ครอบครัวอบอุ่นบ้านหนองจูด


ครอบครัวอบอุ่นด้วยธรรมะ

     วันที่ 13-14 กันยายน 2553 มีคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองจากโรงเรียนบ้านหนองจูด อ.ลำทับ  จ.กระบี่ จำนวน 41 คน ได้มาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ให้มีความเหนียวแน่นกันดังเดิม ดังที่เรียกกันว่า "บวร" ทั้งสามองค์กรยังมีหน้าที่ในการรับภาระในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้เยาวชนอันเป็นสมาชิกในสังคม ให้เยาวชนได้เติบโตขึ้นมาอย่างเป็นคนที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม นำชีวิต
      คำว่า "บวร" เกิดจากการนำอักษรสามตัวมาเรียงต่อกันจนเกิดเป็นคำที่มีความหมาย ตามแนวพระราชดำริอักษรทั้งสามตัวล้วนมีความหมายในตัวเอง เป็นความหมายที่ผูกพันและคุ้นเคยตลอดมา เริ่มจาก บ.ใบไม้ แทนความหมายด้วยคำว่า บ้าน ซึ่งบ้านคือที่พักอาศัยหรือครอบครัวก็ได้ บ้านให้ความรักความอบอุ่นผูกพัน แม้จะเป็นหน่วยหรือสถาบันเล็กที่สุดในโครงสร้างของสังคม แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมใหญ่ ๆ เป็นฟันเฟืองชิ้นเล็กที่มีความหมายสำคัญมาก
      ว.แหวน แทนความหมายด้วยคำว่า วัด วัดเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางจิตใจของคนไทยมาแต่ครั้งอดีตเป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อบรมสั่งสอนคนในชุมชนรอบ ๆ วัดให้ประพฤติถูกทำนองคลองธรรม วัดนอกจากจะเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์แล้ว สำหรับชาวบ้านยังเป็นสถานที่ให้คนในชุมชนพบปะกัน ใครเดือดเนื้อร้อนใจก็มาปรึกษากัน กลับจากวัดก็ได้คำสอนดี ๆ กลับไปมากมาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นอิสลาม คริสต์ ล้วนมีหลักคำสอนให้ผู้คนประพฤติและปฏิบัติดี โดยนัย ว.แหวนจึงหมายรวมถึงศาสนาต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่แผ่นดินไทย
      ร.เรือ แทนความหมายด้วยคำว่า โรงเรียน โรงเรียนคือสถานที่ที่ให้ความรู้อย่างมีแบบแผน สำหรับเยาวชนซึ่งจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ภาระของโรงเรียนอาจดูหนักอยู่บ้างในปัจจุบัน เนื่องจากโรงเรียนต้องดูแลเหล่าลูกศิษย์เหมือนลูกหลานของตน นอกจากนี้โรงเรียนจะต้องให้ความรู้ทางวิชาการอย่างเต็มที่รวมถึงทำให้ศิษย์เป็นคนดีแก่สังคม จากคำจำกัดความและความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากคำว่า "บวร" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นซึ่งหากให้ความสำคัญกับสามสิ่งนี้ดังที่พระองค์ทรงมองสังคมไทยที่ประเสริฐดีเลิศ ในความหมายของคำว่า "บวร" ก็จะบังเกิดขึ้น
      การทำให้ "บวร" ประสานกันอย่างลงตัวไม่ได้เป็นเรื่องยากหรือต้องลงทุนอะไรมาก เพียงแต่ปัจจุบันลืมมองสังคมไทยที่อบอุ่นแบบอดีต ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ผูกพันกันมานานตั้งแต่สังคมไทยยังไม่มีโรงเรียน วัดต้องรับภาระในการให้ความรู้กับคนในชุมชนควบคู่ไปกับการสอนให้ทำความดี วัดจึงผูกพันกับชุมชนมากกว่าปัจจุบัน ความสัมพันธ์ลักษณะนี้จึงไม่ได้หมายถึงวัดในพระพุทธศาสนาเพียงอย่างเดียว ในชุมชนศาสนาอื่นหากมีที่ประกอบศาสนกิจก็ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจ คอยชี้นำคนในชุมชนให้ทำความดีเช่นเดียวกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก นสพ.เดลินิวส์ 7 ธ.ค.47

1. ดูคลิปวีดีโอเพลงผู้ชนะ (หนองจูด) คลิ๊กเลยครับ

หมายเลขบันทึก: 395034เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2010 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเชิญทุกท่านที่เข้ามาอ่านและเยี่ยมชม ได้เขียนแสดงความคิดเห็นได้นะครับ..ด้วยความยินดีครับ

ขออนุญาตดึงคลิปไปแปะใน facebook ค่ะ

เด็กหนองจูดปายหนายกานหมดนิ.......?????????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท