มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรการศึกษาของวิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา


 

หลักสูตรการศึกษาของวิชชาลัย 

วิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มีแผนงานที่จะจัดการศึกษาในหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรหลัก ซึ่งจะเป็นหลักสูตรระยะยาว คือ หลักสูตรดับประกาศนียบัตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ไม่เพียงแต่สำหรับผู้นำชุมชนและสังคมในประเทศไทยเท่านั้น  ยังมุ่งที่จะจัดการศึกษาให้ผู้นำชุมชนและสังคมในประเทศอื่น ๆ ที่มีความสนใจอีกด้วย

สำหรับหลักสูตรระยะสั้น จะจัดขึ้นตามความจำเป็นและความต้องการของผู้นำในท้องถิ่น ที่จะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคมในแต่ละด้าน

เนื่องจากวิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสถาน ศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ  วิชชาลัยจึงจำเป็นต้องทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่มีแนวความคิดและแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน เพื่อทำหน้าที่ประสาทปริญญาให้กับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิชชาลัยแล้ว รวมถึงการทำหน้าที่ควบคุมมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันอุดมศึกษาที่ทางวิชชาลัย ได้ประสานงานในเบื้องต้นแล้ว และยินดีที่จะร่วมมือในการจัดการศึกษาตามปรัชญาดังกล่าวข้างต้น คือ “สถาบันอาศรมศิลป์” (สังกัดมูลนิธิรุ่งอรุณ) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท  สำหรับรายละเอียดของความร่วมมือ คณะทำงานของทั้งสองหน่วยงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

อย่างไรก็ตาม วิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จัดการศึกษาในหลักสูตรทางด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นำของชุมชนและสังคม มีความรู้ ความสามารถ ที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน นำไปสู่ความเป็นสังคมเข้มแข็ง และสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

และเนื่องจาก สถาบันอาศรมศิลป์ ไม่มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดทำการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเท่านั้น คณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน จึงมีความเห็นร่วมกันเบื้องต้นว่า จะให้วิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดทำเป็น ๓ หลักสูตร หรือเป็นหลักสูตร ๔ ระดับ คือ

๑.     หลักสูตร “ประกาศนียบัตรชุมชนพัฒนศึกษาแบบองค์รวม” (เทียบเท่าอนุปริญญา)

๒.     หลักสูตร “ประกาศนียบัตรชุมชนพัฒนศึกษาแบบองค์รวมชั้นสูง” (เทียบเท่าปริญญาตรี)

๓.     หลักสูตร “ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม”

๔.     หลักสูตร “ดุษฎีบัณฑิต ด้านการพัฒนาประเทศ” (อยู่ระหว่างการเตรียมการ)

หลักสูตร “ประกาศนียบัตรชุมชนพัฒนศึกษาแบบองค์รวม” เป็นหลักสูตรเทียบเท่าอนุปริญญา มีจำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาต้องศึกษา จำนวน 81 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 5 ภาคการศึกษา (รวมภาคฤดูร้อน) หรือใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน 

หลักสูตร “ประกาศนียบัตรชุมชนพัฒนศึกษาแบบองค์รวมชั้นสูง” เป็นหลักสูตรเทียบเท่ากับหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง  2 ปี มีจำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาต้องศึกษา 72 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 5 ภาคการศึกษา (รวมภาคฤดูร้อน) หรือใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ  1 ปี 8 เดือน

หลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาแบบองค์รวม ของสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวนหน่วยกิต 36 หน่วยกิต ได้รับการรับรองจากสำนักงานการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)แล้ว ซึ่งในระดับปริญญาโทนี้  ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาบัตรทุกประการ

หลักสูตร “ดุษฎีบัณฑิต ด้านการพัฒนาประเทศ” จำนวน 60 หน่วยกิต เป็นเจตนารมณ์ของวิชชาลัยที่จะส่งเสริมให้อาสาสมัครทางสังคม มีความรู้ในระดับปริญญาเอก ในระดับที่เป็นมาตรฐานสากล ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จะต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารวิชชาลัยเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้นำชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังจะต้องมีความสามารถในวิเคราะห์และกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อเป็นนโยบายแห่งรัฐต่อไป ซึ่งจะทำหน้าภาคประชาชนและภาคประชาสังคม มีความรอบรู้เพียงพอที่จะทำงานกำหนดนโยบายต่าง ๆ  ร่วมกับนักวิชาการในส่วนกลาง นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงความสามารถในการทำงานร่วมบริษัทที่ปรึกษาที่ทำงานยกร่างนโยบายต่าง ๆ ด้วย

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

เป็นอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่ม  องค์กรชุมชน องค์กรภาคประชาชน หรือองค์กรภาคประชาสังคม เช่น อสม., อพม., อาสาสมัครอื่น ๆ หรือเป็นผู้นำชุมชนและสังคม ที่มีจิตอาสาทำงานเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

 

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

วิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นตระหนักว่า อาสาสมัครและผู้นำชุมชนในประเทศของเรา เป็นคนมีรายได้น้อย มีรายได้ไม่แน่นอน แต่เป็นบุคคลที่ขับเคลื่อนสังคมในระดับรากหญ้าที่แท้จริง  เป็นบุคคลที่มีความปรารถนาต่อการศึกษาเรียนรู้  ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของบุคคลเหล่านี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสังคม

อาสาสมัครและผู้นำทางสังคม ขาดองค์กร หน่วยงาน ที่สนับสนุนด้านการศึกษาที่เป็นระบบ ระยะยาวที่เป็นฐานองค์ความรู้สำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาเขต สภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการทุกกระทรวง พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรอิสระ องค์การมหาชน หรือแม้แต่ธุรกิจเอกชน  ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อช่วยเหลือเรื่องการศึกษา เพื่อให้เข้ารับการศึกษาที่สูงขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น วิชชาลัยชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จึงมีแนวทางที่ชัดเจนที่จะให้ผู้เข้าศึกษาทุกคน ได้เข้าศึกษาในหลักสูตรของสถาบันในรูปแบบของนักศึกษาผู้รับทุนการศึกษาจากวิชชาลัยทุกคน โดยวิชชาลัยจะจัดหา เชิญชวน และเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก มาร่วมทำการสอนแบบจิตอาสาเช่นเดียวกัน และเมื่อนักศึกษาทุกคนที่รับทุนการศึกษาจากวิชชาลัยแล้ว สำเร็จการศึกษา ก็จะทำหน้าที่เป็นผู้สอนจิตอาสาให้กับรุ่นหลัง ๆ ต่อไปอีก ซึ่งจะกลายเป็นสถาบันแห่งการรับใช้ของผู้มีจิตอาสาเต็มรูปแบบ

อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีจิตอาสาของวิชชาลัยทุกคน จะได้รับการทุนให้ศึกษาในระดับที่สูงขึ้น จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทุกคน เพื่อให้เป็นบุคลากรของวิชชาลัยที่มีคุณภาพมากที่สุด 

สำหรับผู้ที่จะทำหน้าทีบริหารจัดการหลักสูตร ทำหน้าที่ประสานงาน ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของวิชชาลัย รวมไปจนถึงสถานที่ที่จะใช้ในการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนท้องถิ่นต่าง ๆ ทางวิชชาลัยก็จะต้องมีผู้มีจิตอาสาอำนวยความสะดวก โดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีค่าเช่าสถานที่ เพื่อให้ศูนย์การเรียนแต่ละท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์จากบุคคล และสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนที่มีอยู่แล้ว เช่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปจนถึงอาคารก่อสร้างของส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน สถานีอนามัย และสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศแล้ว

ศูนย์การเรียนแต่ละท้องถิ่นของวิชชาลัย อาจรับบริจาคเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากนักศึกษา และผู้มีจิตกุศล หรืออาจตั้งเป็นกองทุนเพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าดำเนินการที่จำเป็น

ดร.ศักดิ์  ประสานดี

 

หมายเลขบันทึก: 378004เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ฮามีดะห์ แก้วเก้าดวง

วิชชาลัยนี้เป็นสิ่งที่ดีดีมาก

เรียนเถอะครับ

ผมเองก็เรียนที่นี้เหมือนกัน

ตอนแรกก็ไม่มั้นใจนะ

แต่เรียนไปแล้วมีความมั่นใจมากๆๆขึ้นกว่าเดิม

ผมเองครับลืมบอกไป

ผมเรียนที่ศูนย์ตากใบครับผม

อนาคตที่สดใสรอเราอยู่

สวัดดีค่ะ

ดิฉันเรียนที่ศูนย์สุไหงโก-ลก น่ะค่ะ อยากแสดงความคิดเห็นว่า ควรเพิ่มรายละเอียดของแต่ละศูนย์ไว้น่ะค่ะ

เผื่อว่ามีคนสนใจจะเข้าไปดูรายละเอียด เช่น ศูนย์สุไหงโก-ลก ประดับปริญญาตรี และปริญญาโทร มีใครเป็นประธาน

แล้วมีหน้าที่ทำอะไร ใครเป็นผู้ดูแลศูนย์

ดร.ศักดิ์ ประสานดี

ขอบคุณสำหรับ นศ.ของเราทุกครับ

อยากให้ทุกคน post ข้อความมาแลกเปลี่ยนครับ

สวัสดีปีใหม่ ขอพรให้ท่านและครอบครัวท่านมีความสุข ความเจริญ

กระผมขอยกย่องผู้ก่อตั้งมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชน ที่ทำงานเพื่อสังคมจริง ๆ ครับ

สุดยอด

ขอให้ นศ.ของเรา มีความสุขกันทุกคนนะครับ

ผมเสียดาย อยากเรียนแต่ยังไม่จบ ม.6เลยครับ ช่วยแนะนำด้วยได้ไหมครับ คือเรียนและสอบเทียบแระสบการณ์ไปด้วยครับ อย่กเรียนจริงๆ และจะไปติดต่อเรียนได้ที่ไหนครับ

เรารับสมัครคนที่จบ ประถมขึ้นไป สนใจติดต่อผมโดยตรง [email protected] หรือ 081 300 6188
ยุคนธร ใช่พี่สุธีร์หรือเปล่า ???? ขอโทษหากเป็นคนละคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท