โครงการสร้างเสริมสุขภาพ


งานที่เราชอบก็ได้ผลงานมาหนึ่งชิ้นงานค่ะ

พวกเราชาวจิตอาสากลุ่มเพลงพื้นบ้านโรงพยาบาลศรีนนครินทร์

ด้วยความที่ชอบร้องรำทำเพลงให้ความสุขกับผู้ป่วยและญาติเป็นประจำทั้งผู้บริหารสนับสนุนทั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะแพทยศาสตร์ และเงินทุนของ สป.สช.และมีเครือข่ายภาคประชาชน ศิลปินพื้นบ้าน น้องพยาบาล แม่บ้าน รปภ.ช่างซ่อม รวมตัวกันสร้างผลงานอันนำมาซึ่งความสุขกันทั่วหน้าแม้จะเป็นงานเล็กๆก็ขอแบ่งปันค่ะ

 

การให้ข้อมูลประชาชนด้วยเพลงพื้นบ้านเพื่อป้องกันตนเองด้านสุขภาพ  บ้านหนองน้ำเกลี้ยง  ตำบลสำราญ  อ.เมือง.จ.ขอนแก่น

Effects of Folk Songs on Health Promotion at Ban Nong Nam KlieangTambol Sumran   A. Mueang       Khonkean  Province.

 บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ประชาชนด้วยเพลงพื้นบ้านเพื่อป้องกันตนเองด้านสุขภาพ  ณ.บ้านหนองน้ำเกลี้ยง  ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เพื่อเปรียบเทียบผลให้ข้อมูลประชาชนด้วยเพลงพื้นบ้านเพื่อป้องกันตนเองด้านสุขภาพในการออกกำลังกายแอโรบิกประกอบเพลงพื้นบ้านวันละ 40 นาที ทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน     พบว่าการใช้เพลงพื้นบ้านเพื่อป้องกันตนเองด้านสุขภาพ    มีผลช่วยลด ค่าความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะความดัน Systolic และ Mean arterial pressure คือ กลุ่มออกกำลังกายมีค่าค่าเฉลี่ยระดับความดัน systolic     ก่อนเข้าโครงการ  127.58 mmHg 14738 ค่าเฉลี่ยระดับความดัน  diastolic      73.70 mmHg ในส่วนของ Diastolic blood pressure ถึงแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของค่าเฉลี่ย Diastolic blood pressure ก่อนและหลังการดำเนินโครงการ (p = 0.099) 

                ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังเข้าโครงการ(ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 4 คน)ก่อนเข้าโครงการ 137 .5   มก./ ดล      หลังเข้าโครงการ 124.33      มก./ ดล

ผลของการให้ข้อมูลด้านสุขภาพด้วยเพลงพื้นบ้านต่อระดับน้ำตาลในเลือด    กลุ่มตัวอย่างจำนวน 4  คน ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับเจาะปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังดำเนินโครงการ  ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังโครงการการดำเนินโครงการจึงทำให้ไม่สามารถใช้สถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดได้  อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดหลังดำเนินโครงการ

   (โครงการนี้เรายังติดตามต่อเนื่องจนกระทั่งวันนี้ยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ค่ะ)

                                             ABSTRACT

                 The purpose of this parcipitation  research, using a single group of subjects, was to compare Effects of Folk Songs on Health Promotion at Ban Nong Nam Klieang Tambol Sumran   A. Mueang       Khonkean  Province  related    blood pressure and  blood sugar  before and after exercising. The subjects 48  volunteers were chosen according to specified qualification  used of Folk Songs  music for 40 minutes everyday   over a period of 3 months. The research   instruments  were   exercise program . Data were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation, and using repeated measures ANOVA with the level of significance  p <.01 .

The findings were that :   The mean scores of exercise behavior of the hypertensive   in the

experimental group, after receiving the Self-efficacy and Social Support Enhancement Program, were    statistically significant higher than before receiving the program.

             Results of this study serve as the guidelines for health care providers to implement of

promoting exercise behavior and to control blood pressure in hypertension.

                               

 

หมายเลขบันทึก: 384066เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สุดยอดอีหลีเด้อ พี่ต้อม เจ้าเก่งจริงๆ

สวัสดีครับคุณวิลาวัลณ์

      สุดยอดไปเลยครับ  ร้องเพลงเพื่อส่งเสริมสุขภาพ น่านำเอาไปใช้ครับเพราะทุกภาคมีเพลงประจำภาคอยู๋เเล้ว  น่าสนใจมากๆ


ผู้ที่เป็นแม่แรงแข็งขันในโครงการนี้คือ อาจารย์ ดลวิวัฒน์ แสนโสม อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะเป็นที่ปรึกษาของโครงการที่น่ารักมากและเก่งแกร่งจริงๆ (คนอะไร้ มีเรื่องที่ทำให้คนฟังสบายใจหายห่วง ...และเป็นคนอารมณ์ดีตลอด...............

โครงการต่อๆมาพวกเราก็เล็งอาจารย์ไว้แล้ว        แล้วจะมาเล่าต่อนะคะ

อ้อ....ไม่เคยได้ทัน สปสช.ค่ะมาทำโครงการนี้ประทับใจ สปสช.ที่ Empowerment คนทำงานจริงๆตามงานดีมากๆ และไม่ต้องห่วงนะคะว่า สปสช.ไม่ทิ้งคนทำโครงการค่ะ

อีกทั้งภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะ

 รศ.นพ.สมเดช..ถึงแม้อาจารย์จะเกษียณอายุราชการแต่อาจารย์ก็ยังมาช่วยงานค่ะน่าปลื้มไหมคะ? (อาจารย์เป็นผู้ประเมินภายนอก) อาจารย์อารมณ์ดี และให้กำลังใจสุดๆค่ะ

มาถึงหน่วยงานเราดีกว่า สนับสนุนด้านการแลกเวรดีมากค่ะ

3ข. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่น้องอยากทำอะไรหัวหน้าเชียร์จนตัวโก่ง

และเวลาที่สมาชิกของหน่วยงานทำอะไร  ตึกเราก็มาเป็นทีมค่ะ มันมากๆๆไม่มีปล่อยให้น้องฉายเดี่ยวค่ะ (นี่รวมทั้งเป็นหางเครื่องเวลาจำเป็นด้วยค่ะ)

แล้วก็นักดนตรี ก็มาจากหน่วยงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ ศิลปินพื้นบ้าน แม้จะต้องไปรับจ้าง ถ้าเป็นงานที่ทำให้คนไข้ และญาติมีความสุขก็มาค่ะทั้งที่ไม่ได้ค่าจ้าง...และขาดรายได้...แต่ท่านทำเพราะใจรักในเสียงดนตรีอิสาน

ที่สำคัญชาวบ้านหนองน้ำเกลี้ยง ตำบลสำราญ ที่ผู้นำชุมชน สมาชิกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง พวกเราประทับใจที่การสร้างเสริมสุขภาพ เริ่มที่บ้าน ครอบครัว และขยายวงออกไป ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ส่วนวัยรุ่นเป็นกลุ่มกีฬา ฟุตบอล ตะกร้อ  ดีใจค่ะที่ได้ทำงานที่ตนเองชอบและคนรับก็มีความสุขค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท