่าย อบต.หัวฝายไม่เห็นด้วย 2 จะมีการร่างหนังสือหารือผ่านนายยก อบต. หัวฝายเพื่อนัดเจรจา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือ เช่น อบต.นิคม (ผุ้ลงนามในสัญญา อบต.หัวฝาย เทศบาลอำเภอสตึก หัวหน้าประปาอำเภอสตึก และผู้ว่ารคาชการจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อหาข้อยุติภายในสิ้นเดินนี้ หลังจากการประชุมแล้ว ผมคิดถึงกระบวนทฤษฏีกระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ ที่พึ่งเรียนมาใหม่ ๆกับอาจารย์กนกวรรณ์ การเกิดคนชายขอบเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนของประวัติศาสตร์โลก ทางเศรษฐกิจที่เป็นแบบ สังคมทุนนิยม ให้ความสำคัญกับตนเองมากที่สุด โดยไม่ค่อยคำนึงถึงผู้อืน จึงทำให้กลุ่มคนบางคน บางกลุ่ม ที่ไม่มีโอกาสเข้าสู่อำนาจ และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเข้าไปใช้ทรัพยากร คนเหล่านนั้นจะถูกกีดกันออกจากระบบสวัสดิ์การ ให้อยู่วงนอก และถูกกดทับไว้ สถานการณ์นี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์และสัญลักษณ์ทางชุมชนหลายอย่าง ที่ชัดเจนมากคือแนวคิดท้องถิ่นนิยม เกิดการรวมตัวกันเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการกระตุ้นปฏิกิริยาทางนโยบายและนำไปสู่การทบทวนเชิงนโยบายต่อการพัฒนาสังคมและผลจากนโยบายการพัฒนาจากบทเรียนของอบต.ชายขอบที่สามารถพูดได้จริงครั้งนี้.ครับ
หมายเลขบันทึก: 40485เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แอบไปเล่นอยู่ที่ไหนครับเนี่ย

อย่าลืมกลับมาช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท