สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 29 )


หลักพิจารณาในการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน(ตอนที่2)
6. ชนิดและปริมาณปุ๋ยที่จะใช้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน อายุต้นปาล์ม และโอกาสการให้ผลผลิต หากเป็นไปได้ควรพิจารณาร่วมกับผลการวิเคราะห์ใบซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงราคาปุ๋ยและผลผลิต หากผลผลิตมีราคาดีน่าจะใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น การใส่ปุ๋ยไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการสูญเสียของปุ๋ยได้ถึง 20-40%7. การใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม และโบรอน ให้พิจารณาตามความจำเป็น อาจใส่ทุกปี หรือปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี การใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมต์ (Dolomite) อัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อครั้ง หรือปุ๋ยกลีเซอไรด์ (Kieserite) อัตรา 0.5-1.5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง การใส่ปุ๋ยโบรอนให้ใช้ปุ๋ยโบแรกซ์ (Borax) อัตรา 80-100 กรัม ต่อต้น ต่อครั้ง ในกรณีที่ต้นปาล์มไม่แสดงอาการขาด แสดงว่าต้นปาล์มได้รับธาตุอาหารเหล่านี้จากดินเพียงพอ8. การใส่ปุ๋ยให้พิจารณาถึงคุณสมบัติของดิน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปุ๋ยที่จำหน่ายในท้องตลาดบางชนิดอาจมีธาตุแมกนีเซียมและโบรอนผสมอยู่ จึงไม่จำเป็นต้องใส่เพิ่มอีก ดินทรายหรือดินร่วนทรายต้องการปุ๋ยมากกว่าดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ตามลำดับ9. การใส่ปุ๋ย ในปีแรกแนะนำให้แบ่งใส่ 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปริมาณน้อยไปหามาก ในปีที่ 2, 3 และ 4 หลังจากปลูก ให้แบ่งใส่ปีละ 4 ครั้ง และในปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้แบ่งใส่ปีละ 3 ครั้ง ดินร่วนทราย หรือดินทราย แนะนำให้แบ่งใส่บ่อยครั้งยิ่งดี ไม่ควรต่ำกว่า 4 ครั้ง ต่อปี วางแผนการใส่ปุ๋ยล่วงหน้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล10. การแบ่งใส่ไม่จำเป็นต้องแบ่งใส่ครั้งละเท่าๆ กัน เช่น อาจแบ่งเป็น 40-30-30% เมื่อต้องการใส่ 3 ครั้ง หรือ 30-20-20-30% เมื่อต้องการใส่ 4 ครั้ง ในช่วงเวลาที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ควรใส่ปุ๋ยให้มากขึ้น แต่เมื่อไม่เหมาะสมอาจแบ่งใส่ให้น้อยลง ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสียของปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ผลผลิตสูงสุดได้ หากปัจจัยอื่นที่มีปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น ดิน น้ำ การดูแลรักษา เป็นต้น ปุ๋ยที่ใส่อาจไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหรือรากพืชไม่สามารถดึงดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้เป็นประโยชน์ได้ หากมีข้อสงสัยสำหรับการใส่ปุ๋ย  ควรปรึกษานักวิชาการเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐ  หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเกษตรกรเอง

อ.ประสาทพร  กออวยชัย

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 39187เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท