บรรยายกาศในงานวันประชุม WORLD UNIVERSITY PRESIDENT SUMMIT


ตามคำขอของจิตรวดี


-งานประชุมระดับนานาชาติ   WORLD UNIVERSITY PRESIDENT  SUMMIT จัดโดย สกอ(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ) เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองราชย์ครบ60 ปี

-งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2549 ที่ หอประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

-ผู้เข้าประชุมเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ระดับอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดีจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 80 ประเทศ จำนวนกว่า 1000คน (ห้องประชุมใหญ่มาก คนเต็ม จนผู้มาทีหลังไม่มีที่นั่ง) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ส่งอธิการบดี รองอธิการบดีและคณบดีเข้าร่วมประชุมด้วย 10 ท่าน

กิจกรรมการประชุมมี 2 ส่วน คือ กิจกรรมการประชุมและอภิปราย กับกิจกรรมการจัดนิทรรศการการศึกษาของมหาวิทยาลัย

-วันแรกพิธีเปิด มี พณฯท่านนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นประธานพิธี มีคุณจักรภพ เพ็ญแข โฆษกรัฐบาลเป็นพิธีกร นายกทักษิณกล่าวเปิดเป็นเวลา 20นาที พูดสดโดยไม่มีร่างคำอ่าน ท่านพูดได้ยอดเยี่ยมมาก สมกับเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ถ้าใครฟังรายการนายกทักษิณพบประชาชนในวันเสาร์ถัดมา ท่านได้เล่าสรุปสาระที่ท่านกล่าวในงานนั้นด้วย)


     

 Prime Minister        Christopher              Dr. Edward 

    Taksin                         Patten                      de Brono


-หลังพิธีเปิดโยนายกทักษิณแล้ว เป็นการกล่าวนำการประชุม ฝรั่งเรียกว่า Keynote address  โดยปกติในการประชุมระดับโลกต้องมีการเชิญผู้มีชื่อเสียงของโลกมากล่าวนำเปิดการประชุม ในงานนี้ประเทศไทยได้เรียนเชิญ  Christopher Patten มาเป็น Keynote Adress   บุคคลผู้นี้เป็นอธิการบดี(Chancellor) ของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (Oxford University) ซี่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของอังกฤษและของโลกมาเป็นผู้นำการประชุม  ท่านผู้นี้เคยเป็นผู้ว่าการรัฐฮ่องกง ก่อนที่จะคืนแก่จีน  

(ในระบบการศึกษาของอังกฤษ  อธิการบดีไม่ได้เป็นผู้บริหารงานมหาวิทยาลัย  ตำแหน่งอธิการบดีเป็นตำแหน่งยกย่อง(honorable) คือ เชิญเชื้อราชวงค์หรือผู้ที่อยู่ในระดับสูงของประเทศมาดำรงคำแหน่งเพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นๆ  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่แท้จริงคือ รองอธิการบดีครับ)  รายการต่อๆมาจะเป็นการบรรยายตามโดยอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยสำคัญๆของโลก


-กิจกรรมวิชาการ ก็คือ การจัดนำเสนอแนวคิดในการจัดการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยในโลกในประเด็นหลัก ชื่อ Reflections on Diversity and Harmonizations หมายถึง การจัดการอุดมศึกษาเพื่อความแตกต่างและความกลมกลืน พูดง่ายๆเป็นไทย คือ การจัดอุดมศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสังคมที่แตกต่างกันแต่ละประเทศทำอย่างไร  และบนสิ่งที่ทำแตกต่างกันนั้นจะทำให้เกิดความกลมกลืนได้อย่างไร มีทั้งการนำเสนอแนวคิดและอภิปรายกลุ่มย่อย ประเทศไทยก็ได้นำเสนอแนวคิดต่อที่ปนะชุมหลายเรื่อง เช่น ทฤษฎีการพัฒนาของในหลวง โครงการเงินยืมล่วงหน้าเพื่อการอุดมศึกษา โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน เป็นต้น เหล่านี้เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้คนจนได้มีโอกาสเท่ากับคนทั่วไป หรือคนจนและคนรวยได้มีโอกาสอย่างเทียม(กลมกลืนกัน)


-งานนี้มีนักคิดนักการศึกษาหลายคนมาบรรยายและร่วมประชุมด้วย คนหนึ่งที่คิดว่านักศึกษาน่าจะเคยได้ยินชื่อ คือ Dr Edward De Brono บุคคลผู้นี้เป็นผู้เสนอทฤษฎี Lateral Thinking และเทคนิตการคิดแบบ Six Thinking Hats (ใครไม่รู้จักเทคนิคนี้ แสดงว่าเชยมาก) เขาได้บรรยายในมหาวิทยาลัยทั่วโลกมากกว่า 58 ประเทศ ท่านได้เป็นที่ปรึกษาในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมามากว่า 20 แห่ง หนังสือ the Mechanism of Mind ของท่านได้รับการแปลมากกว่า 15 ภาษาทั่วโลก  ท่านเป็นผู้จัดคั้ง สถาบันการสอนเพื่อพัฒนาการคิด ขึ้นในประเทศออสเตรเลีย ก่อนงานหนึ่งวัน รัฐบาลได้เชิญท่านมาบรรยายให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่ทำเนียบรัฐบาล(อจ.ไปติดประชุมของ กพร.เสีย มิฉะนั้นน่าจะได้ไปฟังนักคิดระดับโลกบ้าง) หลังงานหนึ่งวันนายกทักษิณได้เชิญดื่มน้ำชาร่วมกับ รมต.ศึกษาธิการ (พระท่านว่า การคบบัณฑิต บัณฑิตจะพาไปหาผล)


-อีกภาคหนึ่ง คือ งานนิทรรศการการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ทุกแห่ง จำนวนกว่า 100 แห่ง(มรภ.สวนสุนันทามีออกบูธด้วย แถมมีนวดแผนไทยไปบริการในงาน อธิการบดีที่ประชุมแล้วปวดเมื่อย ก็จะมานวดคลายปวดเมื่อยได้)  มีนิทรรศการของหน่วยงานที่เกี่ยวของกับการศึกษา เช่น UNSECO SEAMEO RIEHED RECSAM เป็นต้น  

-อีกสว่นหนึ่งเป้นนิทรรศการของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มหาวิทยาลัยใหนเปิดหลักสูตรระดับใด ปริญญาอะไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร ระยะเวลาการเรียนกี่ปี มีทุนให้หรือไม่ มีหมดเหมือนเป็นตลาดนัดวิชา(เสียดาย น่าจะให้นักศึกษาของอาจารย์ไปเที่ยวชม เป็นความรู้เรื่องหลักสูตรนอกชั้นเรียนเลยละ) 


-การลงทะเบียนเข้างาน จะมีเจ้าหน้าที่จาก สกอ.มาดำเนินงาน แต่ผู้ช่วยรับลงทะเบียบเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ลงทะเบียบแล้วจะได้รับเอกสาร1กระเป๋าเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น ก่อนพิธีเปิดมีอาหารว่างและกาแฟบริการ แบบบริการช่วยตนเอง มีทั้งผู้บริการการศึกษาของไทยและของฝรั่ง

เดินไป ทานไป คุยกันไป ไม่เฉพาะว่า ต้องเป็นคนที่รู้จัก ทักทาย แนะนำตัว ถามข้อมูลมหาวิทยาลัยทีแต่ละฝ่ายทำงานอยู่บรรยายกาศเป็นสากลมาก

-อาจารย์มีเวลาไม่มากนัก ต้องละการประชุมมาก่อน เพราะขณะที่มีการจัดงานประชุมนี้ อาจารย์ต้องไปเข้าอบรมเป็นวิทยากรที่ปรึกษาของโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ(กพร.) อยูก่อนแล้ว คืองานซ้อนกัน ต้องขออนุญาตงานโน้น เพื่อมาร่วมงานนี้ให้ได้บางส่วน ก็ดีที่ใช้เวลาเดียวกันและได้สองงาน ที่เสียคือได้งานทั้งสองอย่างไม่เต็มที่ แต่ก่อนออกมา ก็ได้ไปเยี่ยมบูธของ มรภ.สวนสุนันทา เป็นนิทรรศการของวิทยาลัยการจัดการและวิทยาลัยนานาชาติ มีนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่4  2 คนเป็นเจ้าหน้าที่ประจำยูธ ณ เวลานั้น อาจารย์ถามว่า 'หนูพูดภาษาอังกฤษได้หรือ?' เธอ(นักศึกษาหญิงนะครับ)ตอบด้วยความมั่นใจมากว่า 'ได้ค่ะ' เพราะเป็นลูกศิษย์ อจ.สาริตา(โอ้..จอร์จ เจ้าเยี่ยมมาก)


อาจารย์คงคุยบรรยากาศทั่วไปให้ฟังเท่านี้ ถ้าสนใจข้อมูลอื่นๆลองเข้าที่เวบไซต์ของงานดูนะครับ ---อจ.กฤษดา 

 ข้อมูลเพื่มเติม

http://www.discoverythailand.com/world_university_presidents_summit.asp

http://www.wups.org/keynotespeaker.asp

คำสำคัญ (Tags): #กฤษดา
หมายเลขบันทึก: 40260เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
หนูจิตรวดีอ่านหรือยังครับ บอกด้วยนะค๊ะ

น่าเสียดายอย่างที่อาจารย์ว่าจริงๆคะ ถ้านักศึกษาได้ไปงานครั้งนี้คงจะได้รับประสบการณ์ต่างๆมากมาย ได้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น และได้รู้ว่าโลกแห่งการศึกษาของประเทศอื่นๆมีรูปแบบไหน  ถ้ามีการจัดงานแบบนี้อีก อาจารย์ต้องพาลูกศิษย์ไปด้วยนะคะ

                                                                  เก่ง

ถ้าเสียดาย อย่าลืมอย่าพลาด

วันที่ 27-30 กรกฎาคมนี้

มีงานมหกรรมอุดมศึกษา

ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิตติ์

โปรดติดตาม! ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน

เพียงแต่คนละโทนเท่านั้น

          นักศึกษาสามารถเข้าไปร่วมฟังการประชุมบ้างได้ไหมคะแล้วเขาจะมีจัดอีกหรือเปล่า แล้วอยากรู้ว่าประเทศไทยมีโครงการเงินเงินยืมล่วงหน้าเพื่อการอุดมศึกาแล้วประเทศอื่นเขามีแบบเราบ้างรึเปล่าถ้าแตกต่างประเทศอื่นมีโครงการอะไรบ้างคะ

                                                              จิตรวดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท