ดูคูซ่าทีซีดีนะคะ (DO KUSA TCD NACA)


นำเอาแนวคิดการจัดการความรู้มาผสมพันธุ์กับแนวคิดการฝึกอบรม

 

จั่วหัวเรื่องไว้แบบนี้ ถ้าอ่านเฉพาะภาษาไทยหลายคนคงคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องวัยรุ่นทั่วไป แต่ถ้าลองดูที่วงเล็บหลายคนก็คงแปลกใจว่าบันทึกนี้มันจะมาไม้ไหนกันนี้ ความจริงเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่อง KM นั่นเอง ผมเพียงนำเอาแนวคิดการจัดการความรู้มาผสมพันธุ์กับแนวคิดการฝึกอบรม เพื่อทำให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นและนำเสนอให้กับคนทำงานที่รู้สึกเอียนกับเรื่อง KM เพราะถ้าบอกว่าเราจะทำ KM หลายคนก็ตั้งกำแพงไว้แล้ว จึงสร้างอะไรที่มองว่าเป็นแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างหนึ่งโดยใช้ Concept ของ KM กับ Training เป็นตัวแกนหลัก ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ผมตั้งไว้สามารถแปลความและตีความหมายตามแนวคิดของการจัดการทำความรู้และการฝึกอบรมได้ดังนี้

 

ในมุมมองของการฝึกอบรมพัฒนาคนเราไม่ได้มองเรื่องความรู้อย่างเดียว แต่เราจะมองการพัฒนาคนให้รอบด้านทั้ง ความรู้ (Knowledge : K) ความเข้าใจ (Understand : U)  ทักษะ (Skill :S) และเจตคติ (Attitude) ดังนั้นผมจึงคิดว่าเราน่าจะจัดการกับเรื่องทั้ง 4 นี้ให้รอบด้าน แต่คำว่าจัดการอาจจะดูแข็งๆ และเป็นการควบคุมสั่งการครอบงำ ผมจึงใช้คำง่ายๆ ว่าจะทำอะไรสักอย่างกับ KUSA นี้ นั่นคือ DO KUSA นั่นเอง

 

คำว่า ”DO” นอกจากจะแปลว่าทำแล้ว ผมยังแปลความและตีความหมายได้อีกอย่างคือ  D = Directing, O = Objective นั่นคือ การจะทำอะไรกับ KUSA เราต้องมีเป้าหมายวัตถุประสงค์ว่าเราไปเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไรขึ้นมา ผมเปรียบเหมือน DO ตัวนี้เปรียบเสมือนเป็นหัวปลาตาม Model ปลาทูของ สคส. ซึ่งก็คือผู้ที่เอื้ออำนวยต่อการทำอะไรสักอย่างกับ KUSA นี้นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไรกับ KUSA จะต้องมีการตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์จากผู้เอื้ออำนวยการที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน 

เมื่อเรามีตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์จากผู้เอื้ออำนวยการที่เกี่ยวข้องชัดเจนแล้ว เราก็มาคิดต่อว่าจะทำอะไรกับ KUSA ดี ให้มันมีประโยชน์ขึ้นมา ถ้ามองในมุมมองของการจัดการความรู้ก็คือการบริหารจัดการให้เกิดเป็นสินทรัพย์แล้วก็นำไปใช้  แต่คำว่าบริหารจัดการดูเหมือนจะเป็นคำที่แข็ง เป็นทางการและดูเป็นลักษณะการควบคุมสั่งการมากเกินไป  ผมจึงเลือกใช้คำที่อ่อนๆลงมาซักหน่อย โดย KUSA ที่เราจะทำนี้เราก็จะทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วนำไปจัดเก็บเข้าเป็นสินทรัพย์เพื่อนำไปใช้งานต่อ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KUSA นี้ จะเริ่มจากการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน นั่นคือคำว่า Transfer (T) นั่นเอง เมื่อมีการถ่ายทอดซึ่งกันและกันแล้วคนที่ถ่ายทอดและคนที่ได้รับการถ่ายทอดก็จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันตามมุมมององค์คำวความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ เกิดการจุดประกายเชื่อมโยงเหนี่ยวนำความรู้ สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็คือคำว่า Creation นั่นเอง เมื่อมีการนำความรู้ที่ถูกสร้างสรรค์ใหม่นั้นไปใช้งานตามบริบทที่เหมาะสมมันก็จะมีการพัฒนาขึ้นเป็นองค์ความรู้ตามบริบทนั้นๆ ต่อไป (Development)

 

ระหว่างที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้นก็จะเกิดเครือข่าย (Network) เกิดเป็นสังคม ชุมชน (Association) ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โยงใยขยายกันออกไป ร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ ถ่ายทอดและพัฒนา KUSA นั้นอย่างไม่จบสิ้น (Collaboration)

 

หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสรรค์ ถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบแล้ว การที่จะนำ KUSA นั้นมาใช้ต่อไปต้อง ทำการเก็บเข้าคลังสร้างเป็นสินทรัพย์ให้มั่นคง (Accumulation) คนที่จะนำ KUSA นั้นมาใช้ ก็จะนำมาใช้ได้ให้เหมาะสมกับริบทของตนต่อไป

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดจึงคิดว่าเราน่าจะ “ดูคูซ่าทีซีดีนะคะ” DOKUSA TCD NACA

DO : Directing/Objective

KUSA : ความรู้ (Knowledge : K) ความเข้าใจ (Understand : U)  ทักษะ (Skill :S) และเจตคติ (Attitude)

T : Transfer

C : Create

D : Development

N : Network

A : Associate

C : Collaboration

A : Accumulation

 

หมายเลขบันทึก: 404025เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2010 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พี่หนึ่ง ช่างสรรสร้างมากๆเลย คะ นับถือ

มีคนช่างคิดแบบนี้ในองค์กร รับรอง เคลื่อนไปข้างหน้าแน่นอน

คำสร้างสรรค์ บวกกับความหมายดีๆ ....

ชอบคะ !!!

ขอบคุณครับ หนึ่ง เห็นชื่อบันทึกแล้วต้องเข้ามาอ่าน . . พบว่าเป็น คำสำคัญๆ ทั้งนั้น . . จะเรียกว่าบูรณาการ หรือ "ยำใหญ่" ดีนะ

ขอบคุณครับ หนึ่ง เห็นชื่อบันทึกแล้วต้องเข้ามาอ่าน . . พบว่าเป็น คำสำคัญๆ ทั้งนั้น . . จะเรียกว่าบูรณาการ หรือ "ยำใหญ่" ดีนะ

ใช้แค่ KUSA นะครับ อย่าเพิ่ม YA เข้าไป เดี๋ยวเป็นยากูซ่า 893 :) ... ที่แบงก์ก็กำลังพยายามนำกระบวนการ KM มาใช้กับงาน training โดยไม่บอกว่าเป็น KM เหมือนกัน ก็อย่างที่ว่า พอพูดคำว่า KM ขึ้นมา คนขนหัวลุกเผ่นหนีหมดเพราะกลัวภาระ ระยะหลังมานี่เราจึงหลีกเลี่ยง jargon พวกนี้ และพยายามเน้น embed in business process ว่าเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องทำอยู่แล้วในชีวิตการปฏิบัติงานปกติประจำวัน (เสร็จแต่ยังไม่สำเร็จ) ... may force be with you เพราะคนทำ KM ต้องใช้ force เยอะ

ขอบคุณน้องกิ๊กครับ ที่มาให้กำลังใจ ตอนนี้ผมกำลังเดินเกมอย่างเงียบๆ ในการนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ในองค์กร บางอย่างผมแอบทำไปบ้างแล้ว ถึงเวลานั้นคงต้องขอความช่วยเหลือจาก สคส. อีกมากเลยครับ

ขอบคุณอ. ประพนธ์ ครับ ผมเพิ่งได้หนังสือของอาจารย์มาจากงานหนังสือเมื่อวันหยุดที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้อ่านเลยครับ มีหนังสือหลายเล่มรอคิวอยู่ครับ อย่างที่ผมบอกน้องกิ๊กไป ว่าผมกำลังเดินเกมเงียบๆอยู่ เมื่อถึงเวลานั้นผมอยากรบกวนให้อาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้องค์กรเราด้วยครับ

ขอบคุณIco32miyuki ครับ ที่มาเติมเต็มกับและให้ความมั่นใจในแนวคิด KM  ที่ดูเหมือนไม่มีการทำ แต่ผลที่ออกมาเหมือนทำอยู่อย่าง เนียนๆ อยู่กับเนื้องาน
ผมเข้าใจว่าคุณIco32miyuki น่าจะทำงานอยู่กับและรู้จักพี่สุภา ฝากความคิดถึงด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท