สอนเด็กๆ เรื่องความรับผิดชอบ


สอนเด็ก เรื่องความรับผิดชอบ

พันคำไม่ได้ชำนาญเรื่องนี้ แต่เห็นบทความน่าสนใจจึงแปลเรียบเรียงเป็นไทยเผื่อท่านสนใจวิธีการที่ผู้เขียนบทความนำเสนอ

พฤติกรรมความรับผิดชอบไม่ได้เป็นลักษณะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด

(จำได้ไหมครับ Remember?  Mr. Nut (here, I mean a bean, not a real person!) said he would take all responsibility for the cost of burning a city. He just said it, but he didn't mean it. And, all the stupid cows had done it because they thought it that way. Haha..)

แต่เป็นลักษณะที่สร้างขึ้น พ่อแม่จะต้องสอนเรื่องความรับผิดชอบให้เด็กตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ เพื่อแสดงความเคารพในความรู้สึกผู้อื่นอย่างถูกต้องและสำนึกรู้ในสิ่งที่ถูกและผิด

พฤติกรรมนี้ได้มาจากการเรียนรู้ จะกลายเป็นลักษณะนิสัยจากการเรียนรู้ซ้ำๆ วิธีที่พ่อแม่จะใช้สอนได้ดีคือใช้ทั้งการพูดและการกระทำ พ่อแม่สอนให้เด็กมีความเคารพผู้อื่นเสมอ เมื่อใดก็ตามที่พ่อแม่แสดงความเคารพในความคิด ความรู้สึก และความเป็นเจ้าของของคนอื่นๆจะต้องสอนเด็กๆให้ประพฤติเช่นเดียวกัน

การฝึกที่มีประสิทธิภาพ คือใช้ทั้งคำพูดและการปฏิบัติ  

(1.) โดยการกระทำ ทัศนคติ และทักษะสังคม ที่เกิดในแต่ละวันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคำพูด ขณะที่เด็กมองสิ่งที่เราทำและตั้งคำถามจะเป็นโอกาสที่ดีในการสอน

ตัวอย่าง เช่นเด็กจะถามว่าทำไมแม่อนุญาตให้หญิงสูงอายุแซงคิวเมื่อซื้อของในห้าง แม่จะตอบว่าเพราะว่าเขามีของไม่กี่ชิ้นส่วนเรามีของเต็มรถเข็น จึงไม่อยากให้เธอต้องยืนเข้าแถวนาน เด็กอาจถามต่อว่าแม่รู้จักเขาหรือ แม่ตอบว่าไม่เคยพบมาก่อน เด็กจึงถามต่อแล้วทำไมแม่ถึงคิดว่าหญิงคนนั้นไม่ต้องการรอคิวนาน แม่ก็ตอบว่า เพราะดูเหมือนว่าหญิงคนนั้นดูไม่ค่อยสบายและท่าทางรีบร้อนด้วย

วิธีที่เด็กเห็นการกระทำและได้ฟังคำอธิบาย เด็กจะเข้าใจยิ่งขึ้นและจะรับรู้ความต้องการของคนอื่นได้แทนที่จะคิดแต่ความต้องการของตนเอง


(2.) อ่านเล่าเรื่องจากหนังสือบทเรียนชีวิต อภิปรายสิ่งที่เล่าให้ฟัง พยายามกระตุ้นให้เด็กถามคำถาม หาโอกาสเน้นลักษณะที่ดี ทำให้รู้ว่าการกระทำทั้งดีและไม่ดีจะมีผลตามมา

(3.) สร้างโอกาสกระตุ้นความคิดเด็กให้รับรู้ในแต่ละวัน
ให้เด็กเล่าเรื่องสิ่งที่เกิดในแต่ละวัน สิ่งที่คิดหรือรู้สึก สิ่งที่เห็นหรือได้ยิน สิ่งที่ทำหรืออยากทำ ใช้ทุกโอกาสในการกระตุ้นความคิดในการรับรู้  มุ่งไปที่ความรู้สึกอารมณ์และคุณลักษณะด้านบวก (ความกล้าหาญ การใช้ความคิด ความมุ่งมั่น ความซื่อสัตย์ ความกรุณา เป็นต้น) ช่วยเด็กในการค้นหาลักษณะที่ดีๆเหล่านี้ในบุคคลต่างๆที่รู้จัก ตัวละครที่พบในทีวี คนที่เด็กๆอ่านเรื่องราว ช่วยเด็กในการค้นหาและบ่มเพาะคุณลักษณะดีๆเหล่านี้  
ตกเย็นในแต่ละวัน ลองถามเด็กว่า วันนี้ทำอะไรที่ซื่อสัตย์บ้าง ไหนเล่าให้ฟังซิ หรือไหนลองบอกวิธีที่มองและเข้าใจคนอื่นๆที่พบวันนี้มาสองอย่างซิ



(4.) แสดงให้เด็กดู วิธีการระงับความรู้สึกด้านลบ อย่างมีสติรับผิดชอบ
ช่วยเด็กสำรวจวิธีการจัดการความรู้สึกที่เป็นลบ (เช่น โกรธ เจ็บ ขุ่นเคือง ความอ้างว้างโดดเดี่ยว เป็นต้น)
ถ้าเด็กแสดงอารมณ์โกรธต่อคนอื่น อย่าด่วนพูดว่า "การโกรธเป็นสิ่งผิด" แต่ให้สำรวจอารมณ์โกรธร่วมกับเด็ก

ถามเด็กว่า ทำไมจึงโกรธ ให้เด็กพูดว่า เขาโกรธมากขนาดไหน ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าความรู้สึกโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดได้บ่อยๆแต่สิ่งที่สำคัญมากคือเราแสดงอารมณ์โกรธอย่างไร การแสดงอารมณ์โกรธมีทั้งวิธีที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม

เล่าเรื่องตัวอย่างคนที่เคยมีความรู้สึกด้านลบ แล้วถามเด็กว่า บุคคลในตัวอย่างที่เล่าควรทำตนอย่างไรเมื่อรู้สึกโกรธขึ้นมา หรือว่า ทำไมเด็กคิดว่าคนที่อยู่ในเรื่องที่เล่าให้ฟังถึงอ้างว้าง เขาน่าจะปฏิบัติตนอย่างไร

การช่วยให้เด็กๆเข้าใจความรู้สึกคนอื่นเช่นเดียวกับความรู้สึกของเด็กเอง รวมทั้งวิธีที่เหมาะสมในการแสดงความรู้สึกต่างๆเหล่านั้นเป็นก้าวสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรมความรับผิดชอบ





บทความโดย Valeri (July 29, 2010) เรื่อง Practical Ways to Teach a Child Responsible Behavior.
http://freelanceblogging.easyonlinejobsreview.com/practical-ways-to-teach-a-child-responsible-behavior/

หมายเลขบันทึก: 379760เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรื่องนี้ เป็นบันทึก ที่ ไนน์ วัน วัน พอดี :)

เรียนท่านพันคำ

ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปัน

กำลังเรียนรู้อยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยค่ะว่าการสอนโดยการกระทำให้ดูเป็นแบบอย่าง และมาจากครอบครัวมีความสำคัญมากที่สุด

สังคมครอบครัวไทย ส่วนใหญ่ขาดความตระหนักเรื่องการอบรมสั่งสอนตามเหตุผล  และไม่เป็นแบบอย่าง  และโยนภาระมาให้โรงเรียนเสมอ

การอบรมของครูมีส่วนสำคัญแต่ครูอาจไม่มีโอกาสในการติดตามผลเท่ากับพ่อแม่  และการเรียนรู้นิสัยของคนในครอบครัวและความเป็นมาของเด็กก็ไม่ลึกซึ้งเท่าพ่อแม่

ขอขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

สวัสดีครับคุณครู krutoiting

  • คุณครู กรุณาอย่าใช้ คำยกย่อง "ท่าน" ให้กับพันคำเลยครับ เพราะพันคำไม่ได้ทำคุณประโยชน์มากมายขนาดนั้น เป็น อาจารย์น้อย เรียก อ.พันคำ เหมาะสมกว่ามากครับ
  • สบายดีนะครับคุณครู คุณครูเปลี่ยนรูปใหม่รูปนี้เท่ห์ครับ
  • จริงๆ คุณครูเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็กเล็กอยู่แล้วนะครับ (พันคำยืนยันพูดคำนี้หลายครั้งแล้ว)

สวัสดีครับ คุณครูคิม

  • เป็นอย่างนั้นละครับคุณครู พ่อแม่อยู่กับเด็กๆมากกว่า แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็เชื่อฝีมือคุณครูที่โรงเรียนมากกว่า ว่าคุณครูมีวิธีการที่ดีกว่าหรือเป็นวิธีที่พ่อแม่ไม่รู้มาก่อน
  • ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคุณครูของเด็กเล็ก ต่างเป็นความหวังของเยาวชนทั้งหมดครับ จัดเวลาอย่างเหมาะสม ทุ่มเทเวลานั้นอย่างมีคุณภาพให้กับเด็กเล็กครับ
  • ขอบคุณครับ

กำลังอยากได้ไปสอนลูกสาวพอดีเลยครับ

ขอบคุณมากครับ

ยินดีที่รู้จัก ดร.ภิญโญ ครับ

  • ขอบคุณครับที่ช่วยย้ำความสำคัญ ว่ามีงานยุ่งแค่ไหน ก็ยังต้องสละเวลาเต็มที่แก่ลูกหลานเล็กๆ เป็นคุณพ่อที่ดีที่ลูกๆจะคิดถึงเสมอ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อยสนใจเรื่องนี้ และสอนนักเรียนเสมอ พยายามให้ถาม และให้คิด รอบๆ
  • คำถามว่า ทำไม ให้นักเรียนตอบได้หลากหลาย

ขอบคุณมากค่ะ บันทึกของอาจารย์ ได้แนวคิดไปมากมายค่ะ

สบายดีนะครับคุณครูอ้อย  แวะไปชมลูกไม้มวยไทยรุ่นเยาว์มาครับ เป็นกำลังใจครับ (คุณครูอย่าลืม เน้นนะครับว่า มวยไทยไว้ป้องกันตัวหรือช่วยเหลือผู้อ่อนแอจากการถูกรังแก ไม่ใช้ในทางที่ผิดหรือเกเรแกล้งผู้อื่น :) ขอบคุณครับ

ใครคนหนึ่งไปเขียนคอมเม็นท์เกี่ยวกับ การลงโทษเด็กทำผิด กม. แต่อายุน้อย เกินกว่าจะลงโทษเหมือนผู้ใหญ่ ว่า

เขาใช้ หลัก รักลูกให้ตี

เด็กเกเรไปพ่นสีรถยนต์คนอื่น จับได้ถูกโบยด้วยแส้ โดยเพชฌฆาต (สวมหน้ากาก) เพียง 5 ที

รัฐฯออก วีดิโอ สาธิตการทำโทษ กับตุ๊กตาแทน เพื่อให้เด็กๆเข้าใจ

ความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม จึงเป็นจุดสำคัญในสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท