สิ่งที่ได้รับจากการไปดูงานที่โรงพยาบาลสุรินทร์


การทำรองเท้าให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

      ก่อนอื่นต้องขออารัมภบทก่อนว่า เราโชคดีที่ได้ไปร่วมงาน HACC Forum ครั้งที่ 3 ที่โคราช ทำให้ได้มีโอกาสไปรู้จัก คลินิกดูแลเท้าของโรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งมีคนสนใจเยอะมาก  และนี่เองที่เป็นจุดเริมต้นให้เราสนใจ ...และพูดคุย...กับอาจารย์บุญเลี้ยง  จันทรี  คุยไปคุยมา เอ้า... เป็นคนบ้านเดียวกัน  (คนขอนแก่นนำกันตั๊วเนี่ยะ  ) ท่านเห็นพวกเราสนใจเรื่องการทำแผ่นรอง รองเท้า ท่านจึงแนะนำให้มาศึกษาดูงานที่คลินิกดูแลเท้าของ โรงพยาบาลสุรินทร์ หลังจากนั้นผ่านไปเกือบ 6 เดือนเราถึงได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานที่นี่   ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่คลินิกดูแลเท้าทุกๆท่านที่ได้เสียสละเวลาและสอนพวกเราด้วยความเป็นกันเอง และแนะนำทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ การทำแผ่นรองรองเท้า ทั้งเนื้อหาวิชาการ และภาคปฏิบัติ ทำให้พวกเราเห็นว่าการทำรองเท้าให้ผู้ป่วยเบาหวาน ตามความประสงค์ของเราไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 

        

        ในการไปดูงานครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ 

โรงพยาบาลสีชมพูไปทั้งหมด 7 คน รวม พขร. และมีน้องกายภาพจากโรงพยาบาลชุมแพ 1 คนร่วมเดินทางไปกับพวกเราด้วย ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานร่วมกันและเป็นการสร้างเครือข่ายโซนตะวันตกอีกด้วย  เจ้าหน้าที่ของเรา 7 คนประกอบด้วย พยาบาลประจำคลินิกเบาหวาน  , ช่าง  ,ผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ คลินิกเบาหวาน  น้องกายภาพ และน้อง  IT  ซึ่งจะเห็นว่าเราไปกันหลากหลายวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง ทุกคนที่ไปเราได้รับความรู้ในการจัดทำรองเท้าที่เหมาะสมให้กับผู้ที่มีปัญหาการรับน้ำหนัก  ปัญหาแผลที่เท้า และผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน    ทำให้เราเกิดไอเดียในการที่จะทำรองเท้าให้ผู้ป่วย

 

 อาจาร์บุญเลี้ยงบอกว่า ท่านสนับสนุนต็มที่ในการที่เราจะไปทำให้เกิดประโยชน์กับคนไข้  แ ต่ถ้าเราทำเพื่อการค้าและธุรกิจท่านคงจะฟ้องเพราะมันเป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสุรินทร์  พวกเราเองก็เข้าใจดี และไม่คิดที่จะทำเพื่อธุรกิจอยู่แล้ว  ทีมพวกเราคิดว่าอาจารย์ และคณะคงเห็นความตั้งใจ และมุ่งมั่นของพวกเรา เพราะทุกคนต่างกระตือรือร้นในการฝึกทำแผ่นรอง รองเท้า ( ก็อาจารย์ บอกว่าทำแล้วจะให้คนละคู่ ทุกคนจึง Active มาก ขอบอก)  พวกเราได้แผ่นรองรองเท้ากลับมาคนละ 1 คู่(บางคนแอบได้ สองคู่ )ทำให้พวกเราเดินทางกลับขอนแก่นด้วยความสุข  พร้อมกับความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำให้คนไข้เบาหวานอำเภอสีชมพูของ เรา  อาจารย์บุญเลี้ยงบอกอีกว่าถ้าสนใจทำจริงๆ และตั้งใจที่จะเปิดเป็นคลินิกเท้าแบบเต็มรูปแบบ ให้ส่งช่างที่จะทำจริงมาฝึกอีก 5 วัน รับรองทำได้ทุกอย่าง

 

       ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงโรงพยาบาลฉันเองจึงไม่รอช้า รีบไปแจ้งให้หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลซึ่งตอนแรกท่านตั้งใจที่จะไปกับพวกเรา แต่ด้วยภาระ หน้าที่ จึงไม่สามารถที่จะไปได้  เมื่อท่านรับทราบท่านก็สนับสนุนเต็มที่ให้ส่งช่างฝีมือของเราไปฝึกอีกรอบ และกลัวว่าช่างฝีมือของเราจะเหงาก็เลยให้ไปพร้อมกันสองคน กับน้องคนงานซักผ้า อีก 1  คน   ฉันจึงได้โทรประสานกับอาจารญ์บุญเลี้ยงอีกครั้ง ว่าจะขอส่งไปฝึก 2 คน ท่านจะคิดค่าอุปกรณ์ในการฝึกเพิ่มขึ้นหรือไม่  ท่านก็ใจดี บอกว่า ไม่คิดเพิ่ม  

งานเข้าอีกแล้วค่ะท่าน ฉันรีบเขียนโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปฝึกพัฒนาศักยภาพทันที  และตอนนี้ โครงการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว  และอาจารญ์บุญเลี้ยงจัดคิวให้ช่วง วันที่  2-6 สิงหาคม 2553 ต้องขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสพวกเราค่ะ   และเหนืออื่นใด ต้องขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการที่สนับสนุนเต็มที่ ขอให้ลูกน้องอย่างเราๆ คิดที่จะทำสิ่งดี ๆ เพื่อคนไข้  ท่านไม่เคยที่จะบอกว่าไม่ให้ทำแม้แต่ครั้งเดียว.......

 และหลังจากเจ้าหน้าที่ของเราอบรมเรียบร้อยแล้ว  งานใหญ่ที่เราจะทำต่อไป คือจัดทำรองเท้าเพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่มีปัญหาที่เท้า  โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดแผลที่เท้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า  และกลุ่มที่ตรวจเท้าแล้ว เป็นกลุ่มเสียงสูงที่จะเกิดแผลที่เท้า  ค่ะ.....

หมายเลขบันทึก: 379817เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท