กระบวนการทางปัญญา


10 กระบวนการทางปัญญา โดยนายแพทย์ประเวศ วะสี

1.        ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น  หรือสิ่งแวดล้อม  เช่น  ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน  การฝึกสังเกต จะทำให้เกิดปัญญามาก  โลกทรรศน์และวิธีคิด  สติและสมาธิ  จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต

2.        ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก  โดยจะวาดรูปหรือบันทึกข้อความ  ถ่ายภาพ  ถ่ายวิดีโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและตามสถานการณ์ การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา

<p>3.        ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่ม เมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่ม  เราไปเรียนรู้อะไรมา  บันทึกอะไรมา  จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่องได้อย่างไร  ก็ต้องฝึกการนำเสนอ  การนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนาปัญญา   ทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม</p>

4.        ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น  โบราณเรียกว่าเป็นพหูสูต  บางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด  เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิดของตัวเอง  หรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้  ฉันทะ  สติ  และสมาธิ  จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น

<p>5.        ฝึกปุจฉา วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้วฝึกปุจฉา วิสัชนา  หรือถาม ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์  สังเคราะห์ ทำให้เกิดความแจ่มแจ้ง  ในเรื่องนั้น ๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม ตอบ  ก็จะไม่แจ่มแจ้ง </p>

 6.      ฝึกตั้งสมมุติฐานและตั้งคำตอบ เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว  เราต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า  สิ่งนี้คืออะไร  สิ่งนั้นเกิดจากอะไร  อะไรมีประโยชน์  ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น  และมีการฝึกซ้อมการตั้งคำถาม  ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ ก็อยากจะได้คำตอบ

7.        ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบจากหนังสือ  จากตำรา  จากอินเตอร์เน็ต  หรือไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่  แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม  การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุก  และทำให้ได้ความรู้มาก  ต่างจากการท่องหนังสือโดยไม่มีคำถาม  บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบทุวิถีทางจนหมดแล้วก็ไม่พบ   แต่คำถามยังอยู่  และมีความสำคัญ  ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย

<p>8.        การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ  การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่  ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ  สนุกและมีประโยชน์มาก</p>

9.     เชื่อมโยงบูรณาการ เชื่อมโยงบูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเอง  ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง  เมื่อเรียนรู้อะไรมาอย่าให้ความรู้นั้นแยกเป็นส่วน ๆ แต่ควรจะเชื่อมโยงเป็นบูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมด  ในความเป็นทั้งหมดจะมีความงามและมีมิติอื่นผุดบังเกิดออกมาเหนือความเป็นส่วน ๆ และในความเป็นทั้งหมดนั้นมองให้เห็นตัวเอง  เกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่า  สัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร   จริยธรรมอยู่ที่ตรงนี้  คือการเรียนรู้ตัวเองตามความเป็นจริง  ว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร  ดังนั้น ไม่ว่าการเรียนรู้อะไร ๆ ก็มีมติทางจริยธรรมอยู่ในนั้นเสมอ  มิติทางจริยธรรมอยู่ในความเป็นทั้งหมดนั่นเอง  ต่างจากการเอาจริยธรรมไปเป็น  วิชา ๆ หนึ่งแบบแยกส่วนแล้วก็ไม่ค่อยได้ผล                ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเองนี้  จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ  เพราะหลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้  การไตร่ตรองนี้จะโยงกลับไปสู่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ว่า เพื่อลดตัวกู - ของกูและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  อันจะช่วยให้กำกับการแสวงหาความรู้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว  มิใช่เป็นไปเพื่อความกำเริบแห่งอหังการ มมังการ  และรบกวนการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ 

10.  ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ  ถึงกระบวนการเรียนรู้และความรู้ใหม่ที่ได้มา  การเรียบเรียงทางวิชาการเป็นการเรียบเรียงให้ประณีตขึ้น  ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐานที่มา ที่อ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น  การเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาตนเองอย่างสำคัญ  และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

ที่มา แผ่นพับจัดทำเผยแพร่โดยมูลนิธิสดศรี-สวัสดิ์วงศ์และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

</span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 38455เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท