KA: จากฝ่ายปฏิบัติการสถิติ


ขั้นตอนในการปฏิบัติงานสนาม


            วันนี้สำนักงานสถิติฯ ขอนำเสนอ KA ของฝ่ายปฏิบัติการบ้างนะครับ  ก่อนอื่นผมต้องขอกล่าวถึงภารกิจหลักขอสำนักงานสักเล็กน้อย  สำนักงานสถิติประกอบด้วยงาน 2 ด้านคือ
 
              1.งานด้านวิชาการและวางแผน

              2.งานปฏิบัติการสถิติ 

               สำหรับวันนี้คงจะไม่กล่าวถึงฝ่ายวิชาการมาก...ฟังแล้วซีเรียสมาก.......แต่ผมจะกล่าวถึงฝ่ายปฏิบัติการฯ ข้อมูลที่ดีและน่าเชื่อถือนั้นต้องดีและมีคุณภาพมากจากงานสนาม เราลองมาดูกันซิว่าฝ่ายปฏิบัติการฯเค้ามีขั้นตอนการวางแผนก่อนการออกไปเก็บข้อมูลกันอย่างไร ?

                 ขั้นตอนในการปฏิบัติงานสนาม

 

  1. การเตรียมการอบรมในการปฏิบัติงานโครงการต่างๆ จะต้องมีการอบรมชี้แจงงานของแต่ละโครงการ ให้เจ้าหน้าที่ที่จะออกไปปฏิบัติงาน ได้มีความรู้ความเข้าใจในงานนั้นๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้อบรมชี้แจงได้รับการถ่ายทอดมาจากส่วนกลางอีกขั้นตอนหนึ่ง

  2. การแบ่งปริมาณงานให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในการปฏิบัติงานแต่ละโครงการจะต้องแบ่งพื้นที่การปฏิบัติงาน ให้ชัดเจนว่าแต่ละคนจะรับผิดชอบพื้นที่ในการปฏิบัติงานที่ไหน

  3. การแนะนำการใช้แผนที่ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในการปฏิบัติงานแต่ละโครงการจะมีทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ในส่วนของในเขตเทศบาลจะมีแผนที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแผนที่เป็นอย่างดี

หลักเกณฑ์การใช้แผนที่

      1. จะต้องหันแผนที่ไปทางทิศเหนือเสมอ เพื่อที่จะหาจุดที่เป็นหลักในการปฏิบัติงาน

      2. ในการปฏิบัติงานจะต้องเดินวนไปทางขวาของแผนที่จนกว่าจะหมดเขตปฏิบัติงานใน หน่วยย่อยของเขตงานนั้นแล้วจึงเริ่มเดินวนขวาใหม่จนกว่าจะหมดเขตปฏิบัติงานทั้งหมด

    1. ให้เจ้าหน้าที่ออกงานสนาม ตามที่ได้รับมอบหมายจากการแบ่งงานแล้วกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานในแต่ละโครงการให้ชัดเจน

    2. การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล มี 2 ลักษณะ

      1. ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลจากแบบที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติแล้วเสร็จเพื่อดูว่ามีการบันทึกข้อมูล ได้ถูกต้องครบถ้วน แนบนัยหรือไม่

      2. ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลในงานสนาม หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการจะต้องออกไปตรวจสอบคุณภาพข้อมูลในงานสนามโดยการสุ่มตัวอย่าง และสอบถามครัวเรื่อนที่ตกเป็นตัวอย่างในบางข้อถามที่เห็นว่ามีความสงสัยอยู่หรือสอบถามข้อมูลใหม่ทั้งหมดก็ได้

    3. ตรวจสอบการบรรณาธิกรด้วยมือ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบิตงานสนามเสร็จแล้วจะต้องมีการบรรณาธิกรลงรหัส ในแบบสอบถามซึ่งมีคู่มือในการบรรณาธิกรลงรหัส ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

    4. ดูแลการจัดส่งแบบโครงการต่างๆ เข้าส่วนกลางให้ทันตามที่กำหนดเพื่อจะได้ประมวลผลต่อไป บางโครงการก็สามารถประมวลผลได้ที่สำนักงานสถิติ ซึ่งจะทำให้ได้ผลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

                          หลังจากที่ได้ทราบตามนี้แล้วกระผมหวังว่า  ผู้ที่มาขอใช้ข้อมูลจากสถิติคงจะมีเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นบ้างนะครับไม่มากก็น้อยละครับ....         

                                         

        

    
หมายเลขบันทึก: 3769เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนได้ดี ครับ ขอให้พัฒนาเรื่อยๆ ฝากความคิดถึง ฝ่ายฯมดด้วย ว่างๆ say hello มาคุยกันหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท