คุณกฤษฎา อุทยานิน เสนอะแนะแนวทางการขับเคลื่อนฯ เวทีมหกรรมจัดการความรู้


สิ่งที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยก็คือการสร้างกลไก

 ตัวแผนแม่บทการเงินฐานรากจริง ๆแล้วไม่มีอะไรเขียนบอกแต่ว่าเราจะทำอะไรบ้างเท่านั้นเองมี 3 ยุทธศาสตร์ที่พูดให้ฟังเมื่อวานแล้ว มีตัวแผนหากรัฐบาลเขาเอา การทำงานต่อมี 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ส่วนที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง เช่น เรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถของคนอันนั้นก็ต้องเป็นของเรื่องของสถาบันการศึกษาที่ต้องมาดูกันการก่อเกี่ยวกันของการเข้ามาทำของเกษตรบ้างหนน่วยงานอื่นบ้าง กลายมาเป็นแผนปฏิบัติการแผนอาจเป็นระยะ 3 ปี 5 ปีแล้วมาปรับดูเป็นระยะๆไปแล้วเราก็ลงไปทำงานที่ลงไปดูความต้องการของชุมชนและของประเทศเป็นหลัก ผมคิดว่าแผนระดับชาติเราดูประเทศทั้งประเทศดูคน 60 ล้านคนแผนจะเป็นอย่างนั้นการดูทั้งหมดนี้ไม่ใช่ให้ว่าหน่วยราชการไปทำ ดูงานของคน 60 ล้าน แต่เราต้องมานั่งคิดร่วมกันว่าคน 60 ล้านจะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไร เมื่อสักครู่ได้สนทนากับพระอาจารย์สุบิน คนเก็บเงินได้วันละบาทถ้า 60 ล้านคน วันหนึ่งก้ได้ 60 ล้านบาทปีหนึ่ง 2 หมื่นล้านบาทเก็บหลายปีได้เงินมหาศาลมันจะเดินนะครับนะประเทศไทยจะเดินอย่างเสื้อเหลืองนี้นะครับตัวละ 100 กว่าบาท คนที่ใส่เสื้อเหลืองก็เก็บวันละบาทเก็บไป 1 ปี ก็ได้แล้ว 2 หมื่นล้านปีหน้าบอกพระเจ้าอยู่หัวว่าพวกเราเก็บเงินได้แล้ว 2 หมื่นล้านบาท แล้วทำอย่างนี้จนท่านอายุ 100 ปี เราเก็บได้เป็นแสนล้านเลยนะครับ อันนี้ คือ 1 เรื่องเล็ก ๆ นะครับ เรื่องอื่น ๆ ก็จะจุดประกายไปในทางเดียวกัน แผนนั้นเป็นแผนที่มันปรับได้มันไม่ตาย ส่วนที่ 2 นี้เป็นส่วนที่หลาย ๆ คนพูดถึงก็คือ การทำงานที่ซ้ำซ้อนกันของหน่วยงานราชการ เป็นความปรารถนาที่หน่วยงานจะปฏิบัติไปตามกรอบและแผนงานของหน่วยตนเอง หากถามว่ามีใครบ้างในตอนนี้เข้าไปทำเรื่องบัญชีครัวเรือนในหมู่บ้านเขาก็ตอบว่ามีคนไปช่วยเยอะไปหมดเลย ท่านจะเห็นหน้าตาของบัญชีครัวเรือนแตกต่างเยอะแยะมากมาย ผมเคยถาม พอช.ว่ามีเท่าไหร่ เขาตอบว่ามีอย่างน้อย 3,000 แบบ บัญชีชาวบ้านมี 3,000 แบบทั่วประเทศไทยเป็นสิ่งที่ดีนะครับ ผมเคยไปขอบัญชีลุงเคล้ามาดูนะครับ ก็ดูยากเหมือนกันนะครับ แล้วขอจากที่อื่นไปอีก 3 แบบ มันก็จะมีบัญชีที่เข้ากับชุมชน แต่ว่าวันหนึ่งเราต้องพัฒนาเพื่อให้คนอื่นเขารู้เรื่องนอกชุมชนด้วยแต่วันนั้นอาจไม่ใช่เร็ว ๆ นี้ก็มีการจัด ความเร่งด่วนของเรื่องในที่สุดแล้วการเงินในชุมชนมันน่าจะจบในเรื่องกับตำบล เอ๊ะคน 7 8 พันคนดูแลกันได้ก็น่าจะประเสริฐแล้วนะครับ ที่เหลือหากคุมกันไม่อยู่ก็ให้หน่วยงานข้างนอกเป็นใครก็ได้เข้ามาดูแลมันก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง

การทำให้มีการแบ่งงานกันทำและให้มาคิดร่วมกัน หน่วยงานราชการเดี๋ยวนี้มีการประชุมกันบ่อยมากประชุมกันเสร็จแล้วก็มาแบ่งงานกันทำ กองทัพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ กองทัพประชาชนตำบลละ 2-3 พันคนทั้งประเทศมหาศาลเลยเพราฉนั้นทัพแรกของการแก้ไขปัญหาชุมชนจริง ๆ นั้น คือ ทัพของประชาชนส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปรียบเหมือนกองยกกระบัตรที่คอยเติมอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ แต่คนที่ทำงานเผชิญกับปัญหา คือ พวกเรา หลักที่สามที่คิดว่าคงจะต้องทำ คือ การสัมมนาที่จัดอยู่แบบนี้จะมีเยอะมากเลยผมก็ไปเยอะตอนนี้เวลาไปพูดก็เริ่มกระดากเหมือนกันพูดแล้วหายไปในกรีบเมฆก็มันต้องมีการบันทึก เมื่อวานก็พูดกันเหมือนกันหลายหน่วยงานที่มีการประชุมกันแบบนี้ เวทีนี้มีการบันทึกหรือเปล่าครับ มีใช่ไหมครับ บันทึกแล้วเราทำให้เหลือแค่ 15 นาทีแล้วจะได้เผยแพร่ ขยายออกๆไปให้คนเขาดู ยุทธศาสตร์ที่ 3 นี้แหละผมคิดว่าสำคัญจะได้ไม่ต้องเริ่มจาก 0 ทุกครั้ง เราจะได้ไปต่อยอดกันเอาภาพที่เก็บบันทึกจากที่นี่มีการสรุปให้มันย่นย่อเป็นการขยายผลโดยไม่ต้องมีใครไปบอกว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ว่าเราคิดเองเป็น พิจารณาเองได้ว่าอันนี้เข้ากับชุมชนของเราลองเอาไปทำแล้วดูผลว่าเป็นอย่างไรหากไม่เข้ากับชุมชนเราก็จะได้ปรับเปลี่ยน ขบวนการที่เราเข้าใจในชุมชนอย่างที่นี่ทุกวันที่ 1 ของเดือนมีการประชุมนี้ก็มีกระบวนการมาบอกกล่าวกันแล้วมาคิดกันได้ตลอดเพราะฉนั้นหากเราทำแล้วไม่เหมาะสมก็จะได้ปรับกัน มันไม่ถลำไปไกลเดือน สองเดือนก็รู้แล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยก็คือการสร้างกลไกอย่างที่ว่านี้แหละ มีหลายองค์กรที่เขามีกำลังมีคน มีทรัพยากร บางเรื่องทางหน่วยงานไม่มีก็อาจจะขอทางมหาวิทยาลัยให้ช่วยในบางเรื่องได้เป็นต้น นั้นคือสิ่งที่คิดว่าน่าจะทำได้แนวทางก็จะเดินไปแบบนี้นะครับ ท่านให้เกียรติ สศค.มากเลยครับ เมื่อวานอ.ไพบูลย์ พูดถึง สศค.ถึง 10 ครั้ง เราไม่ได้ทำงานเดี่ยวนะครับ เราเป็นแค่ 1 คนในหลาย ๆ คนที่มาร่วมกันเพียงแต่ว่าตัวร่างมันอยู่ที่เราเท่านั้นเอง คนที่ร่างจริง ๆ นั้น คือชุมชนคือชาวบ้าน เราไปจัดเวที 3-4 แห่งทั่วประเทศแต่ละเวทีเราไปจัดแล้วให้หลายกลุ่มมารวมกันมีกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง NGO ด้วยช่วยกันทำฝ่ายเลขาก็ช่วยกันหลายหน่วยงานนะครับ ช่วยกันทำช่วยกันคิดกันหลายคนแล้วก็ทำปิดห้องเถียงกันอย่างนี้แหละครับ เราออกไปข้างนอกเป็นเนื้อเดียวกันเรามีพลังก็คิดว่าวิธีการทำงานแบบนี้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง ณ วันนี้ก็เหมือนกันเราก็มาคุยกันแบบนี้ แต่พอเราออกนอกห้องมันก็จะมีอะไรเป็นเนื้อหนังมีพลังมีอะไรที่เป็นข้อสรุปของพวกเรา ก็อยากจะเรียนอย่างนี้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 40255เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ

เป็นแนวคิดและเทคนิคที่ดีมาก ๆ เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท