ยุทธศาสตร์การวิจัยกลุ่มจังหวัด : ภาคเหนือ


ขอเป็นกำลังใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านให้สามารถช่วยกันสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติในเชิงบูรณาการที่มีผลในทางปฏิบัติจริงด้วยเถิด

         วันอังคารที่ 6 ก.ย.48 ผมเข้าร่วมประชุมเพื่อประชาพิจารณ์ยุทธศาสตร์การวิจัยกลุ่มจังหวัด (ภาคเหนือ) ซึ่งเป็นโครงการที่ วช.จ้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รศ.เพทาย พงษ์เพียจันทร์) เป็นคณะนักวิจัย ผมพร้อมกับคณาจารย์ในเขตภาคเหนือตอนล่างอีกหลายท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมทำประพิจารณ์

         ความจริงเรามีการจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศมาแล้วถึง 6 ฉบับ เริ่มฉบับที่ 1 (ระหว่างปี 2520-2524) ปัจจุบันคือฉบับที่ 6 (ระหว่างปี 2545-2549) ซึ่งทั้ง 6 ฉบับรวมเวลาเกือบ 30 ปี ผมเข้าใจเองว่าเราได้นำเอายุทธศาสตร์เหล่านี้มาใช้ในทางปฏิบัติน้อยมาก (ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้) และนี่คงเป็นสาเหตุหลักอันหนึ่งที่ทำให้ทิศทางการวิจัยของชาติกระจัดกระจายและไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เป็นระบบวิจัยที่อ่อนแอ จึงได้มีความพยายามที่จะทำกันในเชิงบูรณาการในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ

         ปีนี้ วช.แบ่งจ้างให้ทำวิจัยเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยเป็น 4 ภาค ภาคเหนือให้ มช.ทำ ภาคใต้ให้ ม.วลัยลักษณ์ทำ ภาคอีสานให้ มข.ทำ ภาคกลางให้ ม.เกษตรศาสตร์ทำ แล้วจะต้องนำมารวมกัน เสนอให้เป็นมติ ครม.ก่อนเผยแพร่ให้ใช้อย่างเป็นทางการ ขณะนี้กระบวนการต่าง ๆ ยังไม่สิ้นสุดครับ 

         ผมสังเกตกระบวนการแล้วก็อดหวั่นใจไม่ได้ว่า ในทางปฏิบัติจะมีอะไรดีขึ้นหรือไม่ เนื่องจากมีเวลาในการจัดทำค่อนข้างน้อย (ไม่ถึง 3 เดือน) ขอเป็นกำลังใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านให้สามารถช่วยกันสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติในเชิงบูรณาการที่มีผลในทางปฏิบัติจริงด้วยเถิด

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 3759เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท