การค้ากับสุขภาวะ


         การค้าเกี่ยวข้องกับสุขภาวะมาแต่โบราณกาล   มีผลถึงขนาดยึดประเทศเป็นเมืองขึ้น   เช่น อินเดีย พม่า และอินโดจีน   การค้าสมัยใหม่มีกระแสโลกาภิวัฒน์ช่วยกระพือ

          การค้ามีผลทั้งผลดีและผลร้ายต่อสุขภาวะของผู้คนและของสังคม   องค์การค้าโลกได้รวบรวมเรื่องนี้ไว้   และองค์การอนามัยโลกเอามาเผยแพร่ผ่านทาง e-mail loop   ผมได้รับเป็นประจำ   สำหรับเรื่อง Trade and public health : facing the challeages of globalisation นี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://jech.bmjjournals.com/cgi/content/full/60/8/650 (เสียเงิน)   หรืออ่านได้ที่นี่ (click)

วิจารณ์  พานิช
 18 ก.ค.49

หมายเลขบันทึก: 39752เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มุมมองของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับสุขภาวะ ตอนที่ 1: สุขภาวะที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง เขียนโดย อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ วันพุธที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙ “...คำว่าผู้ศรัทธาที่แข็งแรงในที่นี้นักปราชญ์มุสลิมหมายถึงกายและใจในขณะเดียวกันจะให้ความสำคัญเริ่มตั้งแต่หัวใจและจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย...” อ. อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ) [email protected] ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด(รอซูล) และผู้เจริญรอยตามท่าน สุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน ปัจจุบันรัฐบาลและประชากรประเทศไทยหรือโลกให้ความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมากเพราะสุขภาวะเป็นปัจจัยที่เป็นรากเหง้าในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนนั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่คนจะต้องมีสุขภาวะอันสมบูรณ์ หากคนมีปัญหาด้านสุขภาพ แน่นอนว่าสังคมก็จะมีปัญหา และจะเป็นอุปสรรคในการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง หากประชากรของประเทศใดเกิดเจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านสุขภาพแน่นอนจะกระทบต่อการพัฒนาประเทศทุกๆด้าน ดังนั้น การเข้าใจความหมายของสุขภาพที่ดีหรือสุขภาวะดีไม่มีปัญหาของประชาชนอย่างครอบคลุม และถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากประชาชน หรือรัฐเข้าใจความหมายสุขภาวะไม่ครอบคลุมแน่นอนจะทำให้ประชาชนไม่สามารถบำรุงรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมเช่นกัน ในขณะเดียวรัฐเองก็ไม่สามารถที่กำหนดนโยบายในการบำรุง รักษาและพัฒนาสุขภาวะประชากรได้อย่างถูกต้อง และครอบคลุมเช่นกัน แต่เมื่อเราไปมองในชุมชนจะพบว่าส่วนใหญ่ให้ยังเข้าใจว่าสุขภาพดีหมายถึงเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทางร่างกาย และปราศจากภัยไข้เจ็บหรือความพิการเท่านั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายของคำว่า "สุขภาพ" ไว้ว่า "เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และ สังคม มิใช่เพียงแค่ปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น" (Health is a state of complete physical mental and social well-being and not merely the absense of disease or infirmily.) สุขภาพในที่นี้ จึงมีความหมายรวมใน 3 มิติ ได้แก่ 1. มิติทางร่างกาย (physical well-being) หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง สามารถประกอบอาชีพ กิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ 2. มิติทางจิตใจ (mental well-being) หมายถึง การมีสุขภาพจิตที่ดี มีอารมณ์มั่นคง มีจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัว เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ 3. มิติทางสังคม (social well-being) หมายถึง การมีสังคมที่สงบสุข ทั้งครอบครัว ชุมชน ที่ทำงาน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข มีความขัดแย้งน้อยที่สุด หรือ ความสามารถแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ท่านศาสดามุฮัมมัด( ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้วัจนะความว่าอัลลอฮฺทรงรักผู้ศรัทธาที่เข้มแข็งมากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ (บันทึกโดยอิมามบุคอรีและมุสลิม) และท่านศาสดายังวัจนะอีกความว่า ผู้ศรัทธาที่แข็งแรงย่อมดีกว่าและเป็นที่รักของอัลลอฮฺมากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ (บันทึกโดยอิม่ามมุสลิม) คำว่าผู้ศรัทธาที่แข็งแรงในที่นี้นักปราชญ์มุสลิมหมายถึงกายและใจในขณะเดียวกันจะให้ความสำคัญเริ่มตั้งแต่หัวใจและจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย จากนั้นไปสู่ภาคผลต่อสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ และความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่างๆ และจะต้องไม่มองข้ามแม้แต่ที่ถือว่าเป็นการส่วนตัวของบุคคลก็ตาม โดยได้วางหลักการ มาตรฐาน มาตรการการป้องกันด้วย การส่งเสริม ห้าม บำบัดรักษา และกำหนดมารยาทที่จำเป็นเพื่อปกป้องชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์มิให้เกิดการเบี่ยงเบนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล และในฐานะที่เป็นส่วนรวมของสังคม ดังนั้นหากท่านใดอยากให้ตนเองมี่ร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดีได้จะต้องมีสุขภาพกายและจิตที่ดีเยี่ยมการที่จะมีร่างกายดีและจิตเยี่ยมต้องมีอาหารที่มาเสริมทั้งกายและจิตใจซึ่งแน่นอนอาหารใจที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลามคือการเข้าถึงพระเจ้าด้วยการละหมาด การถือศีลอด การรำลึกถึงอัลลอฮฺ การไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นต้น (ในขณะเดียวกันในศาสนาพุทธคือการเข้าถึงธรรม การเข้าวัด การสวดมนต์และการนั่งสมาธิ ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในภาวะที่สังคมเต็มไปด้วยโลกแห่งวัตถุนิยม) แต่การที่จะสามารถเข้าถึงพระเจ้า ธรรมและศาสนาด้วยวิธีดังกล่าวได้บุคคลคนนั้นต้องมีสุขภาพกายที่ดีด้วยเช่นกัน การมีสุขภาพกายที่ดีได้นั้นมี 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1. การรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย แต่สำหรับศาสนาอิสลามแล้วจะต้องเป็นอาหารฮาลลาลด้วยเช่นกัน(ที่ได้รับอนุมัติจากศาสนบัญญัติ)เพราะพระเจ้าได้ตรัสไว้ความว่า “มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งที่ฮาลลาล (อนุมัติ) ที่ดีๆ จากสิ่งที่มีอยู่ในพื้นพิภพเถิด และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดินของชัยฎอนมารร้าย(ซาตาน) แท้จริงมัน คือ ศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า” (อัล- บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 168 ) พระเจ้าได้ตรัสในอัลกุรอ่านอีก ความว่า : “ผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าทำสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮได้ทรงฮาลาล (อนุมัติ) ให้แก่สู่เจ้าเป็นของหารอม (ต้องห้าม) และพวกเจ้าจงอย่าละเมิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบบรรดาผู้ละเมิด และจงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เครื่องยังชีพแก่สู่เจ้าซึ่งสิ่งอนุมัติและที่ดีและจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺในพระองค์ที่สู่เจ้าเป็นผู้ศรัธทา” (อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 87-88) จากพระดำรัสของพระเจ้าดังกล่าวปราชญ์อิสลามจึงได้วางหลักโภชนาการเพื่อสร้างจิตสำนึกและแนวทางให้กับมุสลิมในเรื่องของการเลื่อกอาหารและความผูกพันระหว่างมุสลิมกับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งประทานปัจจัยยังชีพให้กับมนุษย์และความสัมพันธ์ของการบริโภคกับสังคมดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล (อนุมัติ) ในตัวอาหารเอง หรือการได้มาของอาหารต้องเป็นการได้มาที่ถูกต้อง โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่หารอมหรือหรือแม้กระทั่งซุบฮาต (คลางแคลงไม่แน่ชัดว่าฮาลาล) 2. คำว่าดีหมายถึงเป็นอาหารที่มีประโยชน์มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ ไม่ใช่อาหารที่มีโทษและอันตรายต่อผู้บริโภคหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโทษต่อคนรอบข้างหรือต่อสังคม ดั่งที่พระเจ้าได้ตรัสมความว่า : “และพระองค์ทรงอนุมัติแต่สิ่งดีๆมีประโยชน์แก่พวกเขาและห้ามสิ่งที่สกปรกโสโครกต่างๆเหนือพวกเขา” (อัลอะรอฟ โองการที่ 157) และพระเจ้าได้ตรัสความว่า : "พวกเขาจะถามเจ้า (โอ้มูฮัมหมัด) ว่ามีสิ่งใดบ้าง ที่อนุมัติให้แก่พวกเขา เจ้าจงตอบว่าที่อนุมัติแก่พวกท่านนั่นได้แก่สิ่งดีๆ (ที่มีประโยชน์)" อัลมาอีดะอ โองการที่ 4 ท่านศาสดามุฮัมมัดได้วัจนะความว่า: "หะลาลคือสิ่งที่อัลลอฮได้อนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ และหารอมคือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามไว้ในคัมภีร์ของพระองค์" บันทึกโดยอิมามอัตตัรมีซีย์และอิบนุมาญะฮฺ อัลลอฮตรัสวมีความว่า: "พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือ อัลลอฮได้ทรงประทานลงมาซึ่งเครื่องยังชีพสำหรับพวกเจ้า แล้วพวกเจ้ากลับทำบางส่วนของมันเป็นหาลาลและบางส่วนเป็นหะรอม(ไม่เห็นที่อนุมัติ) " (ยูนุส โองการที่ 59) ข้อควรรำลึกเกี่ยวอาหารที่พระเจ้าประทานให้ 1. อาหารหรือปัจจัยยังชีพเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้ ฉะนั้นทุกครั้งที่บริโภคหรือได้รับปัจจัยยังชีพสิ่งที่พึ่งกระทำคือระลึกถึงพระคุณต่ออัลลอฮ(พระเจ้า)และขอพรให้เกิดความจำเริญในอาหารนั้น ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า : “ ใครก็ตามที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ แน่แท้อัลลอฮจะให้ทางออกแก่เขา และประทานยังชีพโดยที่เขาไม่สามารถประมาณได้” และอัลลอฮฺได้ตรัสอีกความว่า : “ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮ์เถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ ” (อัลบากอเราะห์ โองการที่ 172) ท่านศาสดาได้วัจนะไว้ความว่า : “ผู้ใดที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานอาหารใดๆให้แก่เขา เขาจึงกล่าวขอพรว่าโอ้อัลลอฮฺโปรดประทารความจำเริญในอาหารนี้ด้วยเถิดและโปรดประทาน (อาหาร) ที่ดีกว่านี้แก่เรา” ( บันทึกโดยอิมาม อาบูดาวุดและอัตตัรมีซีย์ ) ในรายงานอื่นท่านศาสดาได้วัจนะความว่า (ผู้บริโภคที่รู้คุณ อัลลอฮฺจะให้ผลบุญเสมือนผู้ที่ถือศีลอดที่อดทน) 2. บริโภคแต่พอควร ไม่ควรบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย อัลลอฮได้ตรัสในอัลกุรอ่าน ความว่า: "และเจ้าจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงบรรดาผู้ฟุ่มเฟือยนั้น เป็นพวกพ้องของมารซาตาน และมารซาตานนั้นเป็นผู้ทรยศต่อผู้อภิบาลของมัน" (อัลอิซรอฮฺ โองการที่ 26-27) อัลลอฮฺได้ตรัสอีก ความว่า: "และสู่เจ้าจงกิน จงดื่มและจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบผู้ที่ฟุ่มเฟือย" (อัลอะรอฟโองการที่ 31) ท่านศาสดาวัจนะอีกความว่า: "ไม่มีภาชนะใดที่มนุษย์บรรจุจนเต็ม จะเลวร้ายไปกว่าท้องของเขาเป็นการพอเพียงสำหรับเขาซึ่งอาหารไม่กี่คำที่ทำให้ครองร่างอยู่ได้ หากจำเป็นมากกว่านั้นก็ให้กินแต่หนึ่งส่วนในสามส่วนของกระเพาะ อีกหนึ่งส่วนไว้สำหรับดื่มน้ำและเอาหนึ่งส่วนว่างไว้สำหรับหายใจ" บันทึกโดยอิมามอัตตีรมีซีย์ อะฮหมัดและอิบนุหิบบาน ท่านศาสดาวัจนะอีกความว่า: "อาหารที่รับประทานสองคน พอเพียงที่จะทำการรับประทาน 3 คน และอาหารที่รับประทาน 3 คนพอเพียงที่จะทำการรับประทาน 4 คน" บันทึกโดย อิมามบุคอรีย์และมุสลิม 2. การออกกำลังกาย อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาวะ ถึงแม้เรารับประทานอาหารฮาลาลและดีตามศาสนาได้สั่งใช้แล้ว ยังไม่เพียงเพียงพอ ในปัจจัยนี้เพียงปัจจัยเดียวเพราะร่างกายมนุษย์ต้องการให้เผาผลาญอาหารที่รับประทานด้วยเช่นกัน การออกำลังหรือกีฬานั้นหากเราพิจารณาให้ดีมีอิบาดะห์ (พิธีกรรมทางศาสนา) หลายอย่างที่ต้องใช้แรงกาย เช่น การละหมาด วันละ 5 เวลา การประกอบพิธีฮัจญ์ ท่านศาสดาเองสนับสนุนให้บรรดาสหายหรือศอหาบะฮฺของท่านเล่นกีฬา 4 ประเภทด้วยกัน คือ ขี่ม้า ว่ายน้ำ ยิงธนูและเดิน วิ่งซึ่งการออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างและบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ครั้งหนึ่งมีสาวกท่านหนึ่งได้มาหาท่านศาสดาและได้บอกถึงความอ่อนแอของร่างกายของตนเอง ท่านศาสดาได้แนะนำให้ออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายทั้งหมดนั้นจะต้องอยู่ในกรอบของศาสนา คือต้องปกปิดเอาเราะ (ร่างกายที่พึงสงวนตามศาสนบัญญัติ) หากออกกำลังในที่แจ้ง เช่นเดียวกับการละหมาดและฮัจญ์ที่มีรุก่นและชารัตต่างๆ(กฏระเบียบด้านศาสนบัญญัติ) ซึ่งข้อนี้เป็นข้อควรระวังอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันเพราะมีโครงการของรัฐมากมายสนับสนุนกีฬาในชุมชน วัยรุ่นและแม่บ้านแต่มิได้พิจารณาว่ากิจกรรมดังผิดหลักศาสนาหรือไม่ สรุป สุขภาวะที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ทั้งจิต กายและสังคม ในขณะสุขภาวะด้านจิตเราอาจะบำรุงด้วยพิธีกรรมทางศาสนา ในขณะเดียวกันสุขภาพกายต้องบริโภคอาหารที่ดีและต้องตามศาสนบัญญัตฺในขณะเดียวกันต้องไม่ลืมด้วยการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญอาหารที่รับประทาน เมื่อทุกคนสุขกายสบายใจแน่นอนย่อมส่งผลสู่มิติทางสังคม (social well-being) คือการมีสังคมที่สงบสุข ทั้งครอบครัว ชุมชน ที่ทำงาน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข มีความขัดแย้งน้อยที่สุด หรือ ความสามารถแก้ไขได้อย่างเหมาะสม 3 มิติดังกล่าวนี้แหละจะเป็นตัวกำหนดสุขภาวะของคนในชาติอย่างแท้จริงและยั่งยืน
มุมมองของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับสุขภาวะ ตอนที่ 2 เขียนโดย อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ วันพุธที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙ “...พระเจ้าและศาสดามุฮัมมัดได้ทราบดีถึงโทษภัยของมันดังนั้นพระองค์จึงได้ดำรัสห้าม ในคัมภีร์อัล-กุรอาน...” มุมมองของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับสุขภาวะ ตอนที่ 2 : สุราและสิ่งเสพติดเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ) [email protected] ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน สุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน ปัญหาเรื่องสุราและสิ่งเสพติดหรือยาเสพติด เป็นปัญหาที่หลาย ๆ หน่วยงานให้ความสำคัญในการที่จะขจัดให้หมดไป ดังนั้นความหมายของสิ่งเสพติดจึงมีหลากหลาย อาทิเช่น องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายว่า "สิ่งเสพติด"หมายถึง สารหรือยาที่รับเข้าสู่ร่างกาย จะโดย การกิน ฉีด สูบหรือดม ติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจะทำให้มีผลต่อร่างกาย และจิตใจของผู้รับได้ ส่วนความหมายทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ ฉบับ พ.ศ. 2522 ให้ความหมายไว้ว่า "ยาเสพติด" หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ มีความต้องการเสพอย่างรุนแรง และสุขภาพทรุดโทรมลง รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด ความหมายโดยกระทรวงสาธารณสุข "สิ่งเสพติด" หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุ ใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยการใด ๆ แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกาย จิตใจ จะเห็นได้ว่าแต่ละหน่วยงานได้ให้ความหมายที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น เราอาจสรุปความหมายไว้โดยเป็นความหมายทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับสิ่งเสพติด ดังนี้ "สิ่งเสพติด" หมายถึง สิ่งที่รับเข้าสู่ร่างกาย จะโดยการเสพเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีใดก็ตาม แล้วทำให้ผู้เสพมีความต้องการยานี้มากขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องเพิ่มขนาดยาขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อหยุดใช้ยาก็จะทำให้เกิดอาการของการขาดยา และก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพของผู้เสพ พระเจ้าและศาสดามุฮัมมัดได้ทราบดีถึงโทษภัยของมันดังนั้นพระองค์จึงได้ดำรัสห้าม ในคัมภีร์อัล - กุรอานพระเจ้าได้ดำรัสไว้ความว่า : “บรรดาศรัทธาชนทั้งหลาย สุราการพนัน การเชือดสัตว์ บูชารูปเคารพและการเสี่ยงท้ายด้วยดิ้วเป็นสิ่งโสโครกจากกิจการของซาตาน ดังนั้นพวกท่านจงหลีกให้ไกลมัน แน่นอนพวกท่านจะได้ชัยชนะ” อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 90 และศาสดาได้กล่าวมีใจความว่า : “เครื่องดื่มทุกชนิดที่ทำให้มึนเมาถือว่าเป็นสิ่งฮารอม(สิ่งต้องห้าม)” บันทึกโดยอิมาม อัลบุคอรีย์และมุสลิม ท่านศาสดาได้ให้การอธิบายความหมายคำว่า “al-khamr” ในภาษาอาหรับหมายถึง: “ทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมาคือ “al-khamr” และ ทุก“al-khamr “เป็นสิ่งต้องห้าม” บันทึกโดยอิมาม มุสลิม ท่าน อุมัร อิบนุ อัล – ก็อฏฏอบ (กาหลิบที่2 ในศาสนาอิสลาม) นิยามคำ al-khamr ว่า “คือสิ่งที่ทำให้ความคิดจิตใจสับสน” ด้วยคำนิยามอันนี้ ทำให้เรามีเกณฑ์ตัดสินใจในการที่จะกำหนดว่าอะไรอยู่ข่ายของ al-khamr ประเภทต้องห้าม ดังนั้น จึงไม่เป็นที่สงสัยและคำถามถึงขอบเขตของสิ่งมึนเมาที่ฮารอม(ต้องห้าม) สิ่งใดก็ตามที่ทำให้ความคิดจิตใจสับสนหรือมึนเมา ทำให้ความสามารถทางความคิดเสื่อมเสีย ล้วนเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺและท่านศาสดาทรงห้าม ดังนั้นยาเสพติดเช่น กัญชา โคเคน ฝิ่น และสิ่งอื่นๆในทำนองนี้ถูกจัดไว้ใน al-khamr ที่ต้องห้ามทั้งสิ้น ยาเสพติดดังกล่าวมีผลต่อประสาทความรู้สึกเช่น มองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้เป็นไกลและไกลเป็นใกล้ ก่อให้เกิดภาพหลอน นอกจากนี้แล้วการใช้ยาเสพติดยังเป็นการทำลายความสามารถในการใช้เหตุผลและการตัดสินใจ มีหลายคนหวังใช้ยาดังกล่าวเพียงเพื่อหนีความเป็นจริงภายในความรู้สึกและความจริงภายนอกของชีวิตแต่ความเป็นจริงอาจจะลืมได้เพียงชั่วขณะเท่านั้นในขณะเดียวผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพและสังคมนั้นมากกว่าและใหญ่หลวงนัก เช่น ทำให้ร่างกายเฉื่อยชา ประสาททึบทำให้สุขภาพโดยทั่วไปเสื่อมโทรม ความสำนึกทางคุณธรรมตกต่ำและละทิ้งความรับผิดชอบในที่สุดการใช้ยาเสพติดก็จะทำให้บุคคลเป็นสมาชิกที่เป็นโรคของสังคม ยิ่งกว่านั้น การติดยาเสพติด ยังอาจมีผลทำให้ครอบครัวแตกแยกหรือแม้แต่ก่ออาชญากรรมอีกด้วย ทั้งผู้เสพมีความต้องการใช้เงินจำนวนมากมาซื้อยาเสพติด ซึ่งต้องใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายเพื่อให้ได้เงินมาทุกอย่าง ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นปัจจัยทำให้สังคมเกิดปัญหาและทำให้สังคมอ่อนแอ ตามทัศนะอิสลามถือว่า ชีวิต สุขภาพ ทรัพย์สิน และทุกสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานแก่มนุษย์นั้นเป็นอมานะฮฺตามหลักศาสนา (ได้รับมอบหมาย) ให้ดูแลสิ่งดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องรักษา และไม่ได้รับอนุญาตให้บั่นทอนสิ่งที่พระเจ้ากรุณาประทานให้กับมนุษย์ อัลลอฮฺได้ดำรัสความว่า : “และสูเจ้า อย่าฆ่าตัวเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อสูเจ้าเสมอ” อันนีซาอฺ โองการ 29 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงกล่าวอีก ความว่า : “และจงอย่าเอาตัวเองเข้าสู่ความพินาศโดยน้ำมือของสูเจ้าเอง” อัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 195 และท่านศาสดาได้กล่าวความว่า : “จงอย่าทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นๆ” บันทึกโดยอิมาม อะหมัดและอิบนุมาญาฮฺ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ค้าเช่นกันและอาจจะมีบทลงโทษที่มากกว่าในโลกหน้าอันเนื่องมาจากเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดในสังคมและประเทศชาติรวมทั้งสังคมโลก ดังนั้นจงรณรงค์ให้ทุกคนในสังคม (ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ อายุต่ำหรือมากกว่า 18 ปี) ปราศจากสุราและสิ่งเสพติดทุกชนิดเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของชุมชนและประเทศชาติ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท