หนังตะลุง ศิลปินพื้นบ้าน สื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร


การแสดงหนังตะลุง เป็นสื่อการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรได้ดี

           ด้วยเป็นคนชอบดูการแสดงหนังตะลุง  ชอบสังเกตุการว่าบท  การใช้เสียงของตัวหนังตะลุง  การแสดงคำพูดตัวหนังแต่ละตัวตามนิสัยของตัวหนัง (ตัวตลกหนังตะลุงคือตัวแทนคนที่เคยมีอยู่จริง ที่มีการพูด ท่าทาง และนิสัยประจำตัวที่แตกต่างกัน) ชอบสังเกตุเปรียบเทียบว่านายหนังพากได้กินรูปแค่ไหน  ส่วนอื่นๆเช่นดนตรี เนื้อเรื่องก็ดูว่าดำเนินเรื่องได้อย่างไร 

           และสังเกตุคนหน้าโรงหนัง เห็นว่าเป็นคนที่มีอายุ กลางคน คนแก่ หรือคนวัยทำงานส่วนใหญ่  และสิ่งสำคัญที่สนใจมากๆคือ หากหนังไปแสดงนอกเมือง คนดูหนังก็จะเป็นเกษตรกร เป็นผู้จัดการให้เกิดผลผลิตทางด้านการเกษตร  และคิดว่าเป็นประเด็นที่จะพูดถึงในบล็อคนี้

          การแสดงหนังตะลุง เป็นศิลปะพื้นบ้านที่สามารถดึงความรู้สึกของคนดูให้คิดว่าตัวหนังตะลุงคือ การดำเนินชีวิตของคนปกติ  คิดว่าตัวหนังมีชีวิต  ดังนั้น การแสดงหนังตะลุงจึงสามารถเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรได้อย่างดี

 

 

          จอหนังตะลุง ด้านล่าง จะมีพื้นที่สำหรับประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี เพราะทุกคนจะต้องมองไปยังจอหนังตลอดการแสดง

          บทปรายหน้าบทหนังตะลุง หลังจากกาดครู หรือขอบคุณเจ้าภาพ แล้วอาจสอดแทรกเนื้อหาที่จะสื่อไปได้

          บทเจรจา สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ โดยเฉพาะตัวตลกต่างๆ เพราะพูดได้ทุกเรื่อง  และเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย

          ปัจจุบันมีนโยบายในการส่งเสริมการเกษตรที่ต้องการให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปเข้าใจและปฏิบัติหลายโครงการ เช่น การเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง  การปลูกพืชแบบปลอดภัยจากสารพิษ  การประกันรายได้ ฯลฯ

         ฉะนั้น  หากมีโอกาสให้นายหน้งตะลุงเป็นสื่อ หรือประชาสัมพันธ์งาน ก็น่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยเป็นสื่อให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอีกทางนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 397492เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีครับจะได้รู้เรื่องราวทางใต้บ้าง เรื่องราวของท้องถิ่นก็น่ารู้ครับ วิถีชีวิตก็ดี

อันนี้นำมาฝาก http://gotoknow.org/blog/ruamrosbotkawi/363844

  • สวัสดีครับพี่ เมืองตะลุง
  • เยี่ยมมากเลยครับพี่
  • เป็นการประยุกต์ใช้สื่อที่อยู่ในวิถีชีวิต
  • อย่าลืมนำสิ่งดีๆ มาบอกเล่า..แบ่งปันกันต่อไปนะครับ

สวัสดีครับท่านเกษตร นายหนังพากพ์กินรูป เข้าโหม่ง น่าฟัง นอกจากนั้นสมัยก่อนเวลาแข่งขันนายหนังยังเฆี่ยนรูปด้วย เป็นศิลป์ในการนำชัย

มาชวนท่านเก๖รไปฟังหนังมุน แข่งกับหนังแล้ว เสียงทอง ที่วัดดอนหลา ควนหนุนที่นี้ครับท่าน

http://gotoknow.org/blog/bangheem/398645

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท