National Institute for Child and Family Development : ข้อเสนอจากพื้นที่ภาคเหนือ เตรียมจัดเวทีสมัชชาผู้บริโภคสื่อภาคเหนือ


เบื้องต้นได้แนวคิดในด้านเป้าหมายของการทำงาน คือ การประเมินสถานการณ์เชิงลบและเชิงบวกของเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กภาคเหนือ และ เตรียมความพร้อมในการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึง การผลักดันข้อเสนอไปสู่นโยบายสาธารณะผ่านกลไกรัฐที่มีอยู่

         ได้รับการประสานงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กภาคเหนือ ในการมาเล่าเรื่องความรู้ในชุดกฎหมายด้านสื่อเพื่อเด็ก เราเริ่มจัดกระบวนการใน ๒ ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการให้เครือข่ายได้เขียนคำถามที่อยากรู้และเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานว่าอยากรู้ประเด็นไหน เพื่อที่จะมาดูกันว่า มีข้อกฎหมายรองรับหรือไม่ และ คำถามที่สอง คำถามที่อยากรู้ในประเด็นอื่นๆที่เป็นปัญหาในพื้นที่ จะได้แลกเปลี่ยนกันถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หลังจากที่ได้เขียนคำถามที่อยากรู้คำตอบ พบว่ามีข้อคำถามใน ๔ ชุด คือ  (๑) เรื่องการจัดการพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเรื่องร้านเกมคาเฟ่ (๒) การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคสื่อ (๓) การส่งเสริมสิทธิในการบริโภคสื่อ และ (๔) การจัดระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

โดยในแต่ละชุดคำถามจะมีประเด็นปัญหาย่อย กล่าวคือ

      ในประเด็นเรื่องของการจัดการพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน มีการตั้งคำถามถึง ร้านเกมคาเฟ่ ซึ่งมีประเด็นหลักๆสำคัญอยู่ ๓ สถานการณ์คือ การให้เด็กเข้าใช้บริการในช่วงเวลาที่กฎหมายไม่อนุญาต การมีเนื้อหาสื่อลามกในร้านเกมคาเฟ่ การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกับดูแล และ ส่งเสริมร้านเกมคาเฟ่ ทำให้กลไกในการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ

     ในประเด็นของการคุ้มครองตามสิทธิของผู้บริโภคสื่อ พบสถานการณ์สำคัญใน ๕ สถานการณ์ คือ (๑)สถานการณ์ด้านการละเมิดสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะกรณีของโฆษณาแฝง (๒) สถานการณ์ด้านการส่งต่อภาพหรือข้อความลามก ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ภาพหรือเนื้อหารุนแรง หยาบคาย ผ่านทางระบบมือถือ (๓) สถานการณ์ด้านการบังคับใช้กฎหมายการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ ซึ่งเป็นการไม่เคารพสิทธิในการคุ้มครองการเข้าถึงสื่อตามช่วงวัย (๔) การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยมักจะมีข้อความสั้นหรือโทรศัพท์ขายของ (Telemarketing) (๕) การนำเสนอภาพ ข้อความ เนื้อหาข้อมูลของเด็กผ่านสื่อสาธารณะและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของเด็ก เช่น การเปิดเผยข้อมูลเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

         ในส่วนประเด็นสุดท้ายที่เครือข่ายให้ความสนใจคือ ปัญหาด้านการโครงสร้างในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งในกฎหมายในระยะการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องสื่อในฐานะสมบัติร่วมกันของสาธารณะ ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการ คำถามสำคัญ ๒ คำถาม คือ จะทำอย่างไรให้เกิดองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ และ การจัดโครงสร้างในการบริหารจัดการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

        ในแง่ของข้อเสนอในการทำงานระยะที่สองต่อจากนี้ เป็นการระดมความเห็นจากเครือข่ายถึงเป้าหมายในการทำงานและวิธีการในการทำงาน เบื้องต้นได้แนวคิดในด้านเป้าหมายของการทำงาน คือ การประเมินสถานการณ์เชิงลบและเชิงบวกของเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กภาคเหนือ และ เตรียมความพร้อมในการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึง การผลักดันข้อเสนอไปสู่นโยบายสาธารณะผ่านกลไกรัฐที่มีอยู่

        เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ได้มีการหารือเบื้องต้นถึงแนวทางด้านวิธีการในการทำงาน โดยจะมีการจัดกระบวนการจาก (๑) จัดเวทีย่อยในรายประเด็นเพื่อหาข้อสรุปทั้งในแง่สถานการณ์เร่งด่วนเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย เพื่อเสนอต่อ คณะอนุกรรมการบูรณาการกฎหมาย นโยบายสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ที่มีครูหยุยเป็นประธาน (๒) จัดสมัชชาผู้บริโภคสื่อภาคเหนือ และ เชิญคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ และ กรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นมารับข้อเสนอจากเวทีสมัชชาภาคเหนือ ซึ่งคาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายนนี้

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนใจร่วมขบวนทัพไหมหนอ......

หมายเลขบันทึก: 396757เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2010 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.โก๋ ยังหาเวลามาถ่ายทอดได้อีก จัดเวลาดีมากครับ เป็นประโยชน์ ขอชื่นชม

ในเวทีเครือข่ายภาคเหนือ เราพูดถึงการเสนอประเด็นในการประเมินสถานการณ์ ๕ สถานการณ์เด่นอันเป็นปัญหา และ สถานการณ์เชิงบวกครับ จะจัดเดือนพฤศจิกายน เดี๋ยวจะหาวันนัดทางคณะอนุกรรมการบูรณาการกฎหมาย กันอีกรอบ ทางเครือข่ายตั้งใจชวนทางครูหยุย และ อ.แหววมา และทางอนุกรรมการ มารับฟังด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท