การพัฒนาชุมชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


จะต้องพัฒนาสู่ระดับมั่งมี ศรีสุข

ข้าพเจ้าเป็นพัฒนากรรับผิดชอบตำบล จำนวน 3 ตำบล18 หมู่บ้าน ได้ดำเนินการส่งเสริม ให้ทุกหมู่บ้านจัดกิจกรรมตามตัวชี้วัดทุกหมู่บ้าน แต่เนื่องจากการจัดกิจกรรมไม่มีหมู่บ้านต้นแบบในพื้นที่ตำบล จึงได้นำผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านไปศึกษาดูงานตำบลใกล้เคียง กอรปกับจังหวัดอุทัยธานี  มีแนวทางการปฎิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยกำหนดให้แต่ละตำบลมีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ตำบลละ 1 หมู่บ้าน  จึงได้ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน ในระดับตำบลเพื่อพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลละ 1 หมู่บ้าน รวม 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 บ้านฟากคลอง ตำบลหนองแก หมู่ที่ 2 บ้านเนื้อร้อน ตำบลหนองพังค่า หมู่ที่ 4 บ้านฟากคลอง ตำบลหนองเต่า เพื่อให้ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  เครือข่ายองค์กรชุมชนและประชาชนทราบและเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการและแนวทางปฎิบัติ จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชนและประชาชน หมู่บ้านละ 40-50 คน รวม 3 หมู่บ้าน จำนวน 120 คน โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  และระหว่างการอบรมได้มีการคัดเลือกแกนนำของหมู่บ้าน ๆ ละ 6-8 คน  เพื่อไปดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมตามตัวชี้วัด หลักการอบรมจัดให้มีการประชุมแกนนำหมู่บ้านกับหน่วยงานภาคีการพัฒนากำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม  คือ

1.  การแบ่งคุ้มการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  ดังนี้
       หมู่ที่ 4  บ้านฟากคลอง  ตำบลหนองแก จำนวน 6 คุ้ม  และจัดตั้งคณะกรรมการทุกคุ้มๆ ละ 9 คน
       หมู่ที่ 2  บ้านเนื้อร้อน  ตำบลหนองพังค่า จำนวน 4 คุ้ม  และจัดตั้งคณะกรรมการทุกคุ้มๆ ละ 9 คน
       หมู่ที่ 4  บ้านฟากคลอง  ตำบลหนองเต่า จำนวน 3 คุ้ม  และจัดตั้งคณะกรรมการทุกคุ้มๆ ละ 9 คน
2. การกำหนดครัวเรือนตัวอย่าง  ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวนหมู่ละ 5 ครัวเรือน ตามตัวชี้วัด 6 x 2 เป็นตัวอย่างครัวเรือนอื่นๆ
3. การวางแผนปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามตัวชี้วัด 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
4. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติ  ดังนี้
      4.1 ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว  เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารและจำหน่าย
      4.2 ส่งเสริมการปลูกผลไม้  เช่น กล้วย  ฝรั่ง  มะละกอ  จำนวน 3 หมู่
      4.3 ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยอินทรีย์  น้ำส้มควันไม้  จำนวน  3  หมู่บ้าน
      4.4 ส่งเสริมการแปรรูปอาหาร เช่น ทำน้ำพริกต่างๆ ทำนางเล็ด ทำขนมหวาน จำนวน  3 กลุ่ม
      4.5 โครงการจัดทำป้ายคุ้ม  จำนวน  3  หมู่บ้าน  รวม  13  คุ้ม
      4.6 ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนในหมู่บ้านต้นแบบ 3 ศูนย์ โดยใช้ศาลา SML, ศาลากลางบ้าน
      4.7 ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน  โดยใช้หลอดประหยัดไฟ  90  ครัวเรือน
      4.8 ส่งเสริมการจัดระเบียบหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่สวยงาม  น่าอยู่  น่าอาศัย 
5. การประเมินผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  โดยใช้แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการประเมิน
      หมู่ที่ 4 บ้านฟากคลอง  ตำบลหนองแก  ผ่านตัวชี้วัด  จำนวน  21  ตัว อยู่ในระดับอยู่ดี  กินดี
      หมู่ที่ 2 บ้านเนื้อร้อน  ตำบลหนองพังค่า  ผ่านตัวชี้วัด จำนวน  21  ตัว อยู่ในระดับอยู่ดี  กินดี
      หมู่ที่ 4 บ้านฟากคลอง  ตำบลหนองเต่า ผ่านตัวชี้วัด  จำนวน  21  ตัว อยู่ในระดับอยู่ดี  กินดี
      ผลการพัฒนาดังกล่าวยังไม่บรรลุผลตามเกณฑ์การจัดระดับการพัฒนาหมู่บ้าน คือ จะต้องพัฒนาสู่ระดับมั่งมี  ศรีสุข ถึงอย่างไรผลการพัฒนาที่อยู่ในระดับพออยู่ พอกิน ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง  จึงเป็นความภูมิใจของข้าพเจ้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม  พึ่งตนเองได้  นำไปสู่การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเขียนโดยคุณจิตติมา  บุญแจ้ง  สำนักงานพัฒนาชุมชนเมืองฯ  จังหวัดอุทัยธานี

หมายเลขบันทึก: 391398เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท