เปิดบันทึกหน้าแรก


First stage for changing

การได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดกับบุคคลหลากหลายเป็นสิ่งดี ทำให้ได้มุมมองที่เปิดกว้าง ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  เป็นการเปิดโลกทัศน์ไปสู่นอกกรอบ หรือกะลาใบเก่า  ไม่มีใครตัดสินว่าถูกหรือผิด แล้วแต่มุมมอง ขอเพียงเปิดใจมากขึ้นเท่านั้นก็พอ

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3930เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2005 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สำนวนนักเขียน อิอิ

กลับมาแล้ว หลังจากเปิดบันทึกหน้าแรกผ่านไปหลายสัปดาห์ ที่หายไปไม่ได้หายไปไหนนะคะ แต่เป็นเพราะหาทางเข้าไม่เจอ และที่สำคัญจำ username ไม่ได้ ...

เช้านี้ได้มีโอกาสเข้าไปอ่านนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับล่าสุด มีบทความที่น่าสนใจหลายบทความ แต่ด้วยเวลานั่งเวรตอบคำถามครึ่งชั่วโมง ทำให้ได้รับความรู้มา 2 เรื่องจากบทความหนึ่งเขียนเกี่ยวกับ " Seattle Public Library " ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเล่าประสบการณ์จากการดูงานโครงการออกแบบโครงสร้างห้องสมุด คาดว่าอจ ผู้เขียน (ต้องขออภัยอย่างแรงที่จำชื่อผู้เขียนไม่ได้ แต่คิดว่าจะกลับไปสำเนาไว้อ่านอีกครั้ง) เป็นอจ สอนทางด้านสถาปัตยกรรม อ่านแล้วทำให้รู้ว่า ต่างประเทศเขาใส่ใจและให้ความสำคัญกับห้องสมุดแค่ไหน ก่อนจะสร้างห้องสมุดสักแห่ง เขาจะต้องจ้างนักออกแบบที่มีประสบการณ์ และคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานและเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์มีส่วนร่วมในการเลือกแบบและออกความคิดเห็น ห้องสมุดประชาชนที่ Seattle แห่งนี้มีหลายอย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลังคาให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ โดยให้ชั้นบนเป็นที่นั่งอ่านที่รับแสงธรรมชาติ หรือกระทั่งบนพื้นพรมใช้พรมที่ออกแบบให้เป็นตัวอักษรบอกเลขหมวดหมู่คร่าว เป็นระยะๆ ตามแถวของชั้นหนังสือ เพื่อให้คนที่อยู่บน floor ถัดไป สามารถมองเห็นจากด้านบนเมื่อมองลงมาได้ เพื่อที่เดินลงไปสามารถมุ่งไปที่ชั้นหนังสือที่ต้องการได้เลยโดยไม่เสียเวลาค้นหา  เหล่านี้เป็นต้น ...   ส่วนอีกบทความก็เป็นเรื่องที่ไม่ไกลจากห้องสมุดอีกนั่นแหละ เป็นเรื่องที่เขียนเกี่ยวกับ " ลูกหลานเชื้อสายของแฝดอินจันในประเทศไทยยังมีอยู่หรือไม่ " ซึ่งจริงๆผู้เขียนไม่ได้พูดถึงห้องสมุดซักนิด แต่ผู้อ่านกลับนึกถึงห้องสมุด ด้วยเหตุที่ว่า ผู้เขียนบทความซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ ได้เล่าถึงวิธีการสืบเสาะหาบุคคลที่คาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวพัน เป็นญาติกับแฝดบันลือโลกชาวสยาม ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศไทย ... ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดก็คือ นักประวัติศาสตร์ได้ใช้วิธีสืบเสาะตั้งแต่ภาพถ่ายของชาวไทยที่หน้าตาคล้ายคนจีนว่าเป็นใคร เกี่ยวพันอะไรกับแฝดอินจัน จนกระทั่งทราบว่าได้ศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัย Lafayette สหรัฐอเมริกา และไปสืบเสาะตามหาข้อมูลจากห้องสมุด โดยมีบรรณารักษ์ Special collection ช่วยค้นหาข้อมูลจากไมโครฟิล์ม ที่เก็บไว้ให้บริการ... หรือการตามรอยจากข้อความในจดหมายเก่าที่ร่องรอยการเขียนได้จางลงตามกาลเวลา    ความสงสัยข้องใจของผู้เขียน ได้รับการไขปริศนาแต่ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังมีข้อมูลที่ต้องรอการค้นหาต่อไป ....

บางทีการมุ่งให้ห้องสมุดเดินไปข้างหน้า พร้อมกับเทคโนโลยียุคอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายไร้สาย  เราอาจต้องมองย้อนกลับมาที่สื่อเก่าๆ อย่างไมโครฟิล์ม ที่ยังมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเราหลงลืมไปก็ได้.. 

....  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท