หลังคาแดง - ชาตรี ศรีชล


เพลง หลังคาแดง

ศิลปิน  ชาตรี ศรีชล

..โอ้ กาน ดา
กลับมาหาพี่เถิด
อย่า เตลิด หลีกหลีหนีไกล
โอ้ พี่ รัก เจ้ามากแค่ไหน
พี่ยังยกให้ไร่ตั้งสองตารางวา
บ้านของเรามันก็ ไม่ใหญ่ไม่โต
เป็นตึกบังกาโล แต่ยังไม่มุงหลังคา
เจ้าอยู่ไม่ได้ ใช่ไหมแก้วตา
จึงจากพี่ยา ไปอยู่หลังคาสีแดง
..พี่เที่ยวตามหา ไม่เจอขวัญตาซักที
กรุงเทพเดี๋ยวนี้ มันมีแต่สี แหละแสง
พี่เดินรันทด หมดเรี่ยวหมดแรง
ตามหาแม่ไอ้แดง ซิยังไม่เห็นจะเจอ
รีบกลับเถิดหนา มามุงหลังคา ด้วยกัน
ไม่ต้องอายจันทร์ เพราะมีแต่ฉันกับเธอ
กลางคืน นอนฝัน กลางวัน นอนเพ้อ
ดึก ดึก ละเมอ อีตอนน้ำค้างมันลง
..โอ้ กาน ดา กลับมาหาพี่เถิด
อย่าเตลิด หลีกหนีพี่ไป
โอ้ พี่ รัก เจ้ามากแค่ไหน
พี่ยังยกให้ ไร่ตั้งสองตารางวา
บ้านของเรามันก็ ไม่ใหญ่ไม่โต
เป็นตึกบังกาโล แต่ยังไม่มุงหลังคา
เจ้าอยู่ไม่ได้ ใช่ไหมแก้วตา
จึงจากพี่ยา ไปอยู่หลังคาสีแดง
..พี่เที่ยวตามหา ไม่เจอขวัญตาซักที
กรุงเทพเดี๋ยวนี้ มันมีแต่สีแหละแสง
พี่เดินรันทด หมดเรี่ยวหมดแรง
ตามหาแม่ไอ้แดง ก็ยังไม่เห็นจะเจอ
รีบกลับเถิดหนา มามุงหลังคาด้วยกัน
ไม่ต้องอายจันทร์ เพราะมีแต่ฉันกับเธอ
กลางคืน นอนฝัน กลางวัน นอนเพ้อ
ดึก ดึก ละเมออีตอนน้ำค้างมันลง
ดึก ดึก ละเมออีตอนน้ำค้างมันลง
ดึก ดึก ละเมออีตอนน้ำคางมันลง
ดึก ดึก ละเมออีตอนน้ำค้างมันลง..


หมายเลขบันทึก: 387082เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
 

หลังคาแดง เป็นชื่อที่อยู่อาศัยของคนที่ป่วยทางจิต แต่ทำไมเขาถึงเรียกว่า "หลังคาแดง" ??

ประเทศไทยในยุคโบราณเชื่อกันว่าการเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติ อาทิ ผีสางเทวดา จนบางภูมิภาคเรียกผู้ป่วยทางจิตว่า ผีบ้า เพราะเชื่อว่าผีเข้าสิงทำให้เกิดอาการเป็นบ้า จากความเชื่อเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยถูกนำตัวไปรักษาตามวัด หรือรับการเสกเป่าจากพ่อมดหมอผีต่างๆ แทนที่จะนำตัวไปรับการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ดี ความเชื่อเช่นนี้ก็ทำให้เกิดผลดีประการหนึ่งกับผู้ป่วย คือ เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วชาวบ้านก็จะไม่รังเกียจ เพราะถือว่าผีออกแล้ว ทำให้ผู้ป่วยยังสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตในประเทศไทย เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคเดียวกับการจัดตั้งโรงพยาบาลอื่นๆ สถานที่เดิมของโรงพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตตั้งอยู่ปากคลองสานฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเรือนเก่า พระยาภักดีภัทรากร มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "โรงพยาบาลคนเสียจริต" เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2432
ในยุคแรกนั้นไม่มีความมุ่งหมายอื่น นอกจากจะนำคนเสียจริตมาฝากขัง การดูแลจึงมีแต่ขังไว้ ในบางครั้งก็มีการรักษาบ้าง เป็นประเภทยาต้ม ยาหม้อ ยาระบาย ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม ที่วุ่นวายนักก็เป่าด้วยยาสลบ ถ้าไม่ทุเลาลงก็ถึงขั้นทรมานทุบหนักๆ หรือไม่ก็ให้อดอาหาร บางทีก็ถึงขั้นกอกเลือด ซึ่งหมายถึง การดูดเลือดออกโดยใช้เขาควาย หรือไม่ก็ใช้ปลิงดูด มีเวทมนตร์คาถาบ้างตามความรู้ของแพทย์สมัยนั้น

จนกระทั่งปี 2445 รัฐบาลต้องการพัฒนาการแพทย์ด้านการรักษาผู้ป่วยโรคจิต จึงอนุญาตให้สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตขึ้นใหม่ ซึ่งก็คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในทุกวันนี้ โดยเปิดรับคนไข้ได้เมื่อเดือนกันยายน โรงพยาบาลแห่งใหม่นี้มีลักษณะเป็นโรงพยาบาลแบบตะวันตก เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลจากการคุมขัง และการรักษาแผนโบราณมาเป็นการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน มีการเลี้ยงดูอาหาร การหลับนอนต่างๆ ให้บริบูรณ์ขึ้น เลิกการล่ามโซ่อย่างแต่ก่อน และพยายามให้เป็นรูปแบบโรงพยาบาลจริงๆ ถึงแม้เรือนไม้หลายหลังยังกั้นห้องด้วยลูกกรง และคนไข้ยังต้องนอนกับพื้นอยู่ก็ตาม

โรงพยาบาลคนเสียจริตแห่งใหม่นี้อยู่ในความดูแลของนายแพทย์ชาวอังกฤษ งานชิ้นสำคัญนอกจากการวางผังป่าอันสวยงามร่มรื่น โดยถือหลักว่า ป่าเป็นเครื่องหมายของการระบายทุกข์ และความสงบแห่งจิตแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่ทำให้เกิดศัพท์แสลงว่า "หลังคาแดง" อันลือลั่น จากการไปเหมาซื้อสีแดงค้างสต็อกราคาถูกคุณภาพดีมาผสมน้ำมัน แล้วทาหลังคาอาคารสังกะสีทุกหลังเพื่อป้องกันสนิม ทำให้หลังคาโรงพยาบาลจึงเป็นสีแดงเพลิงสะดุดตาคนทั่วไป เป็นที่มาของสมญา "หลังคาแดง" ที่เรียกกันติดปากมาจนปัจจุบัน

ทุกวันนี้ประเทศไทยของมีโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตอยู่หลายแห่ง ซึ่งก็มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของชื่อเรียกขานดังนี้

  • โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

  • โรงพยาบาลโรคจิตภาคกลาง (นนทบุรี) เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศรีธัญญา

  • โรงพยาบาลโรคจิตภาคใต้ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

  • โรงพยาบาลโรคจิตภาคเหนือ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสวนปรุง

  • โรงพยาบาลโรคจิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

และนี่ก็เป็นข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงที่มาของ "หลังคาแดง" ที่เชื่อว่าคงเป็นโลกความรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้อ่าน หลายคนเลยทีเดียว...

ข้อมูลจาก
https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=67326

โอ้... ของแท้ ดั้งเดิม อิอิ

หาฟังยากมากค่ะ คุณแม่บอก

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องP♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'-

เรือนไม้ชายทุ่ง เน้นเพลง

  1. เพลงลูกทุ่งเก่า ๆ ที่หาฟังยาก
  2. พยายามหาเพลงต้นฉบับค่ะ
  3. รวบรวมเพลงลูกทุ่งเก่า ๆ ไว้ฟัง และสืบทอดให้คงอยู่คู่คนไทย

ขอบคุณน้องพอลล่านะคะที่แวะมาฟังเพลงร่วมกัน

    โอ้โห เพลงเก่าแต่เสียงดี ดังๆๆ ..ตกใจหมดเลยนิ อิอิ ก็เงียบๆสะดุ้งเลยแร่ะ หลังคาแดงเมื่อก่อนเอาไปร้องให้ครูฟังเอาคะแนน ขอบคุณที่ค้นมาให้ฟังนะพี่ครู

    "ชาตรี ศรีชล" มีอารมณ์ขันด้วย...นอกจากแต่งเพลงเกี้ยวสตรี..เปรียบเทียบเชิงลึก ...

    ว่ากันว่าชาตรีนั้น แต่งเพลงได้เร็ว..มีอารมณ์ แสนอัจฉริยะ ทั้งที่อายุ สามสับกว่า...สุรพล สมบัติเจริญ ก็เป็นคนหนึ่งที่จากไป อายุยังน้อย แค่สามสิบกว่า ๆ แต่ฝีมือแต่งเพลงอัจฉริยะ...ดววิญญาณ ของ ชาตรี ศรีชล หรือ "สุรพล" ถ้ารับรู้ได้คงจะภูมิใจที่มี ลูกหลานเอ่ยชื่อ หยิบยกผลงานท่านมากล่าวอ้าง มาฟังเสียงท่าน ทางสื่อนี้ กี่ปี "ชาตรีศรีชล" ยังไม่ตาย...ครับมีครูอิง...ผู้หญิง ตัวน้อย ๆ คนนี้ กำลัง ดุษฎีผลงานท่านครับ.....

    ...โชคดี...

    สวัสดีค่ะน้องPrinda

    • พักจากหน้างานคลายเครียดค่ะ
    • หลับสักตื่น คงต้องตื่นมาทำงานใหม่ตอนตี 3 ค่ะ
    • ขอบคุณน้องครูตูมนะคะ ทีแวะมาอนุรักษ์เพลงเก่า ๆ

    สวัสดีค่ะครูPดอกรัก ดอนตรอ

    • เดี๋ยวนี้ครูดอกรักคอมเม้นท์เก่งนะคะ
    • ขอบพระคุณค่ะที่ช่วยเติมเต็มบันทึกให้ครูอิง
    • เห็นด้วยค่ะ ว่า ชาตรี ศรีชล มีอารมณ์ขันด้วย ก็เพลงหลังคาแดงนี่แหละค่ะ
    • มีใคร ๆ นำมาร้องใหม่ ทำดนตรีใหม่ตั้งหลายคน ไม่เว้นแม้แต่พี่เบิร์ด 555555+
    • แต่ก็มีนักร้องในดวงใจอีก อย่างน้อย 2 ท่านนะคะ นอกจากสุรพล และ ชาตรี แล้ว
    • ที่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ครูลืมไปหรือเปล่าคะ
    • ศรคีรี  ศรีประจวบ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ อายุเพียง 30 เศษ ๆ เองค่ะและ ระพิน ภูไท ก็จากไปด้วยอาการเจ็บป่วย แบบชาตรี ศรีชล ก็อายุเพียง 30 กว่า ๆ น่าเสียดายมาก ๆ และก็แน่นอน ครูอิงจะต้องนำเพลงของทั้งสองท่านมารวบรวมไว้ที่นี่ "เรือนไม้ชายทุ่ง" แน่นอนค่ะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท