งาน พลังกลุ่ม ความสุข เเละการถอดบทเรียน


หากมองดูการถอดบทเรียนก็เหมือนงานศึกษาทางระบาดวิทยา (Epidemiology) ที่เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ การเจ็บป่วย ข้อมูลที่เป็นตรรกะ ค้นหาและเรียนรู้ย้อนกลับ อาจเรียกได้ว่าเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และงานศึกษาทางระบาดวิทยาเองก็ไม่ได้ใช้ระเบียบวิธี ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับ ระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์ เพื่ออธิบาย-เข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทนั้นๆ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คนทำงานที่จะเรียกว่า “ถอดบทเรียน” ก็ได้ หรือ เรียกว่า “สรุปบทเรียน” ก็ได้ ทั้งนี้นำไปสู่การย้อนกลับไปเรียนรู้เรื่องราวที่ผ่านมาพร้อมกัน นำข้อมูลเหล่านั้นมาคลี่คลายดูว่า เริ่มต้นอย่างไร ผ่านกระบวนการอย่างไร สุดท้ายแล้วได้อะไร หากจะทำให้ดีกว่า ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าจะปรับเปลี่ยนองคาพยพอย่างไร?

หากมองดูการถอดบทเรียนก็เหมือน งานศึกษาทางระบาดวิทยา (Epidemiology) ที่เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ การเจ็บป่วย ข้อมูลที่เป็นตรรกะ ค้นหาและเรียนรู้ย้อนกลับ  อาจเรียกได้ว่า เวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และงานศึกษาทางระบาดวิทยาเองก็ไม่ได้ใช้ระเบียบวิธี ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับ ระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์ เพื่ออธิบาย-เข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทนั้นๆ

ประเมินผล?? ...ถอดบทเรียน??

ทางการประเมินผล (Evaluation) ไม่ว่าจะประเมินผลในรูปแบบไหนๆ ความหมายก็คือ การประเมิน,วัดคุณค่า ด้วยอิทธิพลของคำทำให้ การประเมินผล ดูว่าจะสร้างความหวั่นไหวให้กับคนทำงานไม่น้อย ทางออกจากวาทกรรมที่สุดขลังของการประเมินผล ก็มีทางออกโดยใช้รูปแบบการประเมินผลแบบเสริมพลัง (Empowerment Evaluation)  แม้กระนั้นโดยส่วนตัวผมก็มองว่ามีกลิ่นอายของการประเมินผลอยู่มาก โดยเฉพาะการประเมินแบบนี้นักทฤษฏี นักวิชาการที่นำไปใช้ไม่ได้หลุดกรอบของคำที่ถูกสร้างขึ้น สุดท้ายก็ยังเป็นการประเมินค่าอยู่ดี ผมเชื่อว่า หลายคนหวั่นไหวกับคำว่า “ประเมินค่า” ด้วย

อาจต้องมองแบบยกระดับขึ้นไปว่าแท้จริงทุกสิ่งล้วนมีคุณค่าในตัวเอง การตัดสินพิพากษา/เปรียบเทียบ “ไม่มีใครด้อยกว่า” และ “ไม่มีใครเหนือกว่า” ไปจนถึง “ทุกคนมีลักษณะจำเพาะที่ไม่เหมือนใคร”  ดังนั้นหากเป็นไปได้ผมคิดว่าการอธิบายบริบทโดยรวมแต่แยกแยะว่าใครดีอย่างไรภายใต้สถานการณ์นั้นๆ เป็นข้อมูลเชิงบวกที่ทรงพลังมากทีเดียว

ที่ผมเขียนเรื่องของการประเมินผล แล้วมาต่อด้วยการฝึกมองโลกของผม นั้นเป็นความคิดที่เกิดจากการทำงานของตัวเอง ผมเข้าใจว่างานส่วนใหญ่ต้องการข้อมูลแบบ “ฟันธง” ว่า “ดีหรือไม่ดี” หากดีจะได้ไปต่อ หากไม่ดีก็จะได้ชะลอหรือหยุดเสีย หากมองทางด้านการลงทุนก็อาจมองได้ว่าไม่คุ้มที่จะลงทุนในเมื่อไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

บทเรียนที่นำเสนอเพื่อยกระดับการเรียนรู้

รูปแบบการถอดบทเรียนของผมช่วงหลังจึงต้อง ออกแบบให้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน และผลผลิตที่เป็นรายงานการถอดบทเรียนก็ออกมาในสองรูปแบบ คือ รูปแบบที่เป็นเอกสารเชิงวิชาการ(ที่มีกลิ่นการประเมินผลอยู่) และ ข้อมูลเรื่องราวปรากฏการณ์ที่เน้นการสื่อสารสังคม อ่านได้ง่าย มีความสุข แต่แฝงประเด็นไว้ในเรื่องราวเหล่านั้น ให้คนอ่านได้ขบคิดต่อว่า “บทเรียน”ที่ได้เรียนรู้ผ่านเรื่องราวเหล่านี้จะนำไปต่อยอดและนำไปขับเคลื่อนงานใหม่ๆได้อย่างไร? (หากผู้อ่านงานถอดบทเรียนแล้วมีแรงบันดาลใจ หรือปิ้งแว้บบางอย่างได้ เป็นเรื่องที่น่าดีใจ)

มีงานชิ้นหนึ่งที่ทำให้บริษัทเอกชน และเราได้เอกสารการถอดบทเรียนเล่มใหญ่ทีเดียว ต่อมาได้ย่อยออกมาเป็นหนังสืออ่านง่ายๆ อ่านเเล้วเห็นบทเรียนที่สนุกๆผ่านเรื่องเล่า ...ปรากฏว่าผลตอบรับจากคนอ่าน(หมายถึงผู้เข้าร่วมเวทีเรียนรู้ในปีต่อมา) ดีมากทีเดียว บรรลุวัตถุประสงค์ที่ว่า ต่อยอดความคิด รวมไปถึงมองต่อไปยังนวัตกรรมใหม่ๆบางอย่างได้

' โภชนา ฮาเฮ '  ผลผลิตหนึ่งของงานถอดบทเรียนโภชนาการยั่งยืน

 

ทีมงานงานดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  

 

ทีมงานเป็นหัวใจของการถดบทเรียนมากเช่นกันครับ การคัดเลือกคนทำงานนั้นสำคัญมากกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในทุกช่วงของกระบวนการ จนถึงผลผลิตที่ออกมาเป็นเอกสารส่งให้หน่วยงาน เพราะความสามารถของทีมงาน จะช่วยกันทำ “สิ่งที่ดีที่สุด” สำหรับเวทีการเรียนรู้หนึ่งๆได้เต็มศักยภาพ

ทีมงานของผมจึงเป็นทีมงานที่หลากหลายสถานะ อาชีพรวมไปถึงความสนใจเฉพาะ ในเวทีหนึ่งๆ เราอาจมีผู้นำกระบวนการที่มีความนิ่งพอที่จะดูแลภาพรวมได้ เรามีนักสันทนาการที่เข้าใจจิตวิทยาพื้นฐานของผู้คน และนักถอดบทเรียนที่เก่งเชิงตรรกะแล้วถ่ายทอดความคิดเชิงระบบได้ดี และนักถอดบทเรียนที่มีความเป็นศิลปินสูงที่มองเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวได้ดี  คุณสมบัติเหล่านี้อาจอยู่ในตัวคนๆเดียวก็ได้

การบริหารคนเก่ง

 

ดังนั้นการบริหารคนเก่ง(หลากหลาย) ก็เป็นเรื่องสำคัญของผู้นำทีมถอดบทเรียน ตรงนี้เป็นประสบการณ์ตรงของผมเองที่เจอเพื่อนร่วมงานหลากหลายแบบ และต้องรับมือที่ต่างกัน แต่โชคดีว่าส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยกัน เป็นการคัดสรรมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะคนที่ชอบงานลักษณะนี้จริงๆ และผมยังเชื่ออีกว่างานที่ต้องใช้พลังสูง เพื่อสังคมเป็นงานกุศล งานบุญที่ทุกคนมาร่วมกันทำให้สังคมเราดีขึ้น และผมเชื่ออีกว่า ทีมงานของผมทุกคนมีจิตสาธารณะที่สูง

เตรียมพร้อมให้ดี...มีชัยกว่าครึ่ง

 

การเตรียมพร้อม สำหรับเวทีการเรียนรู้หนึ่งๆ เป็นความรับผิดชอบของเหล่านักถอดบทเรียน หรือ ผู้เอื้ออำนวย facilitators) ทั้งหมด ดังนั้นหากเป็น ผู้เอื้ออำนวยทางด้านกระบวนการเรียนรู้ (Process Facilitators) อาจไม่ต้องเข้าใจเนื้อหางานมาก เพียงแต่ใช้ทักษะการเอื้ออำนวยกระบวนการที่ดี ส่วน ผู้เอื้ออำนวยทางด้านความรู้ (Knowledge Facilitator)อาจต้องทำการบ้านหนักพอสมควรในการทบทวนเนื้อหางานเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมเวทีทั้งหมดในภาพรวมก่อน  ส่วนใหญ่เราก็ผสมผสานกันเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการด้วย และเป็นผู้เอื้ออำนวยการทางด้านความรู้ไปด้วย (สร้างความรู้ ขับเคลื่อนกระบวนการ สรุปบทเรียน)

ความหลากหลายของทีมงานเราต้องใช้รูปแบบการเตรียมพร้อมที่หลากหลาย ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ผมเลยเลือกใช้การสื่อสารผ่านอีเมล และมีการประชุมกันสักครั้งก่อนที่จะเกิดเวทีเรียนรู้หรือถอดบทเรียนขึ้น การเตรียมความพร้อมแบบนี้ นอกจากจะเราจะเก็บรายละเอียดได้ดีแล้ว การปลุกเร้าทีมผ่านการพูดคุยเป็นเป็นระยะๆ เป็นการเติมทักษะ แนวคิด และพลังที่อยากจะลงสนามเร็วๆของทีมงานไปด้วย สุดท้ายความประณีต-ครึกครื้นของเวทีเรียนรู้อยู่ที่พลังของ Facilitators เหล่านี้นั่นเอง

ขอพลังการเรียนรู้จงอยู่กับพวกเราต่อไป ทั้งคนทำงานและทีมงานถอดบทเรียน จากเวทีหนึ่ง ถึงเวทีที่สอง สาม สี่ ประสบการณ์จากการทำงานก็สะสมเพิ่มมากขึ้น และพวกเราทุกคนก็มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนี้ขอใช้พื้นที่ของ Gotoknow เป็นเวทีบอกเล่าเรื่องราว เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ศาลายา,มหิดล

๒๕/๑๐/๕๓

หมายเลขบันทึก: 404449เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

"อาจารย์เอก"

ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..ขอเพิ่มประสบการณ์จากผลการถอดบทเรียน

ด้วยคนนะคะ

 

ยินดีครับ คุณระพี

ผมพยายามเขียนสรุปจากประสบการณ์เพื่อให้เห็นตัวกระบวนการคิด กระบวนการทำงานไปด้วย

คิดว่า คนทำงานหากมีโอกาสถอดบทเรียนตัวเอง ถอดบทเรียนงานที่ทำ ก็จะดีไม่น้อย

ต่อการสร้างความรู้ใหม่ การขับเคลื่อนการทำงาน

หากมีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้กันครับ

มีเวทีถอดบทเรียน "ธรรมนูญสุขภาพ"ที่นครสวรรค์ อีกไม่กี่วันนี้

เวทีถอดบทเรียน "งานสุขภาพจิต" รพ.สารภี เชียงใหม่ พร้อมเครือข่าย รพ.สต. ต้นเดือน พย.

เเละ "ธนาคารความดี" อ.พาน จ.เชียงราย ต่อจาก สารภีครับ

เรียนอาจารย์เอกครับ

ผมขอเป็นแรงใจสนับสนุนครับ ผมอ่านหนังสือ Action Research แล้วมีนักคิดท่าหนึ่งพูดไว้ว่า งานวิจัยจำนวนมาก เอาไปใช้ไม่ได้เพราะทำเป็น Imperial Model คนธรรมดา ตาสีคาสาจับต้องไม่ได้..

ผมว่างานที่จะจับต้องได้ในที่สุด ต้องใส่ความเป็นมุนษย์ไปในกระบวนการตั้งแต่แรก..

ผมชอบ และชื่นชมงานของอาจารย์มากๆครับ..ง

ผมอยากเห็นงานวิจัย งานประเมิน งานถอดบทเรียนที่มีชีวิตชีวา อย่างนี้ครับ...

แล้วอีกเรื่องหนึ่งเสริมหน่อยครับ ในหนังสือ The Literacy Mind บอกว่า สมองมนุษย์ชอบเรื่องเล่าครับ...

เขาจะรู้มากขึ้น เปลี่ยนแปลงด้มากขึ้นก็ด้วยเรื่องเล่าที่มีชีวิตชีวาครับ

ขอให้อาจารย์มีกำลังใจแลรักษาความมุ่งมั่นต่อไปนะครับ..สังคมจะได้อะไรจากสิ่งที่อาจารยืทำมากๆเลยครับ

  • น้องเอกครับ
  • ได้ประเด็นที่น่าสนใจมาก
  • แถมเอาไปประยุกต์ใช้ได้โดยเฉพาะตอนที่เรามีทีมงานดี
  • มีคนหลากหลายสาขาแบบสหวิทยการ
  • ขอบคุณมากครับ

เราจะไปทำ "สิ่งที่ดีที่สุด" ที่นครสวรรค์

  • เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ จากบันทึกคุณเอกมาตลอด..ขอบคุณมากครับ
  • มานครสวรรค์เมื่อไหร่ครับ?

เดินทางไป ๒๗ นี้ครับ มีเวทีก็ ๒๘ - ๒๙ พย.ครับผม (นครสวรรค์)

 

เสียดายค่ะที่โรงเรียนเปิดเตรียมการแล้ว ไม่งั้นคงไปร่วมฟังและสังเกตการณ์

แต่ก็หวังจะได้ฟังเรื่องเล่าภายหลังค่ะ

ขอบคุณครับ ดร.ภิญโญ

ผมศึกษาเรื่องของ AI มาโดยตลอดครับ และในวงสนทนาเราก็ใช้กระบวนการ AI ตลอดเวลาเช่นกัน

งานถอดบทเรียนผมในช่วงหลังก็ปรับรูปแบบตามสถานการณ์ครับ โดยเฉพาะการศึกษาบริบทของกลุ่มเป้าหมาย[Paticipants] รวมไปถึงเจ้าของงานด้วย

เเละช่วงหลังออกแนว training of trainer มากขึ้นครับ หมายถึงมีผู้มาเรียนรู้กระบวนการเเบบสังเกตการณ์มากขึ้น

ขอบคุณครับอาจารย์ หวังว่าจะได้เเลกเปลี่ยนกับอาจารย์ในประเด็นอื่นๆต่อไป หากมีโอกาสที่ดี คงบได้สนทนากันบ้างนะครับ

 

ขอบคุณครับ อ.ขจิต ครับ เเลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปครับ :)

คุณเอก ลิขซ้าย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)...

ถอดบทเรียน ก็คือ สรุปบทเรียน นั่นเอง

เป็นการนำความสรุปเพื่อนำไปใช้ต่อไปใช่หรือไม่ครับ

หากไม่ได้นำไปใช้ จะถือว่า เป็นการถอดหรือไม่ครับ

;)...

ครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ผมเดินทางไปที่นครสวรรค์ในวันพรุ่งนี้เย็นครับ

มีประชุมทีมงานก่อนที่จะเริ่มเวทีเรียนรู้วันรุ่งขึ้น (๒๘-๒๙ พย.๕๓) 

พี่นก...

สัญญาว่าจะเจอกัน ต้องมาเจอตามสัญญานะครับ :)

เวทีถอดบทเรียนครั้งนี้ มี นศ.ป.เอก จาก ม.นเรศวร เเละ มรภ.นครสวรรค์ มาสังเกตการณ์ด้วยประมาณ ๓ - ๔ คนครับ ดังนั้นนอกจากเป็นเวทีทำงานเเล้ว ยังเป็นเวที TOT ไปด้วย

เเล้วเจอกันครับผม

อ.วัต

เมื่อถอดความรู้ออกมา ก็ได้เป็น "องค์ความรู้" นำมาสื่อสารสาธารณะ หรือ นำเอาไปใช้ต่อ (คิดต่อ ต่อยอด ฯลฯ) ครับผม

  • ขอบคุณครับคุณเอกสำหรับบทเรียนดีดีในการถอดบทเรียน
  • ผมเองก็เคยผลักดันการประเมินผลและการวิจัยเชิงประเมินผลอยู่เหมือนกัน แต่ดูเหมือนบุคลากรจะเห็นว่าเป็นเรื่องยาก ก็เลยปรับกระบวนเอาความรู้เรื่องถอดบทเรียนมาใช้แต่ก็สอดใส่เรื่องการประเมินผลให้กลมกลืนไป ดูเหมือนจะลื่นไหลได้ดีขึ้น
  • ผมว่าเสน่ห์การถอดบทเรียนมันค่อนข้างเห็นความเป็นชีวิต แต่การเอาประเมินผลมาเติมทำให้อะไรๆ ที่ต้องตอบด้วย KPI มันได้คำตอบไปด้วย ก็เลยผสมทั้ง 2 อย่าง ทำให้ความมีชีวิตมีคำตอบสำหรับผู้บริหารหรือองค์กรด้วยครับ
  • นักวิชาการอาจบอกว่าไร้กรอบ แต่ผมว่าถ้ามันตอบโจทย์งานและผู้ได้รับผลประโยชน์จากงานก็น่าจะ OK นะครับ (คิดเอาเอง)
  • บุญรักษาครับ

ขอบคุณมากครับ พี่ถนัด ครับ

ข้อเสนอแนะ - ข้อคิดเห็นที่ให้มานั้น ตรงใจสิ่งที่ผมอยากนำเสนอมากครับ ผมก็เห็นตามเเนวทางนี้ เเละการถอดบทเรียนก็เป็นหนึ่งส่วนของการประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ (KM)ด้วย

ไม่อยากใช้คำว่า "ประเมิน" นำมาใช้ตรงๆ เพราะ อิทธิพลของคำนั่นเอง ผมเห็นด้วยครับที่ว่า การถอดบทเรียนที่เราผสมผสานการประเมินลงไป กลมกล่อมในความคิดผมเวลานี้

เเละ ที่ว่าไร้กรอบนั้น จริงๆ เรามีกรอบ เพียงเเต่ไม่ได้ใช้กรอบนั้นมารัดตรึงธรรมชาติที่มันควรจะเป็นครับ

ขอบคุณครับผม :) 

ได้อ่านเรื่องราวของอาจารย์จากคุณถนัดlinkให้

ขอบคุณที่ได้เรียนรู้ค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท