สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 22 )


การคัดทิ้งกล้าปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะผิดปกติในระยะอนุบาลหลัก (2)
ลักษณะกล้าปาล์มน้ำมันที่ผิดปกติในระยะอนุบาลหลัก   ที่จำเป็นต้องคัดทิ้งมีดังนี้

6. ใบย่อยแน่นทึบ   จะปรากฏในใบรูปขนนก  โดยใบย่อยจะอยู่ชิดแน่น   และส่วนมากแผ่นใบย่อยจะกว้างกว่าปกติ   เมื่อนำกล้าปาล์มน้ำมันชนิดนี้ไปปลูกในแปลง   ทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 73 เปอร์เซ็นต์

                7. ใบย่อยห่างกัน  ทำให้ระยะระหว่างใบย่อยบนทางใบแบบขนนกห่างกันมากกว่าปกติ  ทำให้ลักษณะสูงโปร่งกว่าปกติ  อย่างไรก็ตามอาการนี้จะมีลักษณะคล้ายกับต้นปาล์มน้ำมันที่วางถุงชิดกันมากเกินไป  ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันสูงชะลูด  ดังนั้นในการคัดทิ้งกล้าปาล์มน้ำมัน  จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างกล้าปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะใบย่อยห่างกัน  กับกล้าปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะสูงชะลูด

                8. ใบย่อยแคบ   ต้นกล้ามีใบย่อยเรียวแคบ  ใบสีเขียวซีดกว่าต้นปกติและทางใบค่อนข้างทำมุมแคบกับลำต้น  ซึ่งเมื่อนำกล้าปาล์มชนิดนี้ไปปลูกจะให้ผลผลิตต่ำมาก  ประมาณ 9 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

                9. ใบกึ่งกลางขอด   ต้นกล้าแสดงอาการผิดปกติ  เกิดจากการขาดน้ำหรือมีสารเคมีผสมในดินปลูกต้นกล้า  ซึ่งถ้ามีการรักษาที่เหมาะสม  ใบที่เกิดมาใหม่จะเป็นปกติ   แต่ถ้ายังมีอาการอยู่ต้องคัดกล้าทิ้ง

                10. ใบด่าง   ต้นกล้าปาล์มน้ำมันแสดงอาการใบขาวซีด  ซึ่งเป็นอาการของการไม่มีคลอโรฟิลล์  ซึ่งอาการใบขาวซีดนี้เกิดจากลักษณะทางพันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน  ส่วนใหญ่จะแสดงอาการก่อนต้นกล้าอายุ 4 เดือนหลังจากปลูกเมล็ดงอก

อ.ประสาทพร กออวยชัย
คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 39178เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท