ข้อสังเกตที่แตกต่างของวิธีการเขียนข้อความใน gotoknow ของ ผอ.บวร และคุณปภังกร


เคยสังเกตบ้างหรือไม่ครับ แล้วเห็นอะไรบ้างหรือไม่

คุณปภังกร จะมีเวลาเขียนบันทึก ถ่ายทอดความรู้ออกมาได้เรื่อยๆในบล็อก ความรู้คือพลังของเขา
ผอ.บวร จะไปเขียนข้อคิดเห็นในหลายๆบล็อก ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ซึ่งนายบอนไปเจอที่ท่าน ผอ.บวรไปเขียนทิ้งร่อยรอยไว้ ข้อคิดเห็นหลายชิ้น ดีๆทั้งนั้น ให้มุมมอง ประเด็นน่าคิดที่ดีทีเดียว

แต่เสียดาย ที่ไปอยู่ที่บล็อกอื่นๆ ไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน

คงเป็นเพราะ บทบาทของผู้บริหารด้วยกระมัง ที่การเขียนบันทึกออกมา หากเขียนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหาร ก็อาจจะทำให้คนอื่นมองในแง่ลบได้

หรือคงเพราะ ข้อจำกัดเรื่องเวลา ที่จะต้องรวบรวมสมาธิในการเขียนด้วย

แต่คนที่เขียนบ่อยๆ จะมีทักษะเฉพาะตัว ถ่ายทอดได้เร็วขึ้น อย่างคุณปภังกร

แค่ผู้บริหารก็ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆในรูปของบันทึกออกมาได้เช่นกัน
  คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของชาเขียวโออิชิ กับพ็อตเกตบุคส์  - ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน   "ตัน โออิชิ"  ได้คุณสรกล อดุลยานนท์ และ วทัญญู รณชิตพานิชยกิจ เป็นผู้เรียบเรียง และจัดทำเป็นหนังสือออกมา

จัดทำเมื่อ พ.ศ. 2547

ตอนนี้ ปี 2549 นายบอนไปยืมมานั่งอ่าน

มองกลับมาที่ ผอ.บวร และคุณปภังกร ในตอนนี้ ปี 2549

คุณปภังกร เขียนบันทึกในบล็อกของตัวเอง ได้ประเด็นน่าสนใจกว่าไปเขียนข้อคิดในบล็อกคนอื่น
ผอ.บวร เขียนข้อคิดในบล็อกคนอื่นได้ประเด็นน่าสนใจกว่าที่บันทึกในบล็อกของตัวเอง!!!!

ถ้าในปี 2551 มีหลายคนต้องการอ่านบันทึก  ได้รับมุมมอง ประสบการณ์ของ ผอ.บวร และ คุณปภังกร เมื่อปี 2549  

ความรู้ในปี 2549 จะเกิดประโยชน์กับคนที่มานั่งอ่านในปี 2551 ทันที เพราะถูกรวบรวมไว้ในที่เดียวกัน ในบล็อกเดียวกัน

หากในปี 2551 ผอ.บวร ไม่ได้เข้ามาเขียนข้อคิดเห็นในบล็อกต่าง เหมือนในปี 2549 อาจจะเนื่องจาก มีงานมากขึ้น จนไม่มีเวลาเปิด gotoknow อีกเลย

ในปี 2551 จะมีสักกี่คน ที่จะได้อ่านมุมมองที่มีคุณค่าของ ผอ.บวร ที่เขียนไว้ในบันทึกต่างๆในหลายๆบล็อก หากไม่ย้อนมาเปิดอ่านบันทึกเก่าๆ ในปี 2549 อีกหลายๆบันทึก!!!!!


มีคนเคยตั้งคำถามเสมอๆว่า ทำอย่างไร ความรู้ในตัวของเราที่มีในปัจจุบัน  จะมีประโยชน์กับคนอื่นๆในอนาคต...

ข้อสังเกตจากคำถาม ทำไม นายบอนคนธรรมดาคนนี้ เขียนบันทึกธรรมดาๆ หลายๆบันทึกให้หลายคนได้เห็น - อ่าน แล้วบันทึกที่มีประโยชน์มากกว่านี้ จากบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์มากกว่า และมีคุณค่ามากกว่า กลับไม่ได้รับการบันทึกและถ่ายทอดออกมา เหมือนบันทึกธรรมดาๆจากคนธรรมดาๆบ้างเลย ??????



หมายเลขบันทึก: 39471เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เมื่ออ่านบันทึกของคุณบอนแล้ว บอกได้คำเดียวว่า "ใช่เลย" ครับ

บางครั้งเราทำอะไรเยอะ ๆ ก็จะยิ่งมองลึก ๆ ๆ ๆ ลงไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยได้มองภาพกว้างสักเท่าไหร่ "เหมือนกันปลาที่อยู่ในน้ำ" ครับ ผมจะมองไม่เห็นน้ำ

บันทึกของคุณบอนหลาย ๆ ชิ้นที่สกัด บล็อคของหลาย ๆ ท่าน เป็นการให้ผมและทุก ๆ คนที่คุณบอนสกัดออกได้ "ได้มองเห็นตนเอง"

ต้องขอบคุณคุณบอนมาก ๆ ดีใจที่ Gotoknow มีคุณบอน มีคนที่มีศักยภาพในการสกัดแก่นของบล็อคต่าง ๆ เหมือนกับคุณบอน

เนี่ยแหละครับ "พลัง"

คนเรามีความถนัดกันแต่ละอย่างแต่ละด้าน แต่ถ้าหากนำความถนัดของคนแต่ละด้านนั้นมารวมกันและรู้จักให้โอกาสให้พลังในแต่ละด้านแล้ว "คุณค่า" ที่สูงสุด ที่จะเกิดขึ้นครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ


นั่งอ่านข้อคิดเห็นของคุณปภังกร เห็นคำว่า สกัด ตกใจนึกว่า เราไปสกัดดาวรุ่งหรือเปล่าสิครับ
หลายครั้งที่เราตั้งใจทำสิ่งหนึ่งอยู่ เราย่อมต้องมุ่งสมาธิไปที่สิ่งนั้น เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดครับ
เมื่องานนั้นเสร็จแล้ว จึงได้เงยหน้า มองผลงานนั้นด้วยความชื่นชมอีกครั้ง

ผลงานที่ออกมา คนอื่นมักจะมองเห็นหลายมุม และมองในมุมที่เจ้าของผลงานไม่ได้มอง ก็เท่านั้นเองครับ
  งานเขียนหรือเรื่องราวของคุณบอนก็น่าสนใจดีนะค่ะไลยังติดตามอ่านอยู่เรื่อยค่ะ
  • ความแตกต่างเป็นเรื่องของ ธรรมชาติ
  • ผู้ส่งสาร กับ ผู้รับสาร ต่างก็มีอะไร ของตนเองซ่อนอยู่  ที่มีการกล่าวถึงใน UKM7 ที่ผ่านมาเป็นภาษาอังกฤษคือ
  • Encode  VS  Decode
  • ผู้ส่งสาร คิดอะไร? ต้องการบอกอะไร ? ภายใต้ ตัวอักษรที่บันทึกออกมา  ผู้รับสาร จะต้องพยายาม ตีความ หรือ บางครั้ง เรียกกันว่า อ่านสิ่งที่อยู่ระหว่างบรรทัด หรือ ใต้บรรทัด ให้ได้ ซึ่งอาจจะถูก (ตรงกัน) หรือผิด (แตกต่าง) กับ ผู้ส่งสารก็ได้
  • สิ่งที่คุณเห็น  อาจจะไม่ใช่ สิ่งที่คุณคิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท