ศึกษาศาสตร์อิสลาม : คณะศึกษาศาสตร์ มอย.


วันสองวันนี้มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สถานศึกษามุสลิมที่วางอยู่บนพื้นฐานอิสลามแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย กำลังก้าวไปเกี่ยวกับการศึกษาอีกก้าวหนึ่ง นั้นคือ การก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์อย่างเป็นทางการ

จริงๆแล้วคณะศึกษาศาสตร์นี้โดยทางปฎิบัติแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ของมุสลิม เพราะโดยพื้นเพหลักของนักการศึกษาอิสลามในภาคใต้เรารวมถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย การเรียนการสอนอิสลามจะเน้นที่การเป็นครู หรือผู้อบรมเลี้ยดูเด็กให้เป็นคนดีของสังคมตามที่อิสลามต้องการ

ท่านอธิการบดี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้คุยกับพวกเราว่า งานหลักจริงๆของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คือการช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่คนในพืนที่ โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม... ก็ตามที่เราทราบกันดีว่าการศึกษาในเขตตอนล่างสุดของประเทศไทยอยู่ในลำดับท้ายๆของประเทศไทย .. เรามีวิทยาลัยครูที่ยะลา เรามีคณะศึกษาศาสตร์ที่ มอ.ปัตตานี แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก.. ปัญหาไม่ได้ทุเลาลง หรือบางทีอาจจะหนักกว่าเดิม และข้อสันนิฐานหนึ่งของหลายๆคน ทำนองว่าการศึกษาที่ไปได้ไม่ดีนั้นอันเนื่องมาจากการปฎิเสธระบบการศึกษาที่ไม่มีศาสนาอิสลามที่เป็นแนวปฎิบัติของคนในพื้นที่ไปเกี่ยวข้อง ดังนั้น..เราในฐานะมหาวิทยาลัยอิสลาม มีมุสลิมเป็นเจ้าของ กิจกรรมทุกอย่างวางอยู่บนความศรัทธาที่มั่นคง ทุกรายวิชาที่สอนวางบนรากฐานอิสลามที่สมบูรณ์ จึงนับเป็นภาระหนึ่งของเราที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของภาคใต้ให้สูงยิ่งขึ้นและสามารถตอบสนองทั้งความต้องการของชุมชนและชาติบ้านเมือง


(ประชุมกรรมการจัดตั้งคณะครั้งล่าสุด)

 

ผมได้คุยกับหัวหน้าสาขาวิชาการสอนวิชาชีพครูว่า ตำแหน่งเราไม่ใช่ย่อยเพราะเรามีฐานะเช่นเดียวกับท่านศาสนฑูตมุฮำมัด(ศ็อลฯ) เพราะท่านได้กล่าวว่า

  

 إِنَّمَا بُعِثْتُ مُعَلِّمًا

 "แท้จริงฉันถูกส่งมาให้เป็นครู(มุอัลลิม)"

  

ฉะนั้นในการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์เพื่อผลิตครู นั้นหมายความว่าเราจะผลิตคนที่รับหน้าที่เช่นเดียวกับหน้าที่ของนบี(ศ็อลฯ) ผมบอกท่านว่าปรัชญาของเราก็ไม่ควรจะออกจากความหมายของหะดีษนี

 ครั้งเมื่อเราพิจารณาปรัชญาของคณะ ก็มีการพูดคุยในเรืองนี้ หลายคนไม่เห็นด้วยถ้าจะใช้ประโยคนี้

  1. ประโยคลักษณะนี้จะถือเป็นปรัชญาไม่ได้ ต้องเพิ่มอะไรเพื่อให้มีความหมายเป็นปรัชญา
  2. หะดีษที่กล่าวมานี้ไม่ใช่หะดีษเศาะหีหฺ(อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือ และนำไปเป็นแบบอย่าง) แต่เป็นหะดีษเฎาะอีฟ(ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับอ่อน บางคนว่าไม่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง บางคนว่าดีกว่าการเทียบเคียง-กิยาซ- บางคนว่านำไปปฏิบัติได้แต่มีข้อแม้)

เมื่อผมเป็นคนริเริ่มนำเสนอหะดีษนี้ (จริงๆหะดีษนี้ผมเอาจากคำพูดที่อธิการอ้างถึงในวันปฐมนิเทศนักศึกษา ป.บัฒฑิตวิชาชีพครู เมื่อปี 51) ผมก็จำเป็นต้องให้ความกระจ่างในความน่าเชื่อถือของหะดีษนี้  

คนที่ทักคนแรกว่าไม่ใช่หะดีษเศาะหีหฺคือรองอธิการฝ่ายวิชาการ ผมก็ยืนยันกับท่านว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟจริง แต่มีหะดีษอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เศาะหีหฺ ที่บันทึกโดยมุสลิม 

หะดีษ "إنما بعثت معلما" นี้ บันทึกโดยอัดดาริมีย์ อัลบานีบอกว่าหะดีษนี้เฎาะอีฟ เพราะสายรายงานที่ชื่อว่า อับดุรเราะฮฺมาน อิบนุซิยาด และอิบนุรอฟิอฺ ทั้งสองคนนี้ระดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำ (ดูใน سلسلة الأحاديث الضعيفة 1/66) เช่นกัน อัลอิรอกีก็กล่าวว่าว่า "สายรายงานเฎาะอีฟ" (ดูใน 11/1 تخريج الاحياء) 

 ส่วนหะดีษที่บันทึกโดยมุสลิม ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ท่านเราะซูลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า

 

إِنَّ اللَّهَ لَمْ يَبْعَثْنِي مُعَنِّتًا وَلَا مُتَعَنِّتًا

وَلَكِنْ بَعَثَنِي مُعَلِّمًا مُيَسِّرًا

"แท้จริงอัลลอฮฺไม่ได้ส่งฉันมาเพื่อความยุ่งยากและสร้างความหนักหนวง แต่ส่งฉันมาเพื่อเป็นครูสร้างความง่ายดาย" 

 

(บันทึกโดยมุสลิม ในเรื่องการหย่าร้าง)

หมายเลขบันทึก: 397494เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจในการขับเคลื่อน สานฝันตามอุดมการณ์ที่ถูกต้องครับ

ด้วยสลามและดุอาอฺ

ตอนประชุมเรื่องแผนที่จะเปิดสอนว่า สาขาวิชาอะไรที่จะเปิดสอน พูดไปพูดมาทำให้นึกถึง

Ico32

เพราะสาขาวิชาที่บ้านเรา(สามจังหวัด)ต้องการมากๆ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

แต่สาขาแรกที่เราต้องเปิดเพราะเป็นฐานหลักของเรา คือ อิสลามศึกษา ส่วนสาขาอื่นนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อม  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท