การอนุรักษ์สัตว์ป่า(การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์) 6


ทรัพยากรสัตว์ป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2504 นี้เอง แต่เดิมนั้นถือว่าสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ติดมากับแผ่นดิน ใครจะเก็บหาหรือล่าได้ตามความพอใจ ยกเว้นช้างป่าซึ่งได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองช้างป่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 ทั้งนี้ก็เนื่องจากช้างป่าเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากในสมัยก่อน โดยเฉพาะช้างเผือกถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และแสดงถึงบุญญาธิการของกษัตริย์ในสมัยนั้นๆ ส่วนช้างป่าทั่วไปก็มีประโยชน์ในราชการสงคราม การเดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร การทำไม้และการแสดงต่างๆ ช้างป่าจึงได้รับการคุ้มครองมาก่อนสัตว์ป่าอื่นๆ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย  

เนื่องจากสัตว์ป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากสาเหตุดังกล่าวแล้วข้างต้น จนเป็นที่น่าวิตกว่าจะหมดสิ้นจากแผ่นดินไทยเป็นเหตุให้มีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นการณ์ไกลและได้แสดงออกซึ่งความห่วงใยและเริ่มเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจต่อทรัพยากรสัตว์ป่า ในที่สุดรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกพระบัญญัติและวางระเบียบการใช้ประโยชน์และร่างแนวทางการจักการสัตว์ป่าของประเทศขึ้นในปี พ.ศ.2503 โดยอ้างเหตุผลดังนี้คือ “สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ายิ่งของประเทศชนิดหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ วิทยาการและรักษาความงามตลอดจนคุณค่าธรรมชาติไว้ แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันนี้สัตว์ป่าที่มีค่าบางชนิดได้ถูกล่าและทำลายจนสูญพันธุ์ไปแล้วและบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์ป่าโดยเฉพาะ จึงสมควรตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนส่วนรวมให้สมกับที่ชาวไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ “ พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 เป็นต้นไป ต่อมาได้ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 และได้ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขึ้นใช้แทนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคือบริเวณพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่า กระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา จึงนับว่าเป็นพื้นที่สำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาไปตามความเจริญของประเทศ กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการของรัฐที่มีน่าที่รับผิดชอบในเรื่องทรัพยากรสัตว์ป่าได้เสนอรัฐบาลจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นหลายแห่งด้วยกัน โดยกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอยู่ 36 แห่ง ดังตารางที่ 10 นอกจากเขตรักษาพันธุ์ป่าแล้ว รัฐบาลยังกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 42 เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้ หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดหรือเป็นที่ที่สัตว์จำเป็นต้องใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่นเป็นที่ผสมพันธุ์เลี้ยงลูกอ่อน เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่ลงพักในระหว่างการเดินทางย้ายถิ่นฐานและอื่นๆ พื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามักจะมีขนาดไม่กว้างขวางมากนัก และส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเท่าที่รัฐบาลได้จัดตั้งเรียบร้อยมี 48 แห่งด้วยกัน นอกจากนั้นกรมป่าไม้ยังจัดให้มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า สถานีวิจัยสัตว์ป่า อุทยานสัตว์ป่า และศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าอีกด้วย

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า

                                อาณาบริเวณที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิด  พันธุ์สัตว์ป่า และส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณซึ่งใช้ราชการหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน

ประวัติวันคุ้มครองสัตว์ป่า 

ประเทศไทยในยุคแรกๆราษฎรได้ใช้ประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวล่าสัตว์ป่าเพื่อใช้ในการดำรงชีพจนพัฒนาไปสู่การซื้อขายในประเทศและการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ จากหลักฐานในอดีตพบว่าสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดส่งหนังกวาง ปลาแห้ง นอแรด งาช้าง ช้าง ไม้ และของป่าต่างๆไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ช่วงขาดกฎหมายกำกับคุ้มครองสัตว์ป่า

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ยานพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่เหลือจากการทำสงครามได้ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ใน การล่าสัตว์ป่า ประกอบกับช่วงนั้นรัฐได้มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงเป็นสาเหตุนำไปสู่การทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างรวดเร็ว

 

 

 

 

 

 

การคุ้มครองสัตว์ป่าของประเทศอย่างจริงจัง

เริ่มหลังจากที่มีการตรา พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ซึ่งขณะนั้นสมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงพระนามใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 และในปีถัดมามีการตรา พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ขึ้น  โดยเนื้อหาของ พ.ร.บ. มุ่งที่จะให้การสงวนและคุ้มครองทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า และในปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ได้กำหนดให้วันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ  พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มีการกำหนดสถานภาพสัตว์ป่าเพื่อควบคุมการล่าการครอบครองการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์สัตว์ป่า โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าที่หายากกำลังจะสูญพันธุ์ มี 9 ชนิด ได้แก่  แรด  กระซู่  กูปรี  ควายป่า ละอง  ละมั่ง เนื้อทราย เนื้อสมัน เลียงผา และกวางผาสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 เป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์ช่วยทำลายศัตรูพืช หรือขจัดสิ่งปฏิกูลและเป็นสัตว์ป่าที่สวยงามควรประดับไว้ตามธรรมชาติ หรือต้องการคุ้มครองไว้มิให้หมดไป อนุญาตให้ล่าได้แต่ต้องไม่ทำให้ตาย เช่น ชะนี ค่าง นกยูง และไก่ฟ้าต่าง ๆ

พ.ศ. 2535

ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า เนื่องจาก

- พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 บังคับใช้เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี ส่งผลให้มาตรการที่มีอยู่ ไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

- ไทยเข้าร่วมกับอนุสัญญา CITES

 

 

หมายเลขบันทึก: 400586เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท