การประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย


คนที่เคบชินการการได้รับมาตลอดก็มี บางคนพูดว่า "บ้านเราลูกน้ำมีมาก อสม.ไม่มาดูแลเลย" สิ่งที่ได้ยินข้าพเจ้าคิดเองว่า เขารู้ว่าบ้านเขามีลูกน้ำแต่ไม่กำจัดหรือหาวิธีป้องกัน ต้องการให้คนอื่นมาดู มาทำให้ ไม่สู้สึกบัดสี(อาย)เลยหรือไร)

วันนี้ (15 กย.48)เวลา 12.50 น. คุณอำพรรณ  นวลปลื้ม ประธานกรรมการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ของสอ.บ้านลำกะ  โทรศัพท์มาถามว่าวันนี้หมอว่างหรือเปล่า  ถ้าว่างจะนัดเลขาฯ มาร่วมกันสรุปผลการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายกัน  รีบบอกทันทีว่าว่าง(ชาวบ้านนัด
ต้องรีบทำตัวให้ว่าง)  ตกลงนัดกันเวลา 14.00 น.ที่ สอ.บ้านลำกะ  ถึงเวลานัดก็ถึงจุดนัดหมายพร้อมกัน  นั่งสรุปผลการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยมีกัน 4 คน มี พี่ประไพ (หัวหน้า)  คุณอำพรรณ, คุณโชคชัย(ภาคประชาชน)และข้าพเจ้าผู้รับผิดชอบโครงการฯ  โดยทุกคนร่วมกันคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(ค่า HI)  ซึ่งปกติ  สอ.ลำกะ ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย  และคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเอง  รวมทั้งสามารถแปรผลเองได้ (เริ่มดำเนินการเมื่อ มกราคม2548)จากการคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบ  ได้ร่วมกันสรุปผล ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการร่วมกันคิดไว้ตั้งแต่ตอนต้นเริ่มโครงการ ผลการประกวด  ดังนี้
ที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่ 11 ต.ชุมพล  ที่ 2 หมู่ที่ 10 ต.ชุมพล  และที่ 3 หมู่ที่ 3 ต.ชุมพล  ซึ่งรางวัลที่ได้พร้อมเกียรติบัตร  จะมอบให้ในวันประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ ในวันที่ 3 ตุลาคม 2548  นี้  และผลการดำเนินงานที่เป็นทางการ  สอ.บ้านลำกะจะทำเป็นหนังสือแจ้งให้หมู่บ้านทราบต่อไป 

        เรื่องราว สืบเนื่องมาจาก สอ.บ้านลำกะ ได้จัดทำโครงการ ชุมชม โรงเรียน วัดร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2548  (ใช้งบPP)  โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม  มีกลวิธีดำเนินงานดังนี้
        1. จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างกระแส โดยใช้นักเรียนและ อสม.ร่วมกันรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย  ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์  และแจกทรายอะเบทร่วมกับชุมชน 
        2. ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย  (หมู่ที่ 1,3,5,6,7,10,11 ต.ชุมพล)
        การดำเนินการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากภาคประชาชน เป็นกรรมการ  จำนวน 15 คน  โดยร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินโดยมีเจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษา  ดังนี้ 1. สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย 30 % ของหลังคาเรือนทั้งหมดในแต่ละหมู่บ้าน  สำรวจ 2 ครั้ง เพื่อหาค่า HI  แล้วนำผลการ
สำรวจทั้ง 2 ครั้ง มาหาค่าเฉลี่ย  2. ระหว่างดำเนินการจะต้องไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก  3. คัดเลือกหมู่บ้านที่ค่า HI เฉลี่ยน้อยที่สุดและไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก นำมาจัดลำดับ 1 , 2 , 3  ผลปรากฏ ด้านบน
        3. ให้กรรมการร่วมกันสรุป และตัดสินเองตามหลักเกณฑ์ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยง 

         สิ่งที่ได้จากโครงการในครั้งนี้
         1.ด้านความร่วมมือ  ผู้นำชุมชนและประชาชนตื่นตัว  และให้ความสำคัญกับการประกวดหมู่บ้าน เพราะต้องร่วมทำกันทั้งหมู่บ้าน  จึงจะควบคุมโรคได้และได้รางวัล 
         2.ด้านการประชาสัมพันธ์ บางหมู่บ้านที่มีไข้เลือดออก  ชาวบ้านจะรู้และร่วมกันป้องกันโดยการบอกต่อ ซึ่งมี อสม.คอยเป็นที่ปรึกษาในหมู่บ้านและช่วยกันควบคุมโรค
         3.ด้านทัศนคติ  คนที่เคยชินกับการได้รับมาตลอดก็มี  บางคนพูดว่า "บ้านตนเองมีลูกน้ำมาก อสม.ไม่มาดูเลย"   สิ่งที่ได้ยินข้าพเจ้าคิดเอาเองว่า เขารู้ว่าบ้านเขามีลูกน้ำแต่ไม่กำจัดหรือหาวิป้องกัน  ต้องการให้คนอื่นมาดู มาทำให้ ไม่รู้สึกบัดสี(อาย)เลยหรือไร(ได้แต่คิดในใจแต่มาพูกกับกรรมการ เพื่อร่วมกันคิดหาแนวทางพัฒนาต่อไปในวันข้างหน้า
         4.ด้านองค์ความรู้  จากประสบการณ์จากลงดำเนินงานตามโครงการ  ควรพัฒนาองค์ความรู้ให้ชาวบ้านรู้แบบรู้จริงจากการเรียนรู้  เพราะการอบรมหรือประชุมอย่างเดียวจะได้ผลน้อย

          บทสรุปที่ได้จากโครงการฯ(ประเมินเองจากประสบการณ์) ชาวบ้านรู้สึกชินกับการได้รับหรือการให้ของรัฐ มาตลอด คอยแต่โทษผู้อื่น  จากที่ลงไปทำโครงการนี้  ปัญหาที่พบก็มีพอสมควร (จะเล่าสู่กันฟังโอกาสต่อไป)   การทำงานของภาครัฐควรปรับเปลี่ยนกระบวนการใหม่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น  โดยใช้คนในพื้นที่เป็นเครื่องมือ น่าจะประสบความสำเร็จ  
          
       
      

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยและพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 4013เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2005 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     "โดยทุกคนร่วมกันคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI) ซึ่งปกติ  สอ.ลำกะ ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย  และคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเอง รวมทั้งสามารถแปรผลเองได้" ประโยคข้างต้น เห็นได้เลยว่ามีทั้งส่วนที่เป็น explicit knowledge และส่วนที่เป็น tacit knowledge เกิดขึ้น สิ่งดี ๆ อย่างนี้น่าจะได้ถอดบทเรียนร่วมกันกับชาวบ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ หรืออาจจะใช้วิธีการประเมินผลอย่างเป็นระบบทั้งโครงการฯ (ทำงานวิจัยในงานปกติ โดยใช้วิญญาณการวิจัย หมายถึงมีความเป็นวิทยาศาสตร์เสมอ ๆ) และนำมาเล่ากันฟังอีก จะขอบคุณมาก

     ลองดูนะครับ ถ้าหมออนามัย (รวมถึงทุกคนในระบบราชการ) ทำโครงการใด ๆ แล้วมีการประเมินอย่างจริง ๆ จัง การถอดบทเรียนด้วยวิธีการที่ถูกต้อง จะพบในระหว่างการดำเนินการตามโครงการอยู่นั้น อาจจะต้องมีการปรับกลวิธีการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายไม่มากก็น้อย (แต่ต้องไม่รู้สึกกลัว และรำคาญการปรับ) และผมจะบอกว่าในโครงการที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบ (Project Management) ที่จังหวัด ทุกโครงการมีการปรับหมด เพราะปัญหาบางเรื่องถูกแก้ได้แล้ว (เป็น Impact ของกิจกรรมก่อนหน้าที่ดำเนินการแล้ว) แล้วเราจะหาเรื่องผลาญงบประมาณไปทำไมอีก

     ผมเชื่อมั่นว่าพี่จะต้องทำได้อย่างที่เราเคยพูด ๆ กัน และผมก็เห็นว่าพี่ทำได้จริง อยากให้พี่แนะนำ กระตุ้นสมาชิกในเครือข่าย และคนรอบข้างบ้างนะครับ แต่พีต้องรอเขาได้อย่ารีบ เพราะผมก็พี่มานาน (กว่าจะเขียน ฮา...)

     พี่ได้อ่าน “ไตรภาคีร่วมพัฒนา” ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพชุมชน #2" หรือยัง เป็นเมล์ที่ผมส่งให้หมอครับ

     "โดยทุกคนร่วมกันคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI) ซึ่งปกติ  สอ.ลำกะ ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย  และคิดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเอง รวมทั้งสามารถแปรผลเองได้" ประโยคข้างต้น เห็นได้เลยว่ามีทั้งส่วนที่เป็น explicit knowledge และส่วนที่เป็น tacit knowledge เกิดขึ้น สิ่งดี ๆ อย่างนี้น่าจะได้ถอดบทเรียนร่วมกันกับชาวบ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ หรืออาจจะใช้วิธีการประเมินผลอย่างเป็นระบบทั้งโครงการฯ (ทำงานวิจัยในงานปกติ โดยใช้วิญญาณการวิจัย หมายถึงมีความเป็นวิทยาศาสตร์เสมอ ๆ) และนำมาเล่ากันฟังอีก จะขอบคุณมาก
     ลองดูนะครับ ถ้าหมออนามัย (รวมถึงทุกคนในระบบราชการ) ทำโครงการใด ๆ แล้วมีการประเมินอย่างจริง ๆ จัง การถอดบทเรียนด้วยวิธีการที่ถูกต้อง จะพบในระหว่างการดำเนินการตามโครงการอยู่นั้น อาจจะต้องมีการปรับกลวิธีการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายไม่มากก็น้อย (แต่ต้องไม่รู้สึกกลัว และรำคาญการปรับ) และผมจะบอกว่าในโครงการที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบ (Project Management) ที่จังหวัด ทุกโครงการมีการปรับหมด เพราะปัญหาบางเรื่องถูกแก้ได้แล้ว (เป็น Impact ของกิจกรรมก่อนหน้าที่ดำเนินการแล้ว) แล้วเราจะหาเรื่องผลาญงบประมาณไปทำไมอีก
     ผมเชื่อมั่นว่าพี่จะต้องทำได้อย่างที่เราเคยพูด ๆ กัน และผมก็เห็นว่าพี่ทำได้จริง อยากให้พี่แนะนำ กระตุ้นสมาชิกในเครือข่าย และคนรอบข้างบ้างนะครับ แต่พีต้องรอเขาได้อย่ารีบ เพราะผมก็พี่มานาน (กว่าจะเขียน ฮา...)
     พี่ได้อ่าน “ไตรภาคีร่วมพัฒนา” ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพชุมชน #2" หรือยัง เป็นเมล์ที่ผมส่งให้หมอครับ

     พี่ครับผมลืมไปว่าจะบอกตั้งแต่ข้อคิดเห็นที่แล้ว คือ คาถา 4 ข้อ (จตุปุจฉา) สำหรับถอดบทเรียน ลองใช้ดูนะครับ ง่าย ๆ ทำทันทีที่มีโอกาส

     1. มีอะไรให้ชื่นชมบ้าง (สิ่งใดหรือกิจกรรมใดบ้างของโครงการนี้ ที่ท่านชื่นชม และควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการต่อไป)

     2. มีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง (สิ่งใดหรือกิจกรรมใดบ้างของโครงการนี้ ที่ท่านไม่อยากให้มีหรือไม่อยากให้เกิดขึ้นแล้วในการดำเนินการครั้งต่อไป)

     3. ถ้าทำใหม่ได้จะทำให้ดีกว่านี้อีกได้อย่างไรบ้าง (ในปีหน้าท่านจะทำใหม่ให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไรบ้าง)

     4. ได้บทเรียนอะไรบ้าง (ได้เรียนรู้ หรือเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ในทุก ๆ ด้าน อย่างไรบ้าง ที่จะจดจำไว้ และจะนำไปบอกต่อ)

     พี่ครับผมลืมไปว่าจะบอกตั้งแต่ข้อคิดเห็นที่แล้ว คือ คาถา 4 ข้อ (จตุปุจฉา) สำหรับถอดบทเรียน ลองใช้ดูนะครับ ง่าย ๆ ทำทันทีที่มีโอกาส

     1. มีอะไรให้ชื่นชมบ้าง (สิ่งใดหรือกิจกรรมใดบ้างของโครงการนี้ ที่ท่านชื่นชม และควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการต่อไป)

     2. มีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง (สิ่งใดหรือกิจกรรมใดบ้างของโครงการนี้ ที่ท่านไม่อยากให้มีหรือไม่อยากให้เกิดขึ้นแล้วในการดำเนินการครั้งต่อไป)

     3. ถ้าทำใหม่ได้จะทำให้ดีกว่านี้อีกได้อย่างไรบ้าง (ในปีหน้าท่านจะทำใหม่ให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไรบ้าง)

     4. ได้บทเรียนอะไรบ้าง (ได้เรียนรู้ หรือเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ในทุก ๆ ด้าน อย่างไรบ้าง ที่จะจดจำไว้ และจะนำไปบอกต่อ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท