ภาษาอังกฤษน่ารู้


อาชีพภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษงานสาธารณสุข

ภาษาอังกฤษ สำหรับตำแหน่งและอาชีพต่างๆ เป็นประโยชน์มากๆ เวลานึกไม่ออกในการใช้ภาษาเพื่อบอกประเภทและตำแหน่งงาน  เวลาเรียนภาษาและให้สมมุติอาชีพขึ้นมาก็นึกออกแต่อาชีพทั่วไปที่เราคุ้นเคย เช่น doctor nurse policeman postman carpenter  engineer teacher ฯลฯ ตัวเองจึง link web ที่มีประโยชน์เผื่อเพื่อนๆ ต้องใช้ในยามจำเป็น เวลากรอกหลักฐานอาชีพเป็นภาษาอังกฤษ หรือเวลาแนะนำตัวเองหรืออาชีพของคนในครอบครัวเป็นภาษาอังกฤษ

หมายเลขบันทึก: 404708เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คำศัพท์ที่ควรจำไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย(หรือพบแพทย์)*********

 เริ่มจากคำศัพท์ง่ายๆ ก่อน
โรงพยาบาล เราใช้ว่า hospital (ฮอส-พิ-ทัล),

โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตหรือที่เราเรียกว่าโรงพยาบาลบ้า เราใช้ว่า mental hospital (เมน-ทอล-ฮอส-พิ-ทัล) หรือ จะใช้ศัพท์หรูสักนิดว่า psychiatric hospital (ไซ-คิ-แอ๊-ทริก-ฮอส-พิ-ทัล) ก็ได้,

โรงพยาบาลสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เราเรียกว่า maternity hospital (มา-เท้อ-นิ-ตี้-ฮอส-พิ-ทัล) เพราะคำว่า “maternity” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายคำนามที่เกี่ยวกับคนท้อง อาทิเช่น ชุดคลุมท้อง เราเรียกว่า maternity dress


หมอ คือ doctor (ด๊อก-เถอะ),

นางพยาบาล คือ nurse (เนอส),

ส่วนคนที่อยู่ในหน่วยกู้ภัย ที่ได้รับการฝึกฝนการช่วยชีวิตผู้ป่วยมาเป็นอย่างดี เราใช้ว่า paramedic (แพ-ระ-เม้-ดิก),

ผู้ป่วย เราใช้ patient (เพ้-เชี่ยน) คำนี้คนไทยชอบออกเสียงผิด โปรดสังเกตให้ดีว่าตัว t ออกเสียงเป็น “ช” ไม่ใช่ “ท”


ในโรงพยาบาล จะมี ward (วอร์ด) หอผู้ป่วย,

emergency room (อี-เม้อร์-เจน-ซี่-รูม) ห้องฉุกเฉิน,

operating room (อ๊อพ-เปอร์-เรท-ติ้ง-รูม) ห้องผ่าตัด (เพราะการผ่าตัด เราใช้ว่า operation) แต่ชาวอังกฤษจะเรียกห้องผ่าตัดว่า operating theatre (อ๊อพ-เปอร์-เรท-ติ้ง-เธีย-เตอร์) อย่าเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโรงหนังชนิดหนึ่งนะครับ

สำหรับผู้ป่วยหนักที่เรามักจะเรียกทับศัพท์ว่าถูกแอดมิตเข้าโรงพยาบาล มาจากคำศัพท์ว่า “admit” ยกตัวอย่างเช่น

A man has been admitted to the hospital with gunshot wounds.
ชายคนหนึ่งถูกแอดมิต (รับเข้าการรักษาตัว) ในโรงพยาบาลเพราะบาดแผลถูกยิง

แปลกดีนะครับ คนไทยใช้คำว่า “admit” ทับศัพท์จนเคยชิน แต่เวลาเราออกจากโรงพยาบาลไม่เห็นเราใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษเลย ทำให้คนไทยมักจะไม่รู้ว่าจะพูดว่าอย่างไร เมื่อต้องการจะบอกว่าผู้ป่วยได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ให้ใช้ว่า “discharged/released from the hospital” เช่น

She will be discharged from the hospital tomorrow.
เธอจะกลับบ้าน(หลังจากอาการดีขึ้นจากการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล)ในวันพรุ่งนี้

เวลาเราก้าวเข้าไปในโรงพยาบาล นอกจากเจอแผนกต้อนรับ (reception) แล้ว เราจะได้เจอกับแผนกต่างๆ มากมายขึ้นอยู่กับโรคที่เราเป็น อาทิเช่น

ถ้าเราเป็นหวัดก็ต้องไปแผนกอายุรกรรม เราเรียกว่า medicine (เม้ด-ดิ-ซิ่น)  ที่แปลว่า ยา นั่นแหละ แต่มันยังหมายถึงแผนกอายุรกรรมได้อีกด้วย,

แผนกศัลยกรรม เรียกว่า surgery (เซ้อ-เจ่อ-หรี่),

แผนกกุมารเวชกรรม เรียก pediatrics (พี-ดิ-แอ้-ทริกส),

แผนกสูตินรีเวชฯ ใช้ว่า obstetrics and gynaecology (ออพ-สเตร๊ต-ติคส-แอนด์-ก๊าย-นิ-คอ-ลอ-จิ) ซึ่งยาวมากและเป็นศัพท์ยาก เราจึงมักเรียกสั้นๆ ว่า “ob/gyn”,

แผนกจักษุ (ตา) ใช้ง่ายๆ เลยว่า eye (อาย) และ

แผนกจิตเวช เราใช้ว่า psychiatry (ไซ-ค้าย-อะ-ทรี)

เจอศัพท์ยากไปเยอะแล้ว เรามาดูศัพท์ยากกันต่อแล้วกัน (เอ๊ะ...ยังไง! ทำไมมีแต่ศัพท์ยาก? อาจจะเป็นเพราะเราไม่ค่อยได้เจอเท่าไหร่นัก เวลาเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลแต่ละที อาการก็สะบักสะบอม คงไม่ค่อยมีจิตใจไปสังเกตสังกาคำศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงพยาบาลเท่าไหร่ แต่คำศัพท์เหล่านี้ น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเกิดได้ไปเมืองนอกต้องใช้แน่ๆ จึงควรศึกษาไว้

ต่อไปเรามาดูอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราจะได้พบเห็นในโรงพยาบาลกันบ่อยๆ เริ่มจาก

รถเข็นผู้ป่วยแบบนอน เรียก (hospital) trolley (ทร้อ-ลี่),

ถ้าเป็นแบบนั่ง เราจะเรียก wheelchair (วีล-แชร์),

เจ้าหน้าที่ที่เข็นรถเข็นผู้ป่วย เรียกว่า (hospital) porter (พ้อร์-เตอร์),

เตียงผู้ป่วย เรียกว่า examination couch (เอ็ก-แซ้ม-มิ-เน้-ชั่น-เค้าช),

เครื่องชั่งน้ำหนัก เรียกว่า scale (สเกล),

ทะเบียนประวัติการรักษาของคนไข้ เรียกว่า medical records (เม้ด-ดิ-คัล-เร้ค-คอร์ด),

เครื่องวัดความดันโลหิต คือ blood pressure gauge (บลัด-เพรช-เชอร์-เกจ),

เครื่องช่วยฟังจังหวะการเต้นของหัวใจที่หมอใช้เรียกว่า stethoscope (สเต็ด-โธ-สโคพ),

เข็มฉีดยา เรียกว่า syringe (ไซ-ริ้นจ),

ใบสั่งยา เรียกว่า prescription (พรี-สคริพ-ชั่น)


ชื่อโรคต่างๆ ที่น่าจะพบเห็นกันทั่วไปโดยแบ่งตามแผนก

แผนกอายุรกรรม (MEDICINE)

• diabetes (ได๊-อา-บี-ดีส) เบาหวาน เช่น I have diabetes. หรือ I am diabetic.
• hypertension (ไฮ-เปอร์-เท็น-ชั่น) หรือ high blood pressure ความดันโลหิตสูง
• high blood cholesterol ไขมันในเลือดสูง
• heart disease/ heart condition โรคหัวใจ
• asthma (แอส-มา) โรคหอบหืด
• pneumonia (นิว-โม-เนีย) ปอดบวม, ปอดอักเสบ
• TB (ทีบี) = tuberculosis (ทิว-เบอร์-คู-โล-สิส) วัณโรค (ส่วนใหญ่หมายถึงที่ปอด)
• stroke (สะ-โตรก) โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก
• Alzheimer’s disease (อัล-ไซ-เมอร์) โรคความจำ-เสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
• migraine (ไม-เกรน) โรคปวดศีรษะชนิดไมเกรน
• peptic ulcer (เป็ป-ติก-อัล-เซอร์) แผลในกระเพาะอาหาร
• appendicitis (แอ็พ-เพ็น-ดิ-ไซ-ติส) ไส้ติ่งอักเสบ
• cystitis (ซิส-ไต-ติส) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
• kidney/renal failure (คิด-นี่/เร-นัล เฟ-เลียร์) ไตวาย
• thyroid disease (ธัย-รอยด์ ดิ-ซีส) โรคของต่อม- ธัยรอยด์
• tonsillitis (ทอน-ซิล-ไล-ติส) ต่อมทอนซิลอักเสบ
• thalassemia (ธา-ลัส-ซี-เมีย) โลหิตจางชนิดธาลัสซีเมีย
• cancer (แคน-เซอร์) โรคมะเร็ง เช่น lung cancer มะเร็งปอด, breast cancer มะเร็งเต้านม เป็นต้น

แผนกศัลยกรรม (SURGERY)

• hemorrhoid (เฮ็ม-โม-รอยด์) โรคริดสีดวงทวาร
• fracture (แฟรก-เจอร์) กระดูกหัก

แผนกกุมารเวชกรรม (PEDIATRICS)

• chicken pox (ชิก-เก้น-พ็อกซ์) โรคอีสุกอีใส
• measles (มี-เซิลส) โรคหัด
• German measles = rubella (รู-เบ็ล-ล่า) โรคหัดเยอรมัน
• mumps (มั้มส์) โรคคางทูม

แผนกสูตินรีเวชฯ (OB&GYN)


• dysmenorrhea (ดีส-เม-โน-เรีย) = severe cramp during periods ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ
• abortion (อะ-บอร์-ชั่น) แท้งบุตร
• menopause (เม-โน-พอส) วัยทอง

แผนกจักษุ (EYE)

• short-sightedness (ชอร์ต-ไซ-ทิด-เนส) หรือ nearsightedness (เนียร์-ไซ-ทิด-เนส) สายตาสั้น
• long-sightedness (ลอง-ไซ-ทิด-เนส) หรือ far-sightedness (ฟาร์-ไซ-ทิด-เนส) สายตายาว
• astigmatism (แอส-ติ๊ก-มา-ติ-ซึม) สายตาเอียง
• red eye (เรด-อาย) ตาแดง
• lazy eye (เล-ซี่ อาย) หรือ squint (สควินท์) ตาเข
• cataract (คา-ตา-แร็ก) ตาต้อกระจก
• glaucoma (กลอ-โค-ม่า) ตาต้อหิน

แผนกจิตเวช (PSYCHIATRY)

• depression (ดี-เพรส-ชั่น) โรคซึมเศร้า
• psychosis (ไซ-โค้-ซิส) โรคจิตเภท, โรคหลงผิด, โรคจิต (บ้า)
• sadist (เซ้-ดิส) คนที่ชอบทำร้ายผู้อื่น ไม่ได้อ่านว่า ซาดิสต์ อย่างที่คนไทยเรียกกันนะครับ
• masochist (แม้-โซ-คิสท์) คนที่ชอบถูกทำร้าย
• insomnia (อิน-ซอม-เนีย) โรคนอนไม่หลับ ไม่ได้เรียกว่าโรค sleepless นะครับ

Large_chil2

จะเก่งภาษากันใหญ่แล้วพวกเรา

ที่นี่ก็น่าสนใจนะ มีคำศัพท์พื้นฐาน และประโยคตัวอย่างประกอบให้ฝึกคำศัพท์ และที่ดีมากคือถาม-ตอบ สนทนาภาษาอังกฤษ 1000 ตัวอย่างถาม-ตอบ ดีมากเลยคะ http://zuncab.blogspot.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท