การจัดการเรียนรู้ "สู่โลกกว้าง"


การปฏิรูปการเรียนรู้ศิษย์กับครูเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

ในโลกยุคดิจิตอลหรืออาจเรียกว่ายุค finger trust เพียงปลายนิ้วสัมผัสบรรดาข้อมูล
ข่าวสารก็แทบจะไหลบ่ามาอย่างท่วมท้น  สิ่งที่เข้ามาอาจมีทั้งองค์ความรู้ Knowledge
หรือมีขยะปะปนมาด้วย  หน้าที่ของผู้อ่านต้องสามารถคัดแยกขยะออกจากความรู้ให้ได้
ตรงนี้แหละที่ต้องอาศัยกระบวนการจัดการความรู้ KM: Knowledge Management

ทุกวันนี้บทบาทการจัดการความรู้ไม่ได้อยู่ที่อยู่ในสถานศึกษาเสมอไป แต่ความรู้
มีอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่ในสถานที่ที่ไม่มีความรู้ก็สามารถนำมาเป็นความรู้ได้

ความคิดดั้งเดิมผู้ที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เรียกว่า"ครู" ส่วนผู้รับเอาความรู้เรียกว่า"ศิษย์"
ปัจจุบันก็ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีเช่นนี้อีก  แต่บทบาทใหม่ในยุคปฏิรูปการเรียนรู้
ต้องยอมรับว่า "ศิษย์กับครูสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน"  บางครั้งครูอาจเรียนรู้จากศิษย์
ในสิ่งที่ครูไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ขณะเดียวกันศิษย์ก็จะได้รับประสบการณ์ ความรู้
จากคำแนะนำสั่งสอนของครูแล้วนำมาบูรณาการเป็นองค์ความรู้

สิ่งที่น่าวิตกสำหรับสังคมไทยในวันนี้ ผู้เขียนไม่ได้ห่วงว่าคนจะไม่มีความรู้ หากแต่
เป็นห่วงว่า "คนจะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้ในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่"
เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยสามารถรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารจากสื่อหลากหลายชนิด ทั้งสื่อสารมวลชนทุกแขนงและสื่ออิเลคทรอนิกส์

หน้าที่ของครูคงไม่เพียงแต่จะสอนให้ผู้เรียนรู้จักเลือกบริโภคข้อมูล ข่าวสารที่เป็น
ประโยชน์เท่านั้น แต่ที่ท้าทายความสามารถของครูคือการสอนให้ผู้เรียนรู้จักการ
จัดการความรู้ นั่นหมายถึงการสอนให้รู้จักเครื่องมือหรือวิธีหาปลา ซึ่งผู้เรียนสามารถ
จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ตามบริบทที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน

สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้ "สู่โลกกว้าง"  สามารถสรุปได้ดังนี้

ประการแรก  ครูต้องยอมรับและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ทั้งของไทยและในระดับสากล  ดังนั้นครูจึงต้อง
เป็นนักอ่าน นักวิเคราะห์เจาะลึก ไม่ใช่เป็นเพียงผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเท่านั้น
ก่อนที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นเฉกเช่นที่ครูต้องการ

ประการต่อมา ครูต้องเป็นนักจัดการความรู้ KM :Knowledge Manager                             เนื่องจากความรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง สามารถเรียนรู้ได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 
ดังนั้นการจัดการความรู้จะทำให้ได้รับประโยชน์จากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน  มากกว่ารู้เพื่อรู้

ประการสุดท้าย   ครูต้องเป็นนักฉวยโอกาสที่สร้างสรรค์ หมายถึงการรู้จัก
แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส  เช่น ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยจะสนใจสื่อ
เทคโนโยลีที่ทันสมัย  ครูต้องให้การสนับสนุนและช่วยเหลือแนะนำในสิ่งที่ถูก
ที่ควร มากกว่าการสกัดกั้นหรือห้ามไม่ให้ไปเกี่ยวข้อง

ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วครับที่เราจะมาร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจสร้างสรรค์
สังคมไทยให้น่าอยู่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งไม่ต้องรอวัน
เวลาหรือรอเงินประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล  ผมเชื่อว่าทุกท่านทำได้
และทำได้ดีด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3765เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

km  คือ กระบวนการที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร  เพื่อสร้างและให้ความรู้ในการทำงานให้เกิดสัมฤทธิ์ผลดีขึ้นกว่าเดิม

 หลักการจัดการความรู้  4  ประการ (วิจารณ์  พานิช,2547:5)

1.  ให้คนหลากหลายทัศนะ  หลากหลายวิธีคิดทำงานนั้นอย่างสร้างสรรค์  ถ้าหากภายในองค์กรมีความเชื่อ  หรือวิธีคิดแตกต่างกัน  การจัดการจะมีพลังซึ่งความแตกต่างหลากหลาย  มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน

2.  ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้  ได้แก่  การตอบสนองความต้องการ  นวัตกรรม  ขีดความสามารถ  ประสิทธิภาพ

3. ทดสอบและเรียนรู้  เนื่องจากกิจกรรมจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์  คือ การคิดแบบหลุดโลก จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงของโลก  โดยทดลองทำเพียงน้อย ๆ ถ้าล้มเหลวก็ไม่มากนัก  ถ้าได้ผลดีก็ขยายให้มากขึ้น  จนที่สุดขยายป็นวิธีทำงานแบบใหม่

4.  การนำความรู้จากภายนอก 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท