เมื่อพบปัญหา จะแก้อย่างไร


เมื่อมีผู้รับฟัง และเข้าใจเขา มันอาจจะช่วยบรรเทาความทุกข์ในใจเขาให้น้อยลง

เมื่อพบปัญหา จะแก้อย่างไร  

        วันก่อน ทำคลินิกเบาหวาน   ฉันทำหน้าที่ ซักประวัติ ผู้ป่วยกลุ่มน้ำตาลสูงมากกว่า 200 วันนี้แยกผู้ป่วยออกมาได้  20 ราย รู้สึกตกใจ ว่าทำไม ผู้ป่วยอำเภอเรา ควบคุมน้ำตาลไม่ค่อยได้ จะทำอย่างไรดีก็เป็นโจทย์ที่ให้เราแก้ปัญหากันต่อไป

       ก่อนอื่นฉันพยายามพูดให้คนไข้ เห็นความสำคัญของการควบคุมน้ำตาล ถ้าเราควบคุมไม่ได้ ไปเรื่อยๆ จะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง   และอธิบายให้คนไข้ ได้เห็นว่า ขนาดน้ำตาลก่อนอาหารที่เราเจาะ เป็นช่วงที่น้ำตาลควรจะลดลง แต่ถ้าพวกเรายังเกินสองร้อย ถ้าทานข้าวเยาะ  สองชั่วโมงหลังทานข้าวเป็นช่วงที่น้ำตาลสูงที่สุดน้ำตาลของแต่ละคนจะขนาดไหน 

      ฉันจึงยกตัวอย่างคนไข้คนหนึ่งที่น้ำตาลก่อนทานข้าว 240 แต่พอทานข้าวแล้ว  2 ชั่วโมงฉันเจาะให้อีกครั้งหนึ่ง น้ำตาลตั้ง 500  คนไข้รู้สึกตกใจว่าทำไมน้ำตาลถึงได้สูงขนาดนั้น ...  ทุกคนที่รับฟัง ก็เริ่มที่จะเข้าใจมากขึ้น ฉันเองก็ไม่รู้ว่าแต่ละคนจะควบคุมได้มากน้อยขนาดไหน .... เพราะปัจจัยที่ทำให้คนไข้ควบคุมน้ำตาลได้หรือไม่ได้มีหลายอย่าง

     ไม่ว่าจะเป็น ขาดยาเนื่องจากไม่มาตรวจตามนัด เนื่องจากลูกพาไปต่างจังหวัด ทำให้มาไม่ทัน ขาดยา ไป 1 สัปดาห์

      หรือบางคนแก่มากแล้ว ทานข้าวแซบหลาย  แล้วไม่ค่อยได้ทำอะไร นอกจากนั่งๆนอนๆ  (ก็ไม่รู้ว่าจะให้คนแก่ทำอะไรมากกว่านั้น)  บางคนควบคุมเรื่องอาหารการกินอยู่ตลอด แต่ก็ไม่สามารถควบน้ำตาลได้...

     พอเราเริ่มคุยกันและให้คนไข้เล่าให้ฟัง ฉันเองไม่เคยดุคนไข้ มีแต่จะให้กำลังใจคนไข้  พอเราให้เวลาและพูดคุย พร้อมทั้งรับฟังปัญหาของเขา สิ่งที่อัดอั้น    สิ่งที่อยู่ในใจที่ไม่เคยมีใครซักถาม  ไม่เคยมีใครเหลียวแล แม้แต่คนในครอบครัวก็พรั่งพรูออกมา พร้อมกับน้ำตาแห่งความทุกข์ใจ   บางคน ที่นา   ที่มีอยู่ถูกลูกเอาไปจำนอง แต่ไม่มีเงินที่จะไปไถ่คืนมา  ความทุกข์ที่อยูในใจมีผลให้ไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ 

     แต่ฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอธิบายอย่างไร  ทุกคนที่เศร้า ทุกคนที่มีความทุกข์  คุมเรื่องระดับน้ำตาลไม่ได้จริงๆ  ฉันได้แต่รับฟังและให้กำลังใจคนไข้  ฉันหวังว่าเมื่อมีผู้รับฟัง และเข้าใจเขา มันอาจจะช่วยบรรเทาความทุกข์ในใจเขาให้น้อยลง  และฉันหวังว่าต่อไปการควบคุมระดับน้ำตาลของคนไข้ จะดีขึ้น

   นี่คือตัวอย่างทีจะยังเป็นปัญหา และเป็นโจทย์  ให้เราไว้แก้ปัญหา ต่อไป และไม่มีวันจบ....

                            

หมายเลขบันทึก: 379823เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทุกคนที่เศร้า ทุกคนที่มีความทุกข์ คุมเรื่องระดับน้ำตาลไม่ได้จริงๆ

อันนี้เป็นเหตุและผลกันหรือเปล่าคะ

อยากได้ความรู้ค่ะ เพราะกำลังป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเบาหวาน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะครูรินทร์ จากประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า คนที่ความทุกข์ ความเครียด

จะมีผลให้ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ค่ะ ไม่ทราบว่าจะอธิบายเชิงวิชาการว่ายังไง แต่จะควบคุมไม่ค่อยได้จริงๆ ค่ะ

ถาเรายังไม่เป็น เบาหวาน แต่เป็นกลุ่มเสี่ยง ก็ขอให้ ออกกำลังกาย เป็นประจำ ควบคุมอาหารที่มีรสหวาน ทานน้อยลง

และควบคุมน้ำหนัก และตรวจสุขภาพ รวมเรื่องเจาะเลือด ปีละ 1 ครั้ง ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันโรคเบาหวานได้แล้วค่ะ

คุณรู้หรือไม่... เบาหวาน ไม่หวานเหมือนชื่อ...

• คนที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ ถึง 2-3 เท่า

• ประชากรกว่า ๑๐๐ ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในเอเชีย มีจำนวนถึง ๕๐ ล้านคน

• เบาหวานถูกจัดให้เป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับ ๓ ของโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

• ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมีโอกาสตาบอด เนื่องจากจอประสาทตาเสื่อมสูงกว่าคนปกติถึง ๒๕ เท่า และมีโอกาสถูกตัดขาด เนื่องจากเกิดแผลตายเน่าที่เท้ามากกว่าคนปกติถึง ๔๐ เท่า

• ทุก 30 วินาที จะมีคนหนึ่งคนในโลกนี้ถูกตัดขาอันเนื่องมาจากโรคเบาหวาน

• อาการที่สำคัญ ของเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะกลางคืน ทานน้ำบ่อยขึ้น กินเก่งขึ้น แต่น้ำหนักลดลง แต่บางรายก็ไม่มีอาการ ตรวจพบโดยบังเอิญ

• วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือว่าเป็น วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day)

• ผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรตรวจระดับน้ำตาลเลือดเพื่อหาความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ทุก 3 ปี

• การควบคุมเบาหวานที่ดี คือ สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร ได้น้อยกว่า 120 มก./ดล.

สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=405&lid=th

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท