การอนุรักษ์สัตว์ป่า(การจัดการสัตว์ป่าในสวนสัตว์) 5


โรคของสัตว์ป่า, การจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่า,

โรคของสัตว์ป่า 

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ 

โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 

  • แบคทีเรีย
  • ไวรัส
  • เชื้อรา
  • พยาธิ
    • ภายใน
    • ภายนอก (เหา ไร)
  • โปรโตซัว
  • บาดเจ็บจากการถูกทำร้าย
  • ขาดสารอาหาร
    • แคลเซียมและฟอสฟอรัส
    • วิตามิน
  • อุ้งเท้าอักเสบ
  • พิษจากโลหะหนัก
  • เนื้องอก
  • บาดเจ็บจากการถูกทำร้าย
  • ขาดสารอาหาร
    • แคลเซียมและฟอสฟอรัส
    • วิตามิน
  • อุ้งเท้าอักเสบ
  • พิษจากโลหะหนัก
เนื้องอก 

การป้องกัน 

-  กักโรคนกมาใหม่

-  เมื่อพบนกป่วยให้รีบแยกออกจากฝูง

-  ป้องกันสัตว์และแมลงซึ่งเป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง นกธรรมชาติ หนู

-  ถ่ายพยาธิอย่างน้อยทุกสี่เดือน

-  รักษาความสะอาดของน้ำ อาหาร กรง ภาชนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยง

-  จัดสภาพแวดล้อมในกรงให้เหมาะสม

-  ลดความเครียด

ประโยชน์ของสัตว์ป่า

สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่าหรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์ได้เจริญขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งพอจะสรุปคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าที่มีต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ

1) ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันยังนิยมใช้เนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหาร การใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆของสัตว์ป่า เช่น ขน เขา และหนังจึงเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป สัตว์เหล่านี้จะถูกซื้อไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ หรือนำไปเลี้ยงดูสัตว์หลายชนิดที่ถูกจับส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆจากสัตว์ป่าด้วยปีหนึ่งๆ คิดเป็นมูลค่านับล้านบาท อย่างไรก็ดี ประโยชน์ในด้านนี้ถ้าหากขาดการควบคุมให้รัดกุมแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ คือทำให้ปริมาณสัตว์ป่าลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตกว่าสัตว์ป่าบางชนิดอาจจะต้องสูญพันธุ์ไป หรือทำให้ความสมดุลตามธรรมชาติต้องเสียไป อันเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจทางอ้อม เพราะว่ามีสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะนกที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร ดังนั้นการใช้ประโยชน์ด้านนี้จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

           2) ประโยชน์ในด้านวิชาการ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อประโยชน์ให้สังคมในปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาวิชาที่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นตัวทดลอง เช่น การใช้สัตว์ป่าในการทดลองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การค้นคว้าทดลองทางสัตววิทยาการส่งลิงไปกับยานอวกาศให้อยู่ในอวกาศแทนมนุษย์ในระยะแรกๆเป็นต้น การค้นคว้าทดลองการริเริ่มในวิทยาการใหม่ๆได้เจริญรุดหน้าไปมากเท่าใด สัตว์ป่าที่ใช้ในการทดลองก็มีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ส่งซื้อสัตว์ป่าเลี้ยงในสวนสัตว์เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อย เพราะเท่ากับเป็นการรักษาชนิดพันธุ์สัตว์ที่หายากบางชนิดไม่ให้ต้องถูกล่าจนสูญพันธุ์ไป อนาคตของคนรุ่นต่อไปอาจได้ชมและเห็นสัตว์ป่าบางชนิดก็แต่เพียงในสวนสัตว์เท่านั้น

3) ประโยชน์ในด้านการรักษาความงามและคุณค่าทางจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติดูมีชีวิตชีวา ถ้าหากปราศจากสัตว์ป่า ปราศจากนกที่มีสีสันวิจิตรพิสดารมีเสียงร้องที่ไพเราะจับใจไว้คอยประดับธรรมชาติแล้ว ชีวิตคงจะน่าเบื่อและน่าเศร้ากว่านี้การที่ได้พบได้เห็นเสียงสัตว์ป่าย่อมทำให้เกิดสิ่งบันดาลใจหรือดลใจทำให้เกิดความสุขทางจิตใจเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางประสาทได้เป็นอย่างดี บางท่านชอบนำเอาสัตว์ป่าไปเลี้ยงไว้และใช้เวลาพักผ่อนกับการเลี้ยงดู ศึกษาการเคลื่อนไหวและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า บางท่านชอบเดินทางไปดูสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติเมื่อได้พบเห็นสัตว์ป่าแปลกๆและสวยงามทำให้รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจมีความสดชื่นดีใจ เกิดพลังที่จะคิดสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไปอีก ซึ่งเป็นประโยชน์ทางจิตใจที่ตีค่าเป็นเงินตราไม่ได้

4) ประโยชน์ในด้านการพักผ่อนใจ มนุษย์เมื่อได้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่มีธุรกิจการงานต่างๆมากมายและจำเจอยู่ทุกวันย่อมเกิดความเบื่อหน่าย จึงมักจะหาโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามท้องที่ต่างๆ ที่มีธรรมชาติสวยงาม เช่น ออกไปเที่ยวล่าสัตว์ชมสัตว์ป่า สะกดรอยสัตว์ ศึกษาชีวิตสัตว์ป่า เพื่อให้ได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจ นอกนั้นยังเป็นการออกกำลังทำให้จิตใจแจ่มใสคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการงานต่างๆ ลงได้นับว่าสัตว์ป่ามีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์ในด้านนี้ไม่น้อย 

 

หลักการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่า

สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ แต่ถ้าสัตว์ป่าชนิดใดสูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่สามารถสร้างพันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้นขึ้นมาได้อีก การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าจึงควรมีหลักในการดำเนินการดังนี้

                1) การป้องกัน การป้องกันให้สัตว์ป่าคงอยู่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการจัดการสัตว์ป่า เพราะถ้าหากสามารถที่จะคุ้มครองรักษาสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ไว้ได้แล้วการดำเนินงานในเรื่องอื่นๆที่จำเป็นต่อการจัดการสัตว์ป่าย่อมกระทำตามหลักวิชาการให้บังเกิดผลดีได้

                2) การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำและอาหาร หมายถึงการป้องกัน การบำรุงรักษาและการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำและอาหารของสัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพที่ดีและไม่ถูกทำลายให้สูญหายไป เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ป่าให้มากที่สุด

                3)  การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัยถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการจัดการสัตว์ป่าในอนาคต ต่อไปเมื่อกิจการด้านสัตว์ป่าได้เจริญมากขึ้น งานป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่าจะลดลง งานค้นคว้าวิจัยกลับจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับจึงควรที่จะเริ่มงานค้นคว้าวิจัยทางวิชาการให้ควรคู่กับงานด้านป้องกันและปราบปรามด้วยเพื่อจะได้หาทางจัดการให้สัตว์ป่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในระดับที่พอเหมาะกับปริมาณอาหารและที่หลบภัยในท้องที่นั้น ๆ

4) การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า ตามหลักของการอนุรักษ์นั้นมิได้มุ่งแต่ที่จะเก็บรักษาทรัพยากรนั้นๆ ให้คงอยู่ตลอดไปเท่านั้น แต่ยังต้องรู้จักนำทรัพยากรนั้นๆ มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรนั้น ๆ อีกด้วย ในเรื่องสัตว์ป่าก็เช่นกันจะต้องหาวิธีที่จะนำเอาสัตว์ป่าต่างๆ มาใช้ให้บังเกิดประโยชน์แก่สังคมในทางที่เหมาะสม เช่นจัดสถานที่ชมสัตว์ป่าให้ประชาชนได้เข้าไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือศึกษาหาความรู้ตามสมควรถ้าหากมีจำนวนสัตว์ป่ามากพอก็ควรเปิดให้มีการล่าสัตว์นั้นๆโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ และควรกำหนดกฎระเบียบต่างๆที่จะใช้ปฏิบัติในการล่าสัตว์ด้วย 

 

 

 

 

อุปสรรคและปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ป่าต้องลดน้อยลง

สาเหตุที่ทำให้จำนวนสัตว์ป่าต้องลดน้อยลงมีอยู่ 2 ประการใหญ่ ด้วยกันคือ

1) การล่าสัตว์โดยไม่มีขอบเขตขีดจำกัดในอดีตและปัจจุบัน การที่ประชาชนทั่วๆไป ในชนบทล่าสัตว์ป่านั้น ส่วนใหญ่ต้องการที่จะล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารหรือเพื่อเป็นการค้า เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้ครอบครัว ส่วนชาวเมืองหรือผู้มีอิทธิพบทั้งหลายต้องการล่าสัตว์เพื่อความสนุกสนาน เป็นการทดลองอาวุธและความแม่นยำหรือล่าด้วยความคะนองมือ หรือเพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถในเชิงใช้อาวุธเสียมากกว่าที่จะล่าเพื่อใช้กินเป็นอาหาร ประกอบกับอาวุธที่ใช้ล่าทันสมัยขึ้น กลุ่มของผู้มีอิทธิพลที่ไม่รู้จักรับผิดชอบมีมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้สัตว์ป่าหลายชนิดถูกล่าจนแทบจะสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย

2) การทำลายที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของสัตว์ป่า เนื่องจากประเทศได้พัฒนาความเจริญมากขึ้น และประชากรของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการที่ทำมาหากินได้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจึงถูกบุกรุกทำลายเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดแหล่งน้ำแหล่งอาหารบางชนิดก็ต้องหนีไปอาศัยในป่าลึก หรือไม่ก็ถูกล่าตายไปในที่สุด ทำให้จำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว บางชนิดก็ได้สูญพันธุ์แล้ว และบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ภายในไม่ช้า

จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่น่าวิตกว่าสัตว์ป่าจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดดังนั้นการที่จะสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเอาไว้ให้ได้นั้น จำเป็นจะต้องขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นให้จงได้

 

หมายเลขบันทึก: 400584เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท