ไปเยี่ยมน้องๆ เมืองเลย (9) ไปเยี่ยม รพ.ภูกระดึง


 

ไปเยี่ยมน้องๆ ที่ รพ.ภูกระดึงกันหน่อยค่ะ

คนไข้ยังเยอะอยู่เลย

ตารางการทำงานของน้องๆ ค่ะ บางเดือนแน่นมาก

กลุ่มให้ความรู้ เรื่อง การดูแลฟัน

ให้ความรู้แล้ว ก็ฝึกปฏิบัติแปรงฟันกันค่ะ

และตัวอย่างสื่อทันตสุขศึกษา ที่น้องๆ ทำกันเอง

แนวทางการดำเนินงาน ก็คือ

  • สอบถามและชี้แจงกิจกรรมให้แก่ผู้สนใจ และผู้ที่ต้องการทำฟันเทียม
  • นัดหมายผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มดูแลช่องปาก มาในเช้าวันจันทร์ หรือศุกร์ กลุ่มจะมีสมาชิกจำนวน 4-5 คน
  • มีการจัดการแลกเปลี่ยนดำเนินการให้ทันตสุขศึกษาในครั้งแรก และกระตุ้นให้มีการพูดคุย ลปรร. ทัศนคติ การดูแลสุขภาพช่องปากภายในกลุ่ม พร้อมให้กำลังใจ และแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยจัดเป็นกลุ่มสนทนา สัปดาห์ละ 2 วัน (วันจันทร์ และศุกร์)  
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของการแปรงฟัน ด้วยการใช้เม็ดสีย้อมคราบจุลินทรีย์ ทุกครั้งที่เข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม
  • ผู้ที่เข้ากระบวนการกลุ่มดูแลสุขภาพช่องปาก ที่จำเป็นต้องได้รับบริการทันตกรรม จะเข้าบรการหลังจากเสร็จกิจกรรมกลุ่มในแต่ละครั้ง โดยมีช่องทางด่วนพิเศษ

กิจกรรมต่อเนื่อง ก็คือ การเยี่ยมบ้านสมาชิกในกลุ่มดูแลฟัน โดยมีการติดตาม และประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากที่บ้านด้วย ระยะเวลาเยี่ยมก็คือ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน มีกิจกรรมเวลาเยี่ยมที่บ้านก็คือ

  • ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปาก
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพการแปรงฟัน ด้วยเม็ดสีย้อมฟัน
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • ชักชวนเพื่อนบ้าน หรือสมาชิกในหมู่บ้าน มาร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุย

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

  • ที่สำคัญอันดับแรกคือ ทันตบุคลากรของเราเปลี่ยนไป ในตอนแรกเป็นช่วงเรียนรู้ โดยมีกลุ่มดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลทำก่อน จึงส่งทีมทันตบุคลากรลงไปร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อไปหลายครั้งแล้ว คิดว่าทำได้  จึงนำรูปแบบกลับมาทำกลุ่มของตนเอง
  • อย่างไรก็ตาม ในตอนที่เริ่มทำ ก็ยังติดการเป็นฝ่ายพูด เป็นฝ่ายให้ มากกว่าที่จะเป็นผู้ฟังอยู่ แต่เมื่อทำกลุ่มสนทนานี้ไปเรื่อยๆ และคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอ ทำให้ทันตบุคลากรรู้จักปรับตัว จากที่เคยเป็นผู้ให้ ผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว กลายเป็นผู้ฟังมากขึ้น และฟังผู้รับบริการอย่างลึกซึ้ง ทำให้เกิดความเข้าใจ  ส่งผลให้ท่าทีในการดูแลและปฏิบัติต่อผู้รับบริการเปลี่ยนไป
  • ผลการประเมิน พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 98% สามารถคัดกรองผู้รับบริการที่ต้องการใส่ฟันจริงๆ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่เหมาะสมแล้ว ดังนั้น ภายหลังใส่ฟันผู้รับบริการจะสามารถดูแลช่องปากให้มีสุขภาพดีได้ในระยะยาว
  • บางคนมาเข้ากลุ่ม 1-2 ครั้งแล้วหายไป เจ้าหน้าที่จะลงไปติดตามที่บ้าน พูดคุยทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ไม่มาเข้ากลุ่มอีก บางคนรู้ตัวเองว่าไม่ได้ต้องการใส่ฟันจริงๆ บางรายให้เพื่อนในกลุ่มไปคุย พบว่า ผู้สูงอายุคุยกัน เข้าใจกันมากกว่าเจ้าหน้าที่เราไปคุย

คุณหมอมิงค์เล่าว่า กิจกรรมที่ดำเนินการทั้งหมดนี้ ยังถือเป็นวัตถุประสงค์รอง แต่วัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้น จะเห็นว่า กลุ่มที่มาโรงพยาบาลได้รู้จักพูดคุยกัน ได้เพื่อน บางคนอยู่คนละหมู่บ้าน แต่ขี่มอเตอร์ไซด์ไปมาหาสู่กัน  นอกจากนี้เวลาลงไปเยี่ยมบ้าน จะเห็นว่า บ้านข้างๆ จะเดินมาดู มาถาม สนใจว่าหมอมาทำไม มาทำอะไรที่บ้านนี้ เกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบธรรมชาติ  และเป้าหมายสุดท้ายของกิจกรรมนี้คือ ต้องการให้เครือข่ายกลุ่มนี้ซึ่งมีความรู้ ดูแลตนเองได้แล้ว นำความรู้/การปฏิบัติที่ดีไปดูแลกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากปัญหาฟันผุในเด็กวัยนี้เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงสูงของพื้นที่   โดยการสร้างเครือข่ายนี้ ถือเป็นการเตรียม node ไว้

เรื่องนี้เล่าโดย คุณหมออ้อ จากศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่นค่ะ

รวมกันถ่ายภาพหน้าห้องฟันค่ะ

 รวมเรื่อง ไปเยี่ยมน้องๆ เมืองเลย

  

หมายเลขบันทึก: 400302เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2010 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท