การปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก


การปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก

วิธีที่ใช้ในการปรับพฤติกรรม
                    การจับทำหรือจับให้หยุด
                            เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างพฤติกรรมใหม่หรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ใช้
    วิธีการช่วยเหลือใดๆก็ได้ที่ช่วยให้เด็กทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น เช่น จับมือไม่ให้รื้อของจับมือจับ
    ช้อนกินข้าว และลดการช่วยเหลือลงเรื่อยๆจนเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง
                    การให้รางวัล
                            เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อให้เด็กทำพฤติกรรมที่เราต้องการมากขึ้น    โดยการใช้สิ่งของที่
    เด็กชอบหลังจากเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือทำกิจกรรมที่มอบหมายให้เสร็จ อาจเป็นขนม
    ของเล่น คำชมเชย การแสดงความรัก   โดยการกอด หอมแก้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กชอบ แต่
   ต้องระวังการติดเป็นเงื่อนไข ต้องป้องกันโดยค่อยๆถอดถอนรางวัลและงดให้เมื่อ พฤติกรรมที่พึง
   ประสงค์นั้นคงที่
                    การเพิ่มสิ่งเร้า
                            เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการ         โดยการเพิ่มสิ่งเร้าให้น่าสนใจใช้
    รูปแบบการกระตุ้นที่หลากหลาย     เช่น   การเรียกชื่อเด็กอาจใช้เสียงดัง    ใช้เสียงเพลงประกอบ
    แต่ต้องระวังว่าเด็กอาจเคยชินกับการตอบสนองต่อเสียงดัง      ต้องค่อยๆลดลงเสียงให้อยู่ใน
    ระดับปกติ
                     การไม่สนใจ
                             เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม   โดยเพิกถอนต่อพฤติกรรมที่ไม่
    พึงประสงค์   เช่น   เด็กนอนดิ้นกับพื้นเมื่ออยากได้ของเล่นที่ไม่มีประโยชน์  ให้เดินหนีและมอง
    ความปลอดภัยให้เด็กอยู่ห่างๆอย่าให้เด็กรู้ตัว   วิธีนี้ผู้ฝึกต้องใจเย็นใช้ความอดทนสูง และใช้การ
    เพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่เป็นอันตราย   ไม่ได้การเบี่ยงเบนความสนใจ           เป็นเทคนิคเพื่อใช้ลด
    พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์   โดยการหาสิ่งที่น่าสนใจมากกว่ามาให้เด็กทำและมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ
    หลายๆอย่างให้เด็กได้เลือก
                    การปรับพฤติกรรมในเด็กออทิสติก       เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ทั้งด้านพัฒนาการ
    และแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา รวมถึงเป็นการเตรียมให้เด็กมีความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ
    สังคม    ในด้านต่างๆ ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นคือ   เรื่องเทคนิคพฤติกรรมศาสตร์ความเข้าใจอาการ
    และวิธีการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก    นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการปฏิบัติ
    คือ     บรรยากาศ    อารมณ์ความรู้สึกต้องดี    ดึงเด็กออกมาจากโลกของตัวเอง    สื่อให้เด็กรับรู้ถึง
    ความสุขที่มีอยู่ในสังคม

หมายเลขบันทึก: 380562เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ  ความรู้นี้ไม่ค่อยมีใครนำมาแบ่งปัน  โชคดีวันนี้มาพบ  จะได้นำไปใช้เผยแพร่ในชุมชนครับ

ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท