ก้าวข้ามไปให้ได้...แล้วจะพบแสงสว่างปลายอุโมงค์...


...การพบปัญหา...ทำให้เกิดการพัฒนา

         การทำงานด้านพัฒนาคุณภาพนั้น ย่อมเกิดปัญหามากมายหากก้าวข้ามไปไม่ได้ ก็จะพบว่าช่องว่างที่เกิดขึ้นนั้นจะยิ่งกว้างกว่าเก่าอย่างคาดไม่ถึง แต่หากสามารถก้าวข้ามไปได้ สิ่งที่ได้รับก็คุ้มค่าในการพัฒนา

 

          การอบรมพัฒนาคุณภาพที่ให้ผู้อบรมนั้นเขียนปัญหาที่พบในงานออกมาให้มากที่สุดโดย 1 แผ่น/1ปัญหา แล้วนำมาติดบอร์ดแล้วแยกกลุ่มของปัญหา เพื่อนำมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหานั้นๆร่วมกัน ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ดีที่นิยมใช้กันในการอบรม แต่ทว่าวิธีนี้สามารถกลายเป็นดาบสองคมได้ ซึ่งไม่ควรมองข้าม

 

                  183270

 

          ธรรมชาติของคนเรานั้นอยากให้คนอื่นชื่นชมมากกว่าติหรือชี้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากอีโก้ในแต่ละคนมีมาก การที่มีคนมาชี้ปัญหาบางคนคิดว่าทำให้เกิดการเสียหน้า...ไม่ได้คิดว่าเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา จึงเกิดการขัดแย้งระหว่างกันและกันขึ้น กลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น

 

          เรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแสดงความคิดเห็น

          จากกิจกรรมที่ให้ทุกคนเขียนปัญหา(โดยไม่ต้องเขียนชื่อ)ไปติดบอร์ดก็ย่อมมีหลายความคิดและปัญหาหลากหลายมุมมองที่เกิดขึ้น ไปกระทบตัวบุคคลบ้าง ระบบบ้าง โครงสร้างองค์กรบ้าง ผู้มารับบริการบ้าง ตัวผู้ปฏิบัติงานบ้าง สิ่งแวดล้อมบ้าง เมื่อมาแยกหมวดหมู่แล้ว ได้นำมาติดบอร์ดให้อ่านกันว่าพบปัญหาอะไรบ้าง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ข้อความไหน?ที่เป็นปัญหาโดนใจ ก็จะมีคำถามตามมาว่...ของใคร?...ใคร?เขียน...กล้าจัง...!!!  และก็เกิดสายลับสายสมร...เกิดขึ้น การคุ้นเคยลายมือของคนที่ทำงานร่วมกัน ก็เดาออกว่าเป็นลายมือใคร?...ทำให้เกิดผลกระทบตามมาถึงตัวผู้เขียนที่กล้าแสดงความคิดเห็นว่าปัญหาที่พบคืออะไร? เกิดความไม่พอใจระหว่างกันเกิดขึ้น ทั้งๆที่จุดประสงค์แค่ต้องการชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น

 

          จุดนี้เองที่บอกว่าเป็นดาบสองคมของผู้ที่แสดงความคิดเห็นในปัญหา ในทางกลับกันทำให้คนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวว่าจะถูกตำหนิ เมื่อไม่เข้าตาใคร? และไม่มีความเห็นใดๆออกมา...อยู่เฉยๆดีกว่า เขาว่าไง?ก็ว่ากัน... ทั้งๆที่มีพลังเงียบจำนวนมากเหล่านี้อาจจะมีความคิดเห็นที่ดีๆและสร้างสรรค์ในการช่วยกันแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์กรร่วมกันที่มีคุณภาพกลุ่มหนึ่ง

 

          กิจกรรมวิธีนี้เป็นวิธีที่ดี แต่ถ้าใช้วิธีพิมพ์แทน(ไม่ใช้เขียนเป็นลายมือ) ก็จะไม่รู้ว่าเป็นลายมือใคร? เป็นเพียงความคิดที่ช่วยกันแสดงความคิดเห็น เป็นปัญหาที่นำมารวมกันและแยกประเด็นนำมาถกถึงวิธีการแก้ไขร่วมกันได้เช่นกัน

 

 

          การก้าวข้ามช่องว่าง(Gap)

          การก้าวข้ามช่องว่างที่เกิดขึ้น ถ้าอาศัยการหักดิบกรือใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นซึ่งบางคนอาจถูกพาดพิงบ้าง เช่น การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานที่มีวุฒิต่ำกว่าหรือการถูกมองข้ามความสามารถและไม่สนับสนุน การวิพากษ์วิจารณ์ระบบงานที่มีปัญหาเป็นต้น

 

          การมองที่ตัวปัญหา ว่าทำอย่างไร?จึงจะทำให้ทุกคนทุกระดับยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันให้ความสำคัญกับทุกความคิดเห็น เพราะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาคุณภาพของงานให้ดียิ่งๆขึ้น ไม่ใช่ไปมองคำว่า...ใคร?เขียน (WHO?) ตราบใด...ที่คนในองค์กรยังก้าวข้ามจุดนี้ไปไม่ได้ ช่องว่าง(GAP)ที่เกิดขึ้นอาจจะยิ่งกว้างมากขึ้น....บอกลาการพัฒนาคุณภาพได้เลย...

 

 

          การช่วยกันค้นพบปัญหา...เป็นโอกาสทองในการทำให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นถ้าองค์กรใด...สามารถก้าวข้ามคำว่า...WHO?(ใคร?) ไปได้แล้วมุ่งสู่ตัวปัญหานั้น นำไปแก้ไขแล้วล่ะก็..องค์กรนั้นจะพบแสงสว่างปลายอุโมงอย่างแน่นอน...

 

หมายเลขบันทึก: 379622เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าคิด น่าสนใจ
  • ขอบพระคุณแนวคิดดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณธรรมทิพย์ P

  • ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน แล้วทำให้คนในองค์กรไม่กล้าแสดงออกทางความคิดเห็นนั้น ตราบใดที่ยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในความรู้สึก
  • ต้องทำให้บุคลากรเกิดความมั่นใจ แล้วก้าวข้ามไปได้...เน้นสาเหตุของปัญหา ไม่ใช่ตัวคน ก็จะเกิดสิ่งดีๆตามมา
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท