จิตสำนึกของความเป็นครู สู่การเรียนรู้ทางสังคม


จิตสำนึกของความเป็นครู สู่การเรียนรู้ทางสังคม
               คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน. เป็นนิยามที่พจนานุกรมบัณฑิตยสถาน ได้ให้ไว้ นอกจากนี้แล้วนักวิชาการยังได้ให้ความหมายของคำว่าสังคมแตกต่างกันไปอีก  เช่น
              1. สังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปอย่างถาวร ภายใต้อำนาจเดียวกันในอันที่จะดำเนินไปสู่จุดหมายร่วมกัน ซึ่งต้องใช้ความพยายามร่วมกัน
              2. สังคม หมายถึง คนจำนวนมากอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน และมีภาษาตลอดจนวัฒนธรรมเป็นแบบเดียวกัน ยึดถือคุณค่าทางสังคมอย่างเดียวกัน
              3. สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีรูปร่างลักษณะความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนทัศนคติร่วมกัน มีการกระทำโต้ตอบกันอย่างต่อเนื่อง ในอันที่จะรวมกลุ่มกันเป็นหน่วยเดียวกัน ตลอดจนมีการสังสรรค์ระหว่างกัน
จากความหมายหรือว่านิยามทั้งหลายจะสามารถสรุปองค์ประกอบของสังคมได้ดังนี้
               1. คน ที่มีจำนวนมากพอสมควร
               2. มีอาณาเขตที่อยู่ร่วมกันอย่างแน่นอน
               3. มีเป้าหมายร่วมกัน
               4. มีความสัมพันธ์กัน
               5. มีวัฒนธรรม หรือแบบแผนการดำเนินชีวิต หรือครรลองในการดำเนินชีวิตเป็นแบบเดียวกันและยึดถือปฏิบัติกันมาเพื่อช่วยให้สังคมอยู่รอด และมีระเบียบ
              6. มีการกระทำโต้ตอบกันทางสังคม ( Social Interaction ) อย่างต่อเนื่องโดยใช้สัญลักษณ์
              7. มีการเพิ่มสมาชิกใหม่
           จะเห็นได้ว่าการที่สังคมจะก่อกำเนิดขึ้นมาได้นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ อีกหลายอย่างที่จะทำให้สังคมมีความเสถียร หรือ เกิดเสถียรภาพทางสังคม สังคมจึงจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางสังคมต่อไปได้
            ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้
           การเรียนรู้ประวัติหรือพื้นเพของบุคคลนั้นเราจะต้องไปดูที่สังคมที่เขาอาศัยอยู่ เพราะสังคมเป็นสถานที่ที่ได้ให้เขาก่อกำเนิดเกิดขึ้นมา และสังคมเป็นสถานที่ที่คอยเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้เขาได้เป็นบุคคลที่สังคมต้องการ การเรียนรู้สังคมจึงเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ครูทุกคนจะต้องได้ปฏิบัติ เพราะเมื่อเรารู้ถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมทางสังคม การดำเนินชีวิตของคนในสังคมแล้ว เราก็จะสามารถสั่งสอนให้ศิษย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้เรียนรู้ในความรู้ต่าง ๆ เพื่อเติมโตเป็นบุคคลที่พึงประสงค์ของสังคมนั้น ๆ และของประเทศชาติสืบต่อไป
หมายเลขบันทึก: 38006เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ดี คับข้ อมู ล เ ย อะ ดี งับ

ดีมั๊กเรยอ่า.. ^^

กะลังหาอยุ๊ พอดี

ทาม งาน ๆๆ

เย้ทำการบ้านได้เเล้ว

ขอบคุนมากๆๆเรยค่ะ ช่วยให้การบ้านเส็ดไปอย่างนึงแร้วววว

ดีค่ะอ่านแล้วรู้สึกรักในความเป็นครู และจะเป็นครูที่ดีให้ได้ค่ะ

ขอความรู้ให้มากนี้

เป็นการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนซึ่งหาข้อมูลความรู้เพื่อไปทำงานครับขอบคุณครับและยังทำให้เด็กมีความรับผิดชอบในการทำงานครับและยังช่วยให้การบ้านเสร็จอีกด้วยครับ

ก้อดีน่าค่ะ

หนูทำกานบ้าน

เส็ดเลยค่ะ

ขอบคุณ

เว็บนี้มากน่าค่ะ

ให้ข้อมูลละเอียดดีนะค่ะขอบคุณมากค่า

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โปรดคุ้มครองท่านให้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งเป็นวิทยาทานเผยแพร่ที่เป็นการทำบุญแก่ผู้อื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท