มะลิวรรณ
นางสาว มะลิวรรณ หลิน จันทร์ทอง

มาตรฐานการศึกษาของชาติ


สภาการศึกษาพิจารณากำหนดกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ จากข้อมูลสารสนเทศต่อไปนี้
มาตรฐานการศึกษา 

               สภาการศึกษาพิจารณากำหนดกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ จากข้อมูลสารสนเทศต่อไปนี้ คือ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษา ตามสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 หมวด 5 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 วิสัยทัศน์/ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของไทย คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ สภาพแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก ความคิดเห็นของนักวิชาการและประชาชน และมาตรฐานการศึกษาของชาติของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาต่อยอดและประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย
    มาตรฐานการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประเด็น
          1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ
          2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
          3 การจัดการศึกษา
          4 แนวนำสู่การปฏิบัติ

มาตรฐานที่ 1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อทุกคน และทุกคนเพื่อการศึกษา
ตัวบ่งชี้

1. อุดมการณ์
          - ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดและรับการศึกษาเข้าใจและถือปฏิบัติตามแนวการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม
2. การศึกษาเต็มตามสิทธิ อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
          - คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึง
          - คนไทยส่วนใหญ่รู้ ใช้สิทธิ และได้รับสิทธิในการศึกษาทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
3. หลักการจัดการศึกษาในภาพรวม
          - การจัดการศึกษาทุกระบบ (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย) มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล และสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงกัน
          - ขอบข่ายและปริมาณความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กร และชุมชน เพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งในด้านการจัด การกำกับ สนับสนุน และการตรวจสอบผลการจัดการศึกษา
          - ผลการจัดอันดับคุณภาพระบบการศึกษาของไทย ไม่ด้อยกว่าประเทศที่มีงบประมาณทางการศึกษาใกล้เคียงกัน และอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

มาตรฐานที่ 2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก
คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

ตัวบ่งชี้
1. กำลังกายกำลังใจที่สมบูรณ์
          -คนไทยส่วนใหญ่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและสติปัญญา และด้านจิตใจ เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย
2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคม
          -คนไทยส่วนใหญ่ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
          -คนไทยส่วนใหญ่มีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม
          -ชุมชนหรือสังคมส่วนใหญ่มีการใช้หรือสร้างภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
3. ทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว
          -คนไทยส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลก และปรับตัวได้
4. ทักษะทางสังคม
          -คนไทยส่วนใหญ่มีทักษะและความสามารถ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
5. คุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
          -คนไทยส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต

มาตรฐานที่ 3 การจัดการศึกษา
         การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิด และได้เรียนจากประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ได้เรียนตรงตามความสนใจ และมีความสุขในการเรียน ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคล ครูเตรียมการสอนและสื่อที่ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย ครูจัดบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และการพัฒนาความคิดผู้เรียนเป็นระบบที่สร้างสรรค์) ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านการบริหาร ดังต่อไปนี้
          3.1 ปัจจัยด้านบุคคล ผู้เรียนได้รับการเตรียมให้มีความพร้อมที่จะเรียน ครูเป็นปูชนียบุคคล และเป็นกัลยาณมิตร อุทิศตนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสังคม ผู้บริหารเป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญ ผู้จัดการที่ถ่อมตน และปูชนียบุคคล ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชนมีสำนึก ใส่ใจ และเต็มใจให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมตรวจสอบในการพัฒนาผู้เรียน และการจัดการศึกษา
          3.2 ปัจจัยด้านการบริหาร การบริหารจัดการทั้งในระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีเอกภาพด้านนโยบาย แต่หลากหลายในการปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจลงสู่ระดับสถานศึกษา โดยใช้หลักการบริหารจัดการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นธรรม (good governance) ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 7 ประการ คือ หลักประสิทธิภาพ หลักความคุ้มค่า หลักประสิทธิผล หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักคุณภาพ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักนิติรัฐ/นิติธรรม 
          
ตัวบ่งชี้
1. ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
          - ผู้เรียนทุกกลุ่ม สำนึกคุณค่าการเรียนรู้ สนใจใฝ่เรียนรู้ มีความสุขในการเรียนรู้ และได้เรียนรู้ตรงตามความต้องการของตนเองและชุมชน อย่างเต็มตามศักยภาพ
          - ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ มีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง
          - หน่วยงานที่ให้บริการทางการศึกษามีคุณภาพติดอันดับคุณภาพตามเกณฑ์ระดับนานาชาติ มีสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ และความปลอดภัยตามเกณฑ์
          - มีการพัฒนาสื่อและการให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศทุกรูปแบบเพิ่มขึ้น ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนไทยทุกคน
2. ผลการบริหารที่สถานศึกษาเป็นสำคัญ
          - ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชนส่วนใหญ่มีความเต็มใจ ตั้งใจ มีส่วนร่วมปฏิบัติหน้าที่ของตน ส่งผลให้ผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการการศึกษา
          - ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่ให้บริการการศึกษา ส่วนใหญ่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
          - มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา และหน่วยงาน ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย

มาตรฐานที่ 4 แนวนำสู่การปฏิบัติ

ตัวบ่งชี้
          - มีการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวิถีการเรียนรู้ของคนไทยทุกวิถีทาง
          - มีการวิจัยศึกษาสร้างเสริม และมีการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท
          - มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่เชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาสังคม และเหมาะสมทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
          - มีการจัดตั้ง และกำกับการดำเนินงาน ขององค์กรที่รับผิดชอบประสานงานระหว่างองค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษาทั้งหมด เพื่อพัฒนาปรับปรุง ติดตามกำกับ และประเมินมาตรฐานการศึกษาของชาติ

 
หมายเลขบันทึก: 39347เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท