การอนุรักษ์สัตว์ป่า(การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์) 3


การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์

การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์

การสุขาภิบาลสัตว์ป่า

                การสุขาภิบาลสัตว์ คือการปฏิบัติใด ๆ ที่ช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันโรคสัตว์ การสุขาภิบาลที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงสัตว์ป่าในกรงเลี้ยง เพราะแนวคิดในการควบคุมโรคสัตว์หรือโรคคนในปัจจุบัน การป้องกันเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการรักษาสัตว์ป่วย และการสุขาภิบาลที่ดีเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลดี และควรวางแผนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในกรงเลี้ยงของสวนสัตว์

                การวางแผนการจัดการสุขาภิบาลสัตว์ป่าในกรงเลี้ยง ต้องคิดรวมทั้งระบบที่ทำให้สัตว์เกิดโรค ปกติสัตว์จะเกิดโรคได้นั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 ปัจจัยที่เหมาะสม คือ ตัวสัตว์  เชื้อโรค  สิ่งแวดล้อม

 

การสุขาภิบาลสัตว์ป่า : อาหาร

การจัดเตรียม

  • ต้องพิจารณาตั้งแต่แหล่งอาหาร ที่เชื่อถือได้ ไม่มีสารปนเปื้อน
  • ภาชนะที่บรรจุอาหารต้องมีการทำความสะอาดทุกวัน คนที่จัดเตรียมอาหารต้องไม่เป็นโรคติดต่อต่อสัตว์

การขนส่ง

  • การขนส่งอาหารต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด รถที่ใช้ขนต้องสะอาด มีการทำความสะอาดทุกวัน
  • คนที่จัดส่งอาหารต้องไม่มีโรคติดต่อ หรือเป็นตัวนำโรคไปสู่คอกสัตว์

การรับอาหาร

  • ต้องมีภาชนะหรือจุดที่รับส่งอาหาร ที่แน่นอน
  • สามารถกันแมลง สุนัขมากิน ในช่วงที่คนเลี้ยงยังไม่มารับอาหารได้

การให้อาหาร

  • ภาชนะอุปกรณ์เช่น ผัก ถาดต้องล้างและทำความสะอาดทุกวัน
  • บริเวณจัดเตรียม ต้องมีภาชนะใส่ขยะที่มิดชิด แยกระหว่างขยะแห้งและขยะเปียก

การสุขาภิบาล : คอกสัตว์

คอกกัก

  • เป็นจุดแรกที่ต้องคำนึงถึงในการสุขาภิบาล
  • คอกกักเป็นแหล่งชื้อโรคและไข่พยาธิที่สำคัญ

ส่วนของลานจัดแสดง

  • หลักการก็เหมือนกับงานส่วนคอกกัก
  • การตกแต่งและการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสัตว์

ส่วนของนักท่องเที่ยวและแผ่นป้ายเพื่อการศึกษา

  • การเก็บกวาดภาชนะใส่น้ำ – ใส่อาหารที่คนเที่ยวทิ้งไว้
  • เป็นการสร้างบรรยากาศของสวนสัตว์ที่ดี

การสุขาภิบาล : ตัวสัตว์

การนับจำนวนสัตว์แต่ละวัน

  • เป็นสิ่งที่ต้องกระทำในขั้นต้น ๆ ของคนเลี้ยงในแต่ละวัน

 

 

การสังเกตสุขภาพและพฤติกรรมสัตว์

  • ลักษณะภายนอกของสัตว์ที่สังเกตได้
  • การกินน้ำ อาหาร ผิดปกติไปหรือไม่
  • การขับถ่าย ดูลักษณะและปริมาณการถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ
  • อาการอย่างอื่นที่ผิดปกติ เช่น สัตว์ซึม หายใจลำบาก มีอาการอาเจียน ฯลฯ

การสุขาภิบาล : คนเลี้ยง และบุคคลที่จะเข้าไปทำงานกับตัวสัตว์

ความสะอาด

  • เป็นอันดับแรกที่ต้องพิจารณา ในทางสุขาภิบาล คนเลี้ยงสัตว์ นายสัตวแพทย์ ที่เข้าไปทำงานกับสัตว์ ก็จะเป็นตัวนำเชื้อโรคจากภายนอก เข้าไปสู่ตัวสัตว์ด้วย ในทางกลับกัน ก็จะนำเชื้อโรคจากตัวสัตว์ออกมาสู่ภายนอก

สุขภาพ

  • ต้องมีการตรวจสุขภาพทุกปี และมีการทำวัคซีน
  • คนที่ทำงานกับสัตว์ควรต้องออกกำลังกายและรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อเป็นภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ที่อาจติดต่อระหว่างคนกับสัตว์ที่เลี้ยงได้

นักท่องเที่ยว

  • จะไม่ให้คนที่มาเที่ยวชม ได้ใกล้ชิดกับสัตว์มากเกินไป ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
  • สิ่งที่คนเลี้ยงต้องระมัดระวังในส่วนของคนที่มาเที่ยวชม เช่น การขว้างปาสิ่งของ ที่เป็นอันตรายลงไปในคอกสัตว์
  • ควรทำความเข้าใจ การให้ความรู้คนที่มาเที่ยวชม มีทัศนคติที่ดีต่อสัตว์ที่นำมาจัดแสดง

การสุขาภิบาล : อื่นๆ

                ตรวจตรากำจัดพาหะก่อโรค >> นก หนู แมลง สุนัข

 

 

แนวคิดในการสร้างที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปของสัตว์ป่า

  • สุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตของนก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในกรง
  • การออกแบบ

-  ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด

-  ศึกษาข้อมูลของสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อออกแบบกรงที่เหมาะสม

                     แหล่งอาศัย  ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ป่าทึบ ?

                     พฤติกรรม  ชอบเกาะคอน เดินบนพื้น หรือต้องการโพรงรัง ? มีพฤติกรรมพิเศษหรือไม่ เช่น นกยูงต้องการลานเพื่อรำแพน

  • ที่อยู่อาศัย

-  แข็งแรง และ ปลอดภัย

                     ควรมีประตูสองชั้นเพื่อป้องกันนกบินหนี

                     มีที่กำบัง และที่วางไข่ที่ปลอดภัย

                     สามารถป้องกันนกจากสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น คน สุนัข นก หนู งู แมว มด

                     ไม่มีส่วนที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น ตะปู ลวดแหลมๆ ห่วงเชือก ห่วงเหล็ก

                     ไม่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว (นกไวต่อพิษตะกั่วมากๆ ตายได้ )

-  เหมาะสมกับนกแต่ละชนิด

                     ความกว้าง ความสูง อุณหภูมิ ความชื้น แสง  ส่งแวดล้อมอื่นๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 400581เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ณัฐธิดา ภูมิเหล่าม่วง

มีหนังสือโรคและการสุขาภิบาลสัตว์ป่าเปล่าวค่ะ เพราะว่าหนูต้องการเอาไปทำรายงานค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท