เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

การลงทุนระหว่างประเทศ


การลงทุนและปัญหาการลงทุน

                                                            การลงทุนระหว่างประเทศ                                           หมายถึง      การลงทุนระหว่างประเทศ คือ   การที่ผู้ประกอบการของประเทศหนึ่งนำเงินทุน สินทรัพย์ และเทคโนโลยีไป   ลงทุนในอีกประเทศหนึ่งโดยที่ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจการได้ด้วยการเข้าไปถือหุ้นสัดส่วนจำนวนหนึ่ง ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นที่ทำให้สามารถเข้าไปควบคุมกิจการได้จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไปแล้วการถือหุ้นสามัญหรือหรือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงประมาณ สิบถึงยี่สิบห้าเปอร์เซ็นก็จะมีสิทธิเข้าบังคับควบคุมธุรกิจระหว่างประเทศได้    

                                                       กฎหมายส่งเสริมการลงทุน
กฎหมายฉบับแรกที่ตราขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน ได้แก่ พ.ร.บ. ส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2497 และต่อมาภายหลังก็ได้มีการปรับปรุงกฎหมายอีกหลายครั้งเพื่อให้เกิดผลในการส่งเสริมการลงทุนได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสาระสำคัญของกฎหมายยังคงเดิม คือ 1) การให้หลักประกันด้านการลงทุน เช่น รัฐจะไม่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแข่งขันและจะไม่โอนกิจการอุตสาหกรรมของเอกชนมาเป็นของรัฐ (สืบเนื่องจากสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมีนโยบายปรับบทบาทจากการลงทุนในอุตสาหกรรมเอง เป็นการสนับสนุนเอกชนให้เป็นผู้ลงทุน) และ 2) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยกเว้นอากรขาเข้า และภาษีการค้าวัตถุดิบ และลดหย่อนอากรขาเข้าและภาษีการค้าวัตถุดิบ
 
กฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันได้แก่ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้ว 2 ครั้ง เพื่อให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ โดย พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 
 
                                                       สิ่งจูงใจในการลงทุนของต่างชาติ

AIA : เครื่องมือวิเศษที่ใช้ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
ตั้งแต่ปี 2538 กลุ่มประเทศอาเซี่ยนได้ร่วมกันสร้างเครื่องมือวิเศษที่มีอยู่หนึ่งเดียวในโลก เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้นำผลประโยชน์มาสู่กลุ่มของตน นั่นคือการลงนามข้อตกลงเขตการลงทุนอาเซี่ยน หรือ AIA (Asean Investment Area ข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมการลงทุนในเขตประเทศอาเซี่ยน) ทุกวันนี้ ยังไม่มีเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นใดในโลก ที่สามารถร่วมกันสร้า้งข้อตกลงในรูปแบบนี้ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากนักลงทุนได้ดีเยี่ยมเท่ากลุ่มประเทศอาเซี่ยน
นโยบายดังกล่าวยังจะสามารถนำกระแสการลงทุนจากต่างชาติ ไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซี่ยน อันได้แก่ประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม หากประเทศเหล่านี้ยินยอมที่จะมองข้ามอุดมการณ์ หรือผลประโยชน์แห่งชาติตนไปบ้างเพื่อ เข้าร่วมกับนโยบายส่วนรวมของภูมิภาค                                                     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย 

ปัญหาแรก "ราคาน้ำมัน" ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายออกมาเตือนกันมาก แต่นโยบายและพฤติกรรมการบริหารที่ผ่านมา ได้มองข้าม ไม่จัดการไปตามเหตุผล พร้อมกับมีความมั่นใจตัวเองสูงว่า รู้เท่าทันทุกเรื่องและจะจัดการแก้ไขได้ไม่ยากนักแต่เมื่อเอาเข้าจริง คือเมื่อ "ราคาน้ำมัน" ได้พุ่งขึ้นสูงและแพงต่อเนื่องจนก่อปัญหากระทบเกี่ยวโยงไปกับเรื่องอื่นหลายเรื่อง นอกจากสภาวะราคาสินค้าแพงแล้ว ยังส่งผลกดดันสำคัญอีก 2 เรื่อง

 คือ1.1 ปัญหา "เงินเฟ้อ" สูง ซึ่งจะส่งผลทำให้ธุรกิจเอกชนลำบาก ค่าครองชีพของประชาชนพุ่งสูงขึ้นและหากคุมไม่อยู่ จะกระทบต่อเนื่องไปถึงปัญหาการจ้างงานและปัญหาสังคมในที่สุด

1.2. ปัญหา "การขาดดุลทางการค้า" ซึ่งรายการสำคัญนั้นมาจากการนำเข้าน้ำมันและวัตถุดิบ ซึ่งหากจำกัดขอบเขตไม่ได้หรือแก้ไขไม่ทัน ก็จะส่งผลต่อด้านอื่นๆ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของประชาชนได้เช่นกัน2 ปัญหาขาดเงินออม เพราะขาดการดูแลมานานเกินไป ซึ่งทำให้เป็นปัจจัยกดดันและกระทบต่อความเชื่อต่อโครงการในฝันของรัฐบาลที่คิดทุ่มเงินจะทำเมกะโปรเจกขนาดใหญ่ 

3.ปัญหาราคาสินค้าที่พุ่งสูง ทำให้เงินในกระเป๋าที่เหลือของประชาชนมีน้อยลง ส่งผลทำให้ระมัดระวังตัวในการบริโภค และจะเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการทำให้เศรษฐกิจโตต่อไปได้

4..ปัญหาที่ต้องถือเป็นจุดอ่อนที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นได้ คือ ความเชื่อใน "กลยุทธ์และวิธีการบริหาร" โดยเฉพาะในขณะที่ต้องมีการเร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจขาลง โดยเร่งฟื้นฟูสถานการณ์ให้คืนกลับสู่สภาพเดิมภายหลังการเกิดวิกฤติหนักๆ แล้ว เช่น ภัยจากสึนามิที่กระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งควรต้องมีกลยุทธ์และมาตรการบริหารที่ต่างจากเดิม แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ยังคงเป็นการเน้นใช้ "กลยุทธ์ทำกิจกรรมทางการตลาด" ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มักใช้ไม่ได้ผลในสภาวะที่มีข้อจำกัดมากและเศรษฐกิจเป็นขาลง

 5.. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งตอนนี้ก็ถือว่าเป็นปัญหาที่น่าวิตกกังวลมากสำหรับประเทศไทย   

  เพราะฉะนั้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่น่าวิตกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะมันจะแสดงถึงภาพลักษณ์ของประเทศและมันก็จะเกี่ยวโยงไปถึงความมั่นใจของต่างชาติในการลงทุนในประเทศไทย

ที่มา  การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ อาจารย์ กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์         www.efpo.efpo.go.th         www.doae.go.th/link.htm 

หมายเลขบันทึก: 37750เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอโทษค่ะ  อยากได้ข้อมูลของ  "เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ " เช่น อเมริกา เม็กซิโก แคนาดา อาเซียน  ว่าคืออะไรเพราะว่าต้องเอาไปทำรายงานค่ะ

 

รบกวนหน่อยนะค่ะ

อยากทราบว่าประเทศไทยมีอะไรดีที่ทำให้ต่างชาติอยากมาลงทุน

ช่วยตอบกลับด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จุฑารัตน์ แซ่ตั้ง

อยากทราบรายละเอียดเนื้อหาของทฤษฏีวงจรชีวิตและการลงทุนระหว่างประเทศ ช่วยตอบกลับด้วยนะค่ะ เพราะหนูต้องการนำข้อมูลไปทำรายงานค่ะ ขอบคุณค่ะ

   สวัสดีค่ะ

       แล้วข้อดีข้อเสียในการลงทุนระหว่างประเทศมีอะไรบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท