ระบบสื่อสารในการศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกลแบบสื่อทางเดียวกับแบบสื่อสองทาง

ระบบการสื่อสารในการศึกษาทางไกล

     ระบบการศึกษาทางไกลเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน  จึงทำให้การสอนจำเป็นต้องใช้ระบบการสื่อสารและอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ มาช่วยเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน  ระบบการสื่อสารในการศึกษาทางไกลมี  2 ระบบ ได้แก่

     1. การศึกษาทางไกลแบบสื่อสารทางเดียว
         
เป็นการสื่อสารที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่มีการโต้ตอบกันทันที แต่สามารถสื่อสารกันได้ในภายหลัง ด้วยไปรษณีย์ หรือโทรสาร  โดยแพร่สัญญาณด้วยวิทยุ  โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ต         

          วิทยุ
         
เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำการแพร่สัญญาณทางอากาศด้วยความถี่คลื่นวิทยุ AM และ FM  จากเครื่องส่งมายังเครื่องรับ  เมื่อนำวิทยุมาใช้ในการศึกษาทางไกลจึงเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว เนื่องจากผู้เรียนจะได้ยินเพียงเสียงผู้สอนเท่านั้น โดยผู้สอนไม่สามารถรู้ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เรียนได้ โดยผู้เรียนจะตอบสนองด้วยการส่งการบ้าน หรือเขียนจดหมาย
ในบางดปรแกรมการเรียนอาจมีการให้หมายเลขโทรศัพท์กับผู้เรียนเพื่อให้สามารถโทรศัพท์ไปถามปัญหาในการเรียนได้

          โทรทัศน์
         
เป็นการแพร่สัญญาณจากผู้สอนไปยังผู้เรียนตามสถานที่ต่าง ๆ โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การส่งสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโดยตรง  การส่งโดยใช้คลื่นไมโครโฟน  สัญญาณผ่านดาวเทียม และระบบเคเบิลทีวี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการใช้สื่อเสริม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

          คอมพิวเตอร์
         
เป็นการใช้ในลักษณะการสอนใช้เว็บเป็นฐานผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บในอินเตอร์เน็ตในลักษณะ "มหาวิทยาลัยเสมือน" โดยผู้เรียนต้องสมัครเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน เมื่อลงทะเบียนแล้วผู้เรียนก็จะได้หมายเลขบัญชีผู้ใช้ และชื่อผู้ใช้  เพื่อต่อเข้าเครื่องบริการของสถาบันนั้น  การเรียนแบบนี้ต้องลงบันทึกเข้า (Login) เพื่อติดต่อกับผู้สอน  ผู้สอนจะจัดให้มีการเรียนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตร  โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปอ่านในเว็บเพจและทำการค้นคว้าหาความรู้จากเว็บอื่น ๆ ได้  หากมีปัญหา หรือจะส่งการบ้านก็ส่งทาง e-mail ไปยังผู้สอน

       2. การศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง
          
เป็นการศึกษาที่ผู้สอนกับผู้เรียน มีการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างกันเกิดขึ้นทันที  การสอนเป็นการสอนสดผ่านเครือข่าย โดยมีการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนในทุกรูปแบบ ทำให้ผู้สอนสามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้   แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

          ลักษณะการเชื่อมต่อในการสื่อสาร
         
การศึกษาทางไกลทั้งรูปแบบการประชุมทางไกลและห้องเรียนเสมือน จะมีการเชื่อมต่อการสื่อสาร 2 ลักษณะ คือ

          1.แบบจุดต่อจุด (point to point) เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดที่ผู้เรียนนั่งรวมกันอยู่ภายในห้องเดียว
          2.แบบจุดต่อหลายจุด (point to multipoint)  เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดผู้เรียนนั่งรวมกันอยู่หลายจุด

           การประชุมทางไกล  (Teleconference)
          
ระบบการประชุมทางไกลเป็นวิธีการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือเป็นกลุ่ม ซึ่งอยู่ในสถานที่ต่างกัน  สามารถติดต่อกันในระหว่างเรียน  อภิปราย  หรือการประชุมร่วมกัน โดยอาศัยอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการประชุม
           ในระบบการประชุมทางไกลนั้น สายโทรศัพท์สามารถนำเสียงผู้พูดไปยังจุดหมายปลายทางที่มีผู้รับฟังได้ไกล หรือถ้าหากเป็นการส่งในระยะที่ไกลมากก็จะส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแทนสายโทรศัพท์
          
รูปแบบของการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษาทางไกล
          
           1. การประชุมทางไกลด้วยเสียง  (Audio teleconference) 
เป็นการเรียนการสอนที่พูดคุยติดต่อกันด้ววยเสียงแต่ไม่เห็นหน้ากัน  การติดต่อต้องอาศัยระบบสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนแบบนี้ต้องมีการเตรียมเอกสารส่งไปล่วงหน้าก่อน เพื่อให้ผู้ฟังใช้ดูประกอบเสียงด้วย  เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
           
           2. การประชุมทางไกลด้วยเสียง / กราฟิก (Audiographics teleconference)   โดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ในการติดต่อเป็นการผสมผสานกันเพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและภาพกราฟิกร่วมกับเสียงในการสอน  ข้อมูลที่รับจะปรากฏบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเสียงและสามารถติดต่อกันโดยใช้โทรศัพท์เพื่อการสนทนา  จึงเรียกการประชุมแบบนี้ว่า "การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์"
           
           3. การประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์  (Vedio teleconference) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยกล้องวิดีทัศน์  จอโทรทัศน์ และสายโทรศัพท์ในการรับส่งภาพและเสียง  โดยทางผู้ส่งต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และกล้องวิดีทัศน์จับภาพเพื่อส่งภาพให้ปรากฏบนจอมอนิเตอร์ของผู้รับ  ฝ่ายผู้รับอาจจะมีกล้องวิดีทัศน์ในการจับภาพส่งกลับไป และสามารถฟังเสียงโต้ตอบกันโดยผ่านไมโครโฟนและลำโพง  โดยสามารถใช้ได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการเสนอทั้งภาพและเสียงของผู้สอนกับกลุ่มผู้เรียนเพื่อให้มีการโต้ตอบกันในทันทีในลักษณะ ภาพสองทาง เสียงสองทาง  และในรูปแบบของการเสนอภาพของประธานหรือผู้สอนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยกลุ่มผู้เรียนสามารถตอบสนองเพียงเสียงของตนเท่านั้น ในลักษณะ ภาพทางเดียว เสียงสองทาง ในรูปแบบหลังจะประหยัดกว่า

            ห้องเรียนเสมือน  (Virtual Classroom)
           
เป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ สามารถนั่งเรียนในห้องเรียนได้พร้อมกัน เสมือนเรียนในห้องเรียนจริงที่มีผู้สอนในขณะนั้น โดยผู้สอนจะใช้คอมพิวเตอร์ในการสอนผ่านระบบเครือข่ายไปยังผู้เรียนซึ่งเรียนจากคอมพิวเตอร์ เช่นกันและมีการโต้ตอบกันทันทีระหว่างเรียน  อุปกรณ์ในการสอนประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม เครื่องบริการแฟ้ม  และซอฟต์แวร์เนื้อหาบทเรียน  ฝ่ายผู้เรียนจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโมเด็มเช่นกัน  ด้วยรูปแบบและลักษณะการสอนดังกล่าว จึงมีผูให้สมญานามว่า
"ห้องเรียนดิจิตอล" การเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนที่ได้ผลดีควรมีการใช้ระบบการประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์ร่วมด้วย  เพื่อสามารถรับและส่งภาพและเสียงของผู้สอนได้ 
      
              

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3975เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พภะพเพเพเพควย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท