การพัฒนานวัตกรรมต้นแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด BBL (๑)


 

วันที่ ๑๘ – ๑๙ ตุลาคม ๕๓ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain – based Learning) สำหรับนักเรียนระดับอนุบาล – ประถมศึกษา ที่บูรณาการแนวคิดพื้นฐานด้านทฤษฎีพัฒนาการการเรียนรู้ และพัฒนาการของสมองเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ มุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพเด็กให้เป็นไปตามธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง และการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก

 

สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ได้เริ่มโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนทดลองมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๘ โดยเริ่มพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับอนุบาล และในปีการศึกษา ๒๕๕๓ นี้ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยต่อเนื่องไปในระดับชั้นประถมปีที่ ๖

 

นิยามสำคัญของการเรียนรู้แบบ BBL ที่ควรทราบคือ

 

การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเชิงรุก (active process) ที่สมองของผู้เรียนถูกขับเคลื่อนโดยเป้าหมาย แรงบันดาลใจ ควาทะยานอยาก ความใฝ่ฝัน และการวางแผนของตัวผู้เรียนเอง ส่งผลใหสมองเกิดการรับรู้ และสร้างความหมายให้กับข้อมูลที่รับเข้าไปด้วยการคิด และมีอารมณ์พอใจต่อความเข้าใจ หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น นำไปสู่ความจำที่ถาวรได้ (สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ ,๒๕๕๐.)

 

โดยนัยของนิยามการเรียนรู้ดังกล่าว การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด BBL จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทั้ง

 

  • ทฤษฏีการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน (Brain – based  Learning Theory)
  • ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้จากการประมวลและจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory)

 

ความน่าสนใจ คือ

 BBL เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับอารมณ์

  • อารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้
  • สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะตัว
  • สมองและอารมณ์จะกำหนดว่าข้อมูลใดควรเก็บเป็นความจำระยะสั้น หรือระยะยาว และความรู้ที่เข้ามาใหม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเดิม ความรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่เคยมีมาก่อน

 

Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวถึง

  • กระบวนการสร้างความหมายให้กับสิ่งต่างๆ ที่รับเข้ามาว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ ความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลังที่แตกต่างไปของแต่ละบุคคล
  • กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้
  • การแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน ช่วยให้การเรียนรู้กว้างขึ้น ซับซ้อนขึ้น และหลากหลายขึ้น
  • การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทั้งทางด้านสติปัญญาและสังคม

 

Information Processing Theory เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึง

  • การรับสิ่งเร้าเข้ามาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ว่าหากเป็นเรื่องที่รู้จักและมีความสนใจ สมองจะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำระยะสั้น
  • การเก็บเป็นความจำระยะยาว ต้องผ่านการประมวลข้อมูลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (encoding) เช่นการทบทวน การขยายความคิดด้วยการเรียบเรียง การสร้างความสัมพันธ์
  • เมื่อจะเรียกข้อมูลออกมาใช้ ต้องทำการถอรหัส (decoding) ข้อมูลจากความจำระยะยาว โดยการแสดงออกมาเป็นการกระทำ หรือคำพูด
  • กระบวนการประมวลผลและการจัดการกับข้อมูลจะถูกควบคุมโดยการรู้คิด หรือความตระหนักเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน และความสามารถในการใช้ความรู้ การหากลวิธีต่างๆ มาช่วยให้เกิดความสำเร็จ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 404701เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะครูใหม่..พี่มาอ่านข้อคิดเรื่อง BBL ที่น่าสนใจมาก..หากมีตัวอย่างการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จมาเล่าบ้าง ย่อมจะเห็นรูปธรรมมากขึ้นนะคะ..จะตามไปอ่านตอนต่อไปค่ะ..

                         
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท