วิวัฒนาการทฤษฏีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม


กลุ่มที่ 2 (กลุ่มกัลยาณมิตร)

แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม

(Behavioral Theories of Leadership)

และผลงานวิจัย พร้อมตัวอย่าง

วิวัฒนาการของภาวะผู้นำ

                   ภาวะผู้นำได้เกิดขึ้นกับผู้นำมาหลายยุคหลายสมัยตั้งแต่บรรพบุรุษมาแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นมาของภาวะผู้นำของผู้นำ  จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงวิวัฒนาการของภาวะผู้นำ ซึ่งมีวิวัฒนาการ 4 ยุค ดังนี้

                    วิวัฒนาการของภาวะผู้นำยุคที่ 1  ภาวะผู้นำแบบมหาภาคในโลกที่อยู่สภาวะมั่นคง (Macro Leadership in a Stable World) เป็นยุคก่อนการปฏิบัติอุตสาหกรรมและก่อนมีการปกครองแบบราชการ องค์กรส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ดำเนินการเพียงคนเดียว คนงานมักเป็นญาติหรือเพื่อนบ้าน เรียกว่าภาวะผู้นำแบบยิ่งใหญ่ (Great Man Leadership)  เชื่อว่า ผู้นำนั้นได้มาตั้งแต่เกิดกับคุณลักษณะการเป็นผู้นำอย่างแท้จริง  “ผู้นำ” (Leaders) มีความเทียบเท่ากับ  “วีรบุรุษ” (Hero) เช่น เลนิน  เชอร์ชิล์  ฮิตเลอร์  และมุสโสลินี 

                วิวัฒนาการของภาวะผู้นำยุคที่ 2  ภาวะผู้นำแบบจุลภาคในโลกที่อยู่ในสภาวะมั่นคง (Micro Leadership in a Stable world) ยุคที่เริ่มมีสายงานบังคับบัญชาตามลำดับชั้น และมีความคิดแบบระบบราชการ มีความเจริญเติบโตขยายขนาดใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์และมีมาตรฐานในการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เรียกว่า ยุคการบริหารงานเชิงเหตุผล (Rational Management)ซึ่งสั่งการและควบคุมคนโดยใช้วิธีการที่ไม่เป็นส่วนตัว

                วิวัฒนาการของภาวะผู้นำยุคที่ 3    ภาวะผู้นำแบบจุลภาคโลกที่มีความสับสนวุ่นวาย (Micro Leadership in a Chaotic world)  เป็นยุคที่เกิดวิกฤติทางการบริหารจัดการในแถบทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป เกิดภาวะความไม่มั่นคงอย่างกะทันหัน ทำให้การบริหารแบบมีเหตุผลถูกยกเลิกไป ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำที่ริเริ่มความคิดภาวะผู้นำแบบทีมงาน (Team Leadership) ขึ้นลักษณะของทีมงานจะมีความเสมอภาคกันทั้งทีมงาน จะไม่มีใครเป็น “ดาว” เน้นด้านคุณภาพงาน

                วิวัฒนาการของภาวะผู้นำยุคที่ 4   ภาวะผู้นำแบบมหาภาคในโลกที่อยู่ในสภาวะมั่นคง (Macro Leadership in a Chaotic World)  เป็นยุคที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้นำแบบอำนวยสะดวก (Facilitative Leadership) โดยเปรียบตัวเองเหมือนผู้รับใช้ที่ต้องเสียสละตัวเอง เพื่อรับใช้ผู้อื่น ผู้นำยุคนี้เรียนรู้การมีอิทธิพลต่อผู้อื่นด้วยวิธีการสร้างมนุษย์สัมพันธ์และวิสัยทัศน์ร่วม  และสร้างวัฒนธรรม โดยไม่สกัดกั้นความสามารถของคน บุคคลที่เป็นผู้นำในยุคนี้คือ George SztyKiel ประธานบริษัท Spartan Motors ผู้ผลิตรถดับเพลิงและรถที่เป็นบ้าน

ทฤษฎีภาวะผู้นำ และผลงานวิจัย

                   ทฤษฎีภาวะผู้นำเป็นความพยายามที่จะใช้วิธีการวิจัยอธิบายแง่มุมหนึ่งของผู้นำในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้สามารถเข้าใจ ทำนาย หรือควบคุมภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ ทฤษฎีภาวะผู้นำจำแนกออกเป็น 4 แนวคิด คือ

                   1) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ

                   2) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม

                   3) ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์

                   4) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ

 

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม  (Leadership Behavior)
            เป็นการพัฒนาในช่วงปี ค.ศ. 1940 – 1960  นักวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนความสนใจจากทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมซึ่งเน้นศึกษาถึงสิ่งที่ผู้นำพูดและสิ่งที่ผู้นำทำ โดยมุ่งหาแบบพฤติกรรมที่ดีที่สุดในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล แบบภาวะผู้นำในช่วงเวลานั้นหมายถึงการผสมกันของคุณลักษณะ ทักษะและพฤติกรรมที่ผู้นำใช้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตาม พฤติกรรมที่มีการศึกษาและทำความเข้าใจกันมากคือพฤติกรรมที่มุ่งคนหรือมุ่งงาน โดยมองว่าพฤติกรรมที่มุ่งคนจะทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุขและทำงานได้ดี และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเน้นงานมากผู้ร่วมงานก็จะหาความสุขยาก     

แนวคิดหลักของทฤษฎี คือ ให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติและชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นำและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน  ตัวอย่างนักทฤษฎี ได้แก่  Kurt  Lewin ,  Rensis  Likert ,  Robert  Blake  and Jane Mouton ,  Robert  Tannenbaum  and   Warren H. Schmidt , Douglas McGregor  และ William J. Reddin  เป็นต้น และได้มีการศึกษาภาวะผู้นำและผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโดยทฤษฎีในกลุ่มนี้ได้แก่  มหาวิทยาลัย แห่งรัฐไอโอวา , มหาวิทยาลัยมิชิแกน , มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ และมหาวิทยาลัยเท็กซัส  เป็นต้น  ซึ่งได้ทำการศึกษาพฤติกรรม (Behavior) หรือการกระทำ (Action) ของผู้นำ มีรายละเอียดดังนี้

1.  การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวา  (Iowa State University : ISU)  

2.  การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan)  

3.  การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ  (Ohio State University)

4. ทฤษฎีตารางภาวะผู้นำ (Leadership grid) แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas)

5. ทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ  (  Continuum  of  Leadership  Theory  )

6.   ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวายของดักลาส  แมคเกรเกอร์

7.  ทฤษฎี  3  มิติ ของเร็ดดิน  (Reddin’s  Tri-Dimension Theory)

สรุป

จากทฤษฎีภาวะผู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลนั้น นักวิชาการต่างพยายามศึกษาแตกต่างกันไปหลายแนวคิด แต่ละแนวคิดล้วนมีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้นำที่จะต้องเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์แต่อย่างไรก็ตามแต่ละแนวคิด ทฤษฎีล้วนมีประโยชน์ต่อผู้นำทั้งสิ้น ดังนี้ 

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม เน้นการศึกษาพฤติกรรมผู้นำที่มีประสิทธิผล โดยพิจารณาจากแบบของภาวะผู้นำ เช่น การศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวา ที่ได้แบ่งผู้นำออกเป็น   3 แบบคือแบบประชาธิปไตย  แบบเผด็จการและแบบเสรีนิยม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะชอบผู้นำแบบประชาธิปไตยมากที่สุด / การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ และของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ได้แบ่งผู้นำออกเป็นแบบมุ่งงานและมุ่งคน โดยคำนึงถึงสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานที่ทำงานร่วมกันในองค์กร  / ทฤษฎีตารางภาวะผู้นำของ Black และ Mouton แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส  ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้นำแบบผู้นำเชิงพฤติกรรมนี้จะอธิบายว่าผู้นำทำอะไรหรือควรทำอะไร และผลลัพธ์ที่ตามมาจากการกระทำของผู้นำ  / Robert Tannenbaum และ Warren H. Schmidt  ได้ขยายทรรศนะที่มีต่อภาวะผู้นำแบบเผด็จการและประชาธิปไตยจาก 2 พฤติกรรมออกเป็น 7 พฤติกรรม  ที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  และได้ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำทั้ง 3 แบบ โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงทำให้ผู้นำประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ และยังพบว่าผลผลิตสูงขึ้นด้วย /   ทฤษฎีเอ็กซ์  และทฤษฎีวายของ Mc. Gregor ที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสถานการณ์ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน โดยสรุปแบบแผนการผู้นำไว้เป็น 2 แนวคิดทฤษฎี  / และการศึกษาภาวะผู้นำของ Reddin ได้ผสมผสานแบบของพฤติกรรมผู้นำ 2 มิติ คือมิติมุ่งกิจสัมพันธ์ และมิติมุ่งมิตรสัมพันธ์ แล้วจำแนกผู้นำออกเป็น 4 แบบ คือ แบบบูรณาการ แบบแบ่งแยก แบบอุทิศตนและแบบสัมพันธ์ภาพ

หมายเลขบันทึก: 401696เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2010 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท