สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 28 )


หลักพิจารณาในการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน(ตอนที่ 1)
เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์ม ไม่มากหรือน้อยเกินไป ค่าปุ๋ยคิดเป็น 50-60 % ของต้นทุนการผลิต การใส่ปุ๋ยมากเกินไป นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น ยังมีผลเสียต่อต้นปาล์มได้อีกด้วยในการพิจารณาใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน    มีข้อควรรู้ดังนี้1. ปาล์มน้ำมันต้องการปุ๋ยค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K), แมกนีเซียม (Mg) และโบรอน (B) ปุ๋ยอื่นๆ ก็มีความจำเป็น แต่ความต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า2. ในช่วงอายุ 1-2 ปีแรกหลังจากปลูก ต้นปาล์มต้องการปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปุ๋ยโพแทสเซียมและแมกนีเซียม แต่เมื่อเริ่มให้ผลผลิตหรือในปีที่ 2 และ 3 ความต้องการปุ๋ยโพแทสเซียม จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ3. ก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ควรกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาด ดินมีความชื้นเพียงพอ  ไม่แห้งหรือแล้งเกินไป หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อมีฝนตกหนัก ในช่วง 5-6 ปีแรก สามารถใส่ปุ๋ยในบริเวณรอบวงโคนหรือทรงพุ่มใบได้ หลังจากนั้น สามารถหว่านได้ทั่วแปลงเพาะต้นปาล์มที่รากแผ่ขยายอยู่ทั่วไป4. อาการขาดธาตุอาหารของต้นปาล์มสามารถสังเกตได้จากลักษณะใบ เมื่อมีสีเหลืองซีดแสดงว่าขาดปุ๋ยไนโตรเจน ใบมีจุดสีเหลืองส้ม ขาดปุ๋ยโพแทสเซียม ใบล่างมีสีเหลืองออกส้มและเห็นได้ชัดเมื่อถูกแสง ขาดปุ๋ยแมกนีเซียม ปลายใบหยิกย่นหรือเป็นรูปตะขอหรือมีแถบโปร่งแสง ขาดปุ๋ยโบรอน5. ปุ๋ยเคมี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ปุ๋ยชนิดแรกเรียกว่า ปุ๋ยเดี่ยว หรือ แม่ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0), ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (0-3-0), ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-6) และปุ๋ยชนิดที่สองเรียกว่า ปุ๋ยสูตร มีขายอยู่ในตลาดทั่วไป เช่น 18-12-6, 16-16-8, 15-15-15  เป็นต้นผู้ปลูกที่มีสวนจำนวนมาก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย นำมาผสมและแบ่งใส่ด้วยตนเอง  เพราะต้นทุนปุ๋ยจะถูกกว่า สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเดี่ยวสลับหรือร่วมกับปุ๋ยสูตร ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับอายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน คำแนะนำในการใส่ปุ๋ยแบบกว้างๆ มีดังนี้- ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่ใกล้เคียงแทนก็ได้- ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อาจใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตราประมาณครึ่งหนึ่งของที่แนะนำแทน เมื่อปลูกบนดินเหนียว แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับดินร่วนและดินทราย เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การสูญเสียมีมาก

- ดินดีให้ใส่ปุ๋ยในอัตราต่ำ ดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยในอัตราที่สูงกว่า


อ.ประสาทพร กออวยชัย

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 39186เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท