ปลาหมึกมหาภัย


รองเท้าแตะแบบคีบ เบาหวาน แผลที่เท้า เปาโล อารยา

ปลาหมึกมหาภัย วันก่อน เจอ คนไข้เบาหวาน มาให้รักษาแผลที่นิ้วเท้า ที่เป็นมานานกว่า 3 เดือน มาจากเชียงใหม่ครับ พอดีตอนออกจากบ้าน หารองเท้าของตัวเองไม่เจอ เลย แฮ๊บ เอารองเท้าปลาหมึกของลูกสาวมาใส่ (ผมชอบเรียกรองเท้าแตะแบบคีบซอกนิ้วโป้งว่า ปลาหมึกครับ) นั่งรถทัวร์ มาหลายชั่วโมง กว่าจะมาถึงโรงพยาบาลได้ พอมาขึ้นเตียงตรวจ จึง พบว่ามีแผลที่คนไข้ไม่ทราบอีกตำแหน่งคือที่ First web space ( 9%ของคนไข้ที่มีแผลเบาหวานที่เท้า ไม่ทราบว่าเป็นแผลจนมาได้รับการตรวจ ) ผมเลยต้องรักษาแผลทั้งแผลดั้งเดิมและแผลใหม่ ดีที่คนไข้ไม่มี Complication อื่นร่วมด้วย ไม่มี Angiopathy ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี เลยใช้เวลาไม่มาก ประมาณ1 สัปดาห์ จนหายและกลับบ้านอย่างมีความสุข พร้อมให้สัญญาว่าจะไม่ใส่รองเท้าแตะปลาหมึกมหาภัยอีกเลย 

หมายเลขบันทึก: 37609เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
น่าสนใจมั๊กๆๆคะ ไม่น่าเชื่อนะคะว่ารองเท้าแตะจะน่ากลัวถึงเพียงนี้ รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยคะ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่เคยมีประวัติเกิดแผลที่เท้า จะมีวิธีจูงใจให้เลิกใส่รองเท้าแตะอย่างไรคะ  
การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของคนไข้ เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งในสายงานของ Diabetic Educator ผมเชื่อเสมอว่าการสร้าง ความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างคนไข้และผู้ให้การรักษา และทีมงาน (แน่นอนว่า DE คือผู้ให้การรักษา ในทีมดูแลผู้ป่วย มิใช่ผู้ที่พูดตาม Script นะครับ) Trust ของคนไข้ต่อ DE สามารถเพิ่มขึ้นเมื่อ คนในทีมส่งกริยาหรือคำพูดที่มีพลังให้ไปผมเรียกว่า การEdify ครับ ครั้งหน้าผมจะขอพูดเรื่องการ Edify ในแง่ลึกอีกที ทีนี้ เมื่อผมส่งบทบาทและบารมีให้ คนไข้จะหันมามองที่DEตาแป๋วเลยหล่ะ ทีนี้ก็ต้องอาศัยคุณสมบัติที่ 2 คือการเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี(Story telling)ไว้เดี๋ยวเราจะมารวมกลุ่มลองเล่าเรื่องเด็ดๆกันครับ

Ah!  ถ้าพยาบาล เริ่มมีปัญหา Lt. big toe เริ่มมีอาการชาได้ 6 เดือนแล้ว สาเหตุเกิดจากอะไรได้ บ้าง จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องทานยามั๊ยคะ (โรคประจำตัว : ภูมิแพ้ทานยา prn)

รออ่าน เรื่องการ Edify ของอาจารย์อยู่นะคะ (DE12)

อยากให้คนไข้หันมามองตาแป๋วแล้วคะ

     อาจารย์ค่ะ ที่รพ.ของดิฉันมีผู้รับบริการที่ใส่เจ้าปลาหมึกมหาภัยนี้จำนวนค่อนข้างมากเลยค่ะ ผู้รับบริการส่วนใหญ่ ดูมีฐานะ(ฐานะยากจน) การให้คำแนะนำเรื่องปรับเปลี่ยนรองเท้า บางครั้งก็ลำบากใจเหมือนกันที่จะให้ผู้ป่วยซื้อรองเท้าใหม่ แต่ก็จำเป็นคือต้องทำให้เขาเกิดความตระหนักก่อน การที่จะให้เกิดการเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เราจะต้องชี้ให้เห็น หรือสร้างความตระหนักให้เกิดแก่ผู้ที่จะดูแลตนเอง การเรียนรู้จากสมาชิกในกลุ่มของตนเอง สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัวเพื่อช่วยหรือเป็นแรงกระต้นให้แก่ผู้เป็นเบาหวาน ยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สร้างการรับรู้ที่เข้าใจง่ายๆและเชื่อมโยงเข้ามาสู่ตนเองได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับวิถีการดำรงชีวิติของตนเอง  จะรออ่าน เรื่องการ Edify ของอาจารย์เช่นกันเพื่อจะขอนำมาปรับใช้ในการทำงานด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท