หัวใจที่ปลายนิ้ว - เขียนด้วยใจ + ความเชื่อ + อิสระ + ความสม่ำเสมอ + เรื่องราวที่เคยลงมือทำมาแล้ว


การที่เราได้ลงมือทำบางอย่าง อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดทักษะเฉพาะตัวขึ้นมา เช่น การเขียนบันทึกใน gotoknow แห่งนี้   

ทักษะจากการเขียน ทำให้เราได้พัฒนาในส่วนของภาษา ความคิด อารมณ์ การแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ เมื่อมาอยู่ในแหล่งที่รวมคนเขียนบันทึก  บรรยากาศ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะมากขึ้น

ใครที่พัฒนาทักษะเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่ว เขียนด้วยใจ ตามความคิด ความเชื่อของตน รักษาความสม่ำเสมอไว้ได้ และมีวัตถุดิบในการเขียนอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องไปแสวงหาจากที่ไหน หากแต่เป็นเรื่องราวที่เคยลงมือทำมาแล้ว สิ่งที่ได้พบเห็นและผ่านโสตสัมผัสของแต่ละคนมาแล้ว

จะเกิดเอกลักษณ์เฉพาะของคนๆนั้นทันที ที่ใครๆก็ไม่อาจจะลอกเลียนแบบได้  แม้จะพยายามลอกเลียนแบบ แต่คงจะยากมากๆ ในการที่จะเขียนด้วยความสม่ำเสมอ

เมื่อคนเราทำอะไรด้วยหัวใจ การเขียนบันทึก  หากเขียนด้วยหัวใจแล้ว สิ่งที่สื่อสารออกมา ก็ย่อมที่จะเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้รับได้ไม่ยากนัก

บันทึกที่จะเข้าไปอยู่ในหัวใจคนอ่านได้ คนเขียนต้องเขียนออกมาจากหัวใจ ถ่ายทอดหัวใจ มาอยู่ที่ปลายนิ้ว

หัวใจอยู่ที่ไหน เราย่อมทำตามอย่างที่หัวใจของเรา ต้องการ

เมื่อหัวใจอยู่ที่ปลายนิ้วแล้ว บันทึกที่ถ่ายทอดออกมา ก็ย่อมถ่ายทอดออกมาจากหัวใจนั่นเอง



หมายเลขบันทึก: 40235เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณมาก ๆ เลยครับคุณบอน สำหรับบันทึกนี้ครับ

เพราะสิ่งที่พวกเราเขียน บางครั้ง "เขียนด้วยใจ" จริง ๆ ครับ

เขียนในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย สะท้อนออกมาแบบตรง ๆ ครับ

แต่บางครั้งก็กลัวว่า จะไปกระทบเพื่อน พี่ น้อง หรือว่าอาจารย์หรือเปล่า

ถึงกระนั้น ถ้าเราคิดว่าเราเขียนด้วย "ความบริสุทธิ์ใจ" ที่อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น ก็ไม่กลัวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จะสะท้อนกลับมาครับ

การสื่อสารแต่ละครั้ง ผู้รับแต่ละคนย่อมเข้าใจได้ต่างกันครับ บางบันทึก ที่เขียนด้วยความจริงใจ เขียนในเชิงสร้างสรรค์ ก็อาจจะถูกมองว่า เขียนเพื่อบ่อนทำลายความรู้สึกไ้ด้เช่นกัน  ก็อยู่ที่ว่า เนื้อหาของบันทึก มีความชัดเจนมากแค่ไหน สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้หรือเปล่า

 

ถ้ากระทบความรู้สึกของคนอื่นๆ หากเรารู้เราก็ชี้แจงให้กระจ่าง ชัดเจน 

 แต่หลายครั้ง เราไม่ค่อยจะรู้ครับ ไม่เคยรู้ว่า เมื่อเราสื่อสาสรออกไปแล้ว อีกฝ่ายคิดอย่างไร ดูเขาเฉยๆ ก็ต้องพยายามตีความกันไปเอง  ถ้าเห็นเขาท่าทางเครียดๆ ก็อาจจะตีความว่า เขาไม่พอใจเรา   แต่เขาอาจจะมีเรื่องอื่นที่กำลังขบคิดอยู่และยังหาทางออกไม่ได้ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ

              การสื่อ  ก็ต้องมาจากความคิด  อย่างไรดี  มีอยู่ที่ไปสำเนามา  เพราะไปพบข้อคิด ข้อความดี  เลยสำเนามาสื่อ  พร้อมแสดงความคิดประกอบ  เป็นการศึกษาเรียนรู้ เห็นด้วยกับข้อคิด เลยขอเขียนมาประกอบครับผม.
การสื่อสารสามารถกระทำได้ แต่ไม่ได้หมายความตามใจฉันนะ ครับ เขา พรบ.ว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร 2542 คั้นอยู่นะ  อย่าลืมล่ะ...............

เห็นด้วยค่ะ..

 ถ้าหากเขียนบ่อยๆ ฝึกคิด ฝึกเรียบเรียงภาษา..

"...เอกลักษณ์จะเกิดเฉพาะของคนๆนั้นทันที ที่ใครๆก็ไม่อาจจะลอกเลียนแบบได้ .."

^___^

ขอบคุณที่แวะไปอ่านโลกการ์ตูน

ว่างๆ แวะมาอีกนะคะ 

สวัสดี อาษา ว่างๆ แวะมาเที่ยว ที่ระยองบ้างนะ

อยู่ระยองเชียวหรือ แล้วจะหาโอกาสไปนะครับ

สาระดีมากเรยค่ะ คนทำเก่งจัง!!!!

คุณเป็นคนเก่งนะคะ   ฉันชอบบันทึกของคุณค่ะ        ถ้ามีโอกาสเราคงได้เจอกัน  ฉันจะให้คุณอ่านบันทึกของฉันบ้าง

ขอบคุณครับคุณน้ำค้าง แต่คุณน้ำค้างก็สามารถนำบันทึกมาให้นายบอนได้อ่านได้นะครับ ส่งเมล์หานายบอน!-กาฬสินธุ์ ส่งให้ทางเมล์ หรือเขียนลงใน blog ก้ได้นะครับ

จะรออ่านนะครับ

 ( ใครๆก็ไม่อาจจะลอกเลียนแบบได้  แม้จะพยายามลอกเลียนแบบ แต่คงจะยากมากๆ ในการที่จะเขียนด้วยความสม่ำเสมอ )  ว่าแล้วก็ขอลอกไปไว้ใน Blog หน่อยนะคะ เอาไว้เตือนใจ อิ ๆๆๆ

สวัสดีครับ คุณ วิริญลักษณ์ พันธ์คำ 

    ไม่พยายามไม่รู้นะครับ ต่างคนต่างเอกลักษณ์ที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้  เผื่อจะมีคนอยากลอกเลียนแบบคุณบ้างนะ อิอิ 

ขอบคุณมากนะค่ะ เขียนบันทึกดีๆให้ด้านอ่านและนำไปใช้ได้ ถ้ามีเวลาจะอ่านบันทึกของคุณบอนให้หมดทุกบันทึกที่เขียน ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับแง่คิดดีๆ

แหม ตั้งใจจะอ่านให้หมดเลยหรือครับ

ไหวหรือ

พันกว่าเรื่องนะครับ :))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท