"คันนากินได้"แถมด้วยความว่างเปล่าของลำห้วย


เปลี่ยนจากดินเป็นกินได้ และปัญหาที่สะท้อนจากชนบท"เมื่อไหร่สายน้ำจะกลับคืนมาสู่ลำห้วยแห่งนี้อีกสักครั้ง"

   จากที่ได้ยิน "ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้" ชาวบูรณาการอย่างพวกเราก็มีเหมือนกัน "ปลูกฟักแฟง แตงไทยบนคันนา ความจนเลิกถามหาทันที" หลังจากที่ได้กลับบ้านตัวเองที่มุกดาหารได้ไปหาหน่อไม้กับหลานสาว บังเอิญไปเห็นแตงไทยที่มีลูกกองอยู่บนพื้นดินมากมายและที่สะดุดตาก็คือเขาปลูกไว้บนคันนาที่เขาปรับทำเป็นคันนาใหญ่ พอเห็นจากตรงนั้นแล้วเราก็มาคิดว่า ถ้าคนเราไม่เกรียจคร้านแล้วเราก็สามารถที่จะมีอยู่มีกินตามอัตภาพของเรา โดยไม่ต้องไปเดือดร้อนคนอื่น

     แต่ทุกวันนี้คนในชนบทเปลี่ยนแปลงไปมากไม่พอเพียงกับวิถีชีวิตของตัวเองและไม่เห็นความสำคัญของท้องถิ่นไม่อนุรักษ์ของดีๆที่ตนเองมีอยู่ ยิ่งได้เห็นสภาพของสายน้ำที่เรียกว่า"ลำห้วย"ที่ชาวบ้านฝากชีวิตไว้ตั้งแต่ ปู่ ย่า ตายาย เพราะเมื่อก่อนตอนเป็นเด็กยังได้ไปหาบน้ำจากบ่อที่อยู่ใกล้ห้วยขึ้นมาใช้ แต่ทุกวันนี้สังคมคนในชนบทเปลี่ยนไป จากที่เคยใช้น้ำบ่อไปใช้น้ำบาดาลที่สูบขึ้นมาเป็นน้ำประปาหมู่บ้าน

      แต่ก่อนยังเที่ยวเล่น ว่ายน้ำเป็นก็เพราะจากลำห้วยแหล่งนี้  แต่วันนี้หาน้ำรดผักที่ปลูกกันตามริมห้วยยังไม่มีเลย     อีกสาเหตุหนึ่งที่สายน้ำหายไปก็คือ การทำลายป่าต้นน้ำ การปลูกไม้ผิดประเภทโดยเฉพาะที่หมู่บ้าน ต้นไม้ที่นำมาปลูกเพื่อทดแทนป่าก็คือ "ต้นยูคาลิปตัส" ซึ่งทุกวันนี้มีปัญหาตามมามากมาย เรื่องนี้ก็โทษใครไม่ได้ เพราะว่าตัวของชาวบ้านเองก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แบบธุระไม่ใช่ และเมื่อไหร่สายน้ำจะกลับมาเหมือนเดิม และจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านหันมาช่วยกันดูแลและไม่ปล่อยให้สายน้ำหายไปทุกวันๆๆ

"หรือว่าจะปล่อยให้สายน้ำแห่งนี้คงเหลือใว้เป็นแค่ตำนาน หรือเป็นเรื่องเล่าเท่านั้นเอง"

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 39455เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องที่น่าคิดมาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณมากครับที่ยกเรื่องนี้มาประเป็นประเด็น

ถ้าอย่างไรท่านใดมีความเชี่ยวชาญความคิดเห็นเรื่องนี้ช่วยแสดงทัศนะด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท