โครงงานกระติบข้าวร้อนๆ


การทำกระติบข้าวร้อนๆ

(โครงงานนี้ขอคัดลอกจากผลงานนักเรียนเพื่อเผยแพร่สำหรับการศึกษาต่อไป)

โครงงานวิทยาศาสตร์

กระติบข้าว  ร้อนร้อนจ้า

จัดทำโดย

เด็กหญิงวาสนา             โกสุมภ์

เด็กหญิงเบญจวรรณ     ศรีนาคา

เด็กหญิงหงส์หยก         ชัยเสริม

คุณครูที่ปรึกษา

นางสุวลัยภรณ์                เผื่อนพึ่ง

นางเพ็ญศรี                     แก้วหาญ

โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  กระทรวงมหาดไทย

หัวข้อโครงงาน       กระติบข้าว  ร้อนร้อนจ๋า 

ผู้จัดทำ                   วาสนา  โกสุมภ์,  เบญจวรรณ  ศรีนาคา,  หงส์หยก   ชัยเสริม

ระดับชั้น                มัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อครูที่ปรึกษา       คุณครูสุวลัยภรณ์   เผื่อนพึ่ง  ,  คุณครูเพ็ญศรี   แก้วหาญ

โรงเรียน                 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์   อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม

ปี  พ.ศ.                    2552 

บทคัดย่อ 

 โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง  “ กระติบข้าว  ร้อนร้อนจ๋า ” มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา

เปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน จะมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก  ซึ่งศึกษาโดยการบรรจุข้าวเหนียวนึ่งสุกด้วยกระติบข้าวขนาดเท่ากันแต่ส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน  แล้วจับเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก    ผลการทดลองปรากฏว่า  กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบเก็บความร้อนของ       ข้าวเหนียวนึ่งสุกได้นานกว่ากระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ  ทำให้ประหยัดพลังงานและประหยัดเวลาในการนำมานึ่งให้ร้อนอีกครั้ง 

กิตติกรรมประกาศ

 

 

            โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “  กระติบข้าว  ร้อนร้อนจ๋า   ” คณะผู้จัดทำขอขอบคุณI

คุณครูสุวลัยภรณ์  เผื่อนพึ่ง   คุณครูเพ็ญศรี  แก้วหาญ  คุณครูที่ปรึกษา  ที่ให้คำปรึกษา  ข้อเสนอแนะตลอดจนความช่วยเหลืออนุเคราะห์ในด้านต่างๆ  และคุณครูอนัญญา  ผิวเงิน  ที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

                          ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ นายมังกร  ปทุมพร  

คุณครูทุกท่านที่ได้มีส่วนสนับสนุนในด้านต่างๆในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้

                          ขอขอบคุณผู้ปกครองของสมาชิกทุกท่านที่ให้คำแนะนำสนับสนุนด้วยดีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงงานครั้งนี้

                                           คณะผู้จัดทำ

                                                                   เด็กหญิงวาสนา   โกสุมภ์

                                                                    เด็กหญิงเบญจวรรณ  ศรีนาคา

                                                                     เด็กหญิงหงส์หยก  ชัยเสริม

บทที่ 1

บทนำ

 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

            คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจะมีภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวเพื่อบริโภคเรียกว่า “ กระติบข้าว” ที่ทำมาจากไม้ไผ่                จากการศึกษาสมบัติของอลูมิเนียมฟอยล์พบว่าป้องกันความร้อนและการแผ่รังสีได้ดีจึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีขนาดเท่ากันแต่มีส่วนประกอบต่างกันมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

         เพื่อเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบกับกระติบข้าวที่

ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

        กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบเก็บความร้อนได้ดีกว่ากระติบข้าว

ที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

            ตัวแปร

            ตัวแปรต้น

1.      กระติบข้าวที่มีส่วนประกอบต่างกันได้แก่

-          กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

-          กระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

ตัวแปรตาม

1.      ระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก

 ตัวแปรที่ควบคุม

1.      ปริมาณข้าวเหนียวนึ่งสุก

2.      ขนาดของกระติบข้าว

นิยามศัพท์

1.      ข้าวเหนียว หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวชนิดหนึ่ง เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วจะเหนียวติดกัน

2.      ความร้อน หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.      ลดการสิ้นเปลืองของพลังงาน

2.      นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น

3.      ได้เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4.      ได้ฝึกการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี” มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน

กระติบข้าว  เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายเพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว 

          กระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ ไม่แฉะด้วยไอน้ำ
            ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำ                                                                                                                              

ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ใช้เชือก        ไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า)

            ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้

 อลูมิเนียมฟอยล์ คือ อะลูมิเนียมที่มีความหนา 0.15 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า การนำไปใช้งานแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ

1. แผ่นอลูมิเนียมธรรมดา 
2. แผ่นอลูมิเนียมที่มีการเคลือบด้วยสาร ที่ทำให้สามารถปิดผนึกได้ด้วยความร้อน
 3. แผ่นอลูมิเนียมที่มีการเคลือบหรือประกบกับกระดาษหรือฟิล์มพลาสติก

       คุณสมบัติของแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์
1. ไม่มีกลิ่นและรสไม่เป็นพิษ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
2. ทึบแสง จึงใช้เป็นภาชนะบรรจุเพื่อป้องกันแสงสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพได้ง่ายเมื่อได้รับแสง
3. สะท้อนรังสีความร้อน เนื่องจากผิวหน้าทั้ง 2 ด้านต่างกันคือ มันและด้าน จึงสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ 95% ใช้เป็น ฉนวนป้องกันความร้อนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิให้ต่ำหรือสูงตามที่ต้องการ เช่น อาหารแช่แข็งที่บรรจุในภาชนะแผ่นเปลวอะลูมิเนียมจะ เกิดการสะท้อนรังสีความร้อนทำให้การละลายเกิดขึ้นช้าลง
4. เป็นตัวนำความร้อน กล่าวคือ แผ่นเปลวอะลูมิเนียมร้อนและเย็นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เหมาะกับการใช้เป็นภาชนะในการแช่แข็งหรืออบด้วยความร้อน และยังทำให้การปิดผนึกด้วยความร้อนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

5. มีเสถียรภาพในช่วงอุณหภูมิกว้าง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในแผ่นเปลวอะลูมิเนียมจึงสามารถนำไปให้ความร้อนแล้วนำมาแช่แข็ง และให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่งได้โดยไม่ต้องถ่ายภาชนะ
6. ไม่ดูดความชื้นและของเหลว จึงไม่หดตัว ย่นหรืออ่อนตัว
7. โค้งงอได้ สามารถพับ จีบ หรือขึ้นรูปได้ อยู่ตัวดี จึงนำมาใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น ใช้เป็นฝาปิดขวดนม เครื่องดื่มและใช้ห่อเนย ขนมปัง ช็อกโกเลต ลูกกวาด บุหรี่
8. ป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี จึงเหมาะกับการใช้ห่ออาหารประเภทที่มีน้ำมัน เนยและเนยแข็ง

บทที่ 3

วิธีดำเนินการทดลอง

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้ดำเนินการศึกษาในลักษณะเดียวกันถึง 3 ครั้ง ดังนี้

            การทดลองครั้งที่ 1-3  เรื่อง การเปรียบเทียบระยะเวลาในการเก็บความร้อนของ

ข้าวเหนียวนึ่งสุกด้วยกระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบกับกระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

อุปกรณ์ในการทดลอง

1.      กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ

                              17 cm

2.      กระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบขนาดส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 17 cm

3.      ข้าวสารเหนียว

4.      หม้อนึ่งอลูมิเนียม

5.      เทอร์มอมิเตอร์

6.      นาฬิกาจับเวลา

7.      เตาแก๊ส

8.      เครื่องชั่ง

9.      ทัพพี

10.  ถาด

11.  น้ำ

วิธีการทดลอง

1.      เตรียมอุปกรณ์และวัสดุ ให้พร้อม

2.      นำข้าวสารเหนียวไปแช่น้ำ 1 คืน

3.      ตวงข้าวสารเหนียวที่แช่น้ำ ใส่หวดนึ่งข้าว

4.      ใส่น้ำในหม้อนึ่ง นำหวดนึ่งไปตั้งบนเตาแก๊ส จนกระทั่งข้าวสุก

5.      นำข้าวเหนียวนึ่งสุกปริมาณที่เท่ากันใส่กระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์

      เป็นส่วนประกอบและกระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

6.  วัดอุณหภูมิเมื่อตั้งทิ้งไว้ทุก  6 ชั่วโมง และ 8 ชั่วโมง  สังเกตและบันทึกผลการ

      ทดลอง

7.  เปรียบเทียบระยะเวลาของการเก็บความร้อนของกระติบข้าวแต่ละใบ

12.  ทดลองซ้ำจากขั้นตอนที่ 1 – 7 เป็นจำนวน 2 ครั้ง

บทที่ 4

ผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

ชนิดของกระติบข้าว

                 อุณหภูมิ  ( ๐C )

     ข้าวเหนียวนึ่งสุก (6 ชั่วโมง )

ครั้งที่1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

เฉลี่ย

กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

34

35

36

35

กระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

32

33

34

33

 

 

ตารางบันทึกผลการทดลอง

ชนิดของกระติบข้าว

                 อุณหภูมิ  ( ๐C )

     ข้าวเหนียวนึ่งสุก ( 8 ชั่วโมง )

ครั้งที่1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

เฉลี่ย

กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

33

  32

31

33

กระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ

32

31

30

31

 

บทที่ 5

สรุป  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

จากการทดลองเปรียบเทียบระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุกโดยใช้กระติบข้าวทั้งสองชนิดโดยทำการทดลอง 3 ครั้ง ได้ผลการทดลองดังนี้

สรุปผล

ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ข้าวเหนียวนึ่งสุกที่ใส่กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบจะเก็บความร้อนได้ดีกว่ากระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ 

อภิปรายผล 

ข้าวเหนียวนึ่งสุกที่ใส่กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบจะเก็บความร้อนได้ดีกว่ากระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ  เนื่องจากอะลูมิเนียมฟอยล์เป็น ฉนวนป้องกันความร้อนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิให้สูงตามที่ต้องการ

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากการทดลอง

1.       

1.1  ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับกระติบข้าวที่มีขนาดต่างๆ

1.2  ควรมีการพัฒนารูปแบบในการทดลองให้มากขึ้น

2.      ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง

ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับกระติบข้าวที่ทำจากวัสดุอื่นที่เก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก

คำสำคัญ (Tags): #เพื่อการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 390421เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2010 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท