Workshop โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (รุ่นที่ 5)


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเติมเต็มข้อมูลซึ่งกันและกัน

 

น่าชื่นใจจริง...สำหรับการประชุมปฏิบัติการ  ซึ่งได้จัดมาแล้ว รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ในวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2549  ที่ผ่านมา ณ โรงแรมนภาลัย จังหวัดอุดรธานี ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จ๊ะจ๋าไปในฐานะที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงให้กับทีมวิทยากร   ได้เห็นทีมคณะนักวิจัยโครงการฯ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ KM  เอง จากเดิมในวันแรกเป็นการบรรยายโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด และทีม สคส. จะนำกระบวนการ KM

และครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันที่กำหนดการทั้งหมดถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิม  โดยกำหนดการในวันแรก ช่วงเช้าเป็นการเสวนาระหว่าง ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ และ ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ บรรยายภาพรวมของแนวคิดการจัดการความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม และได้เน้นย้ำในหลายๆ เรื่องได้แก่ ความรู้ของคนในองค์กรมาจากหลายแหล่ง  ความรู้ชัดแจ้ง  (Explicit  Knowledge) และ ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)โมเดลปลาทู ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ( KS, KA )

การเรียนรู้จากเครือข่าย

ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมคือ  ผู้บริหารและบุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา  ในเขตพื้นที่การศึกษา อุดรธานี  เขต  3, สกลนคร  เขต  2  และ  หนองบัวลำภู  เขต  1  รวมทั้งหมด  14  โรงเรียน จำนวนประมาณ  50   คน ให้ความสนใจและซักถามอยู่ตลอดเวลาการเสวนา ซึ่งเป็นบรรยากาศที่คึกคักและก่อให้เกิดความกระตือรือร้น ทั้งตัวผู้เสวนาและผู้ร่วมประชุม เกิดความรู้สึกใฝ่รู้และสร้างความเข้าใจ เพื่อการขยายผลต่อไป เพราะผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบว่าตน  คือ แกนนำที่จะต้องไปขยายผลในโรงเรียนของตนเอง

 

ในวันที่สอง  ช่วงเช้า  ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ได้ฉาย  VCD บ้านตากฉบับเต็ม และให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดและส่งตัวแทนของกลุ่ม สะท้อนความคิดการจัดการความรู้ในองค์กร  เป็นการสะท้อนในมุมมองของตนเชื่อมโยงจาก VCD ซึ่งมีทั้ง 3 กลุ่ม ในบทบาทที่ตนเป็นครูผู้สอน ผอ.โรงเรียน  และ สพฐ. จากการนำเสนอในแต่ละแง่มุมทำให้เป็นการสะท้อนที่ทรงพลัง และเป็นการเติมเต็มความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกันเอง ทำให้กระบวนการหลังจากนั้นไหลลื่นเป็นอย่างดี โดยคณะนักวิจัยโครงการฯ ได้ดำเนินกระบวนการหรือฝึกอบรมให้  คือ  เรื่องเล่าเร้าพลัง, การสร้างขุมความรู้, การสังเคราะห์แก่นความรู้, การสร้างตารางแห่งอิสรภาพ, การประเมินตนเอง, ธารปัญญาและบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, Knowledge Sharing ตามบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ AAR

 

ช่วงบ่ายวันที่สาม ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ได้สรุปภาพรวมกระบวนการจัดการความรู้และสร้างความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมประชุมในการวางแผนดำเนินงานโครงการฯ

 ประสบการณ์ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ตื่นเต้นและรู้สึกดีใจที่ได้พบเจอคณะทีมนักวิจัยอีกครั้ง รู้สึกประทับใจในการบริหารจัดการได้ดีเยี่ยม ทั้งสถานที่  อุปกรณ์การนำเสนอที่พร้อมและชัดเจน และ วิธีการถ่ายทอดของทีมวิทยากร มีรายละเอียดของกระบวนการเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และ มีการใช้สื่อประกอบการอธิบายกระบวนการ  ทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจได้ง่าย  มีการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี อันเนื่องมากจากการเตรียมงานของทีมอย่างดีเยี่ยม และต้องขอยกนิ้วให้กับความตั้งใจอย่างมาก  ของทีมคณะนักวิจัยโครงการ ซึ่งทั้ง 3 วัน มีการ AAR  ของทีมคณะนักวิจัยโครงการหลังเสร็จงานของแต่ละวัน เพื่อแก้ไขและให้งานวิจัยครั้งนี้สมบูรณ์ที่สุด  รู้สึกประทับใจในการทำงานและอยากเข้าร่วมทำงานกับทีมนักวิจัยโครงการฯ นี้อีกครั้ง หวังว่าผู้เข้าร่วมที่อุดรธานีคงได้อ่านและเข้าใจถึงหัวอกของผู้จัดงานบ้างนะคะ...ไม่ใช่การพัฒนาเพื่อโรงเรียนของท่านอย่างเดียว แต่เพื่อเด็กและประเทศชาติของเราด้วยคะ

 รุ่นที่ 1และ รุ่นที่ 2     

หมายเลขบันทึก: 38132เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2006 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ผมไม่มีโอกาสไปร่วมแต่ก็ติดตามตลอดครับ ดีใจที่คนในวงการศึกษาตื่นตัวและตระหนักในความสำคัญของ KM และจะคอยติดตามต่อไปครับ
ถึงแม้จะไม่ได้ไปร่วมงานแต่ก็สามารถติดตามได้จากบล็อกก็คงเป็นอีกทางหนึ่งคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท