ตีความใช้ Appreciative Inquiry กับทีม ตอนที่ 1


ทำอย่างไรให้คนเปิดใจและคุยกันมากขึ้น

         เมื่อวาน (5 ก.ค.49) มีโอกาสได้นำเสนอเรื่อง Appreciative Inquiry with Teams ในที่ประชุม Weekly Meeting    บทนี้เป็นบทที่ 12 ของหนังสือ Appreciative Inquiry ที่ อ. วิจารณ์เปิดโอกาสให้ทุกคนใน สคส. ได้อ่านและตีความ 

         หลังจากได้อ่าน (แบบรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้างเพราะเป็นบทความภาษาอังกฤษ) จึงตีความในแบบที่ตัวเองเข้าใจ   และดีที่ได้พวกพี่ ๆ ใน สคส. ช่วยแปลคำบางคำที่ค่อนข้างยาก  ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ (โดยเฉพาะพี่แกบ และพี่แอน - buddy AI)


         คนเขียนในบทนี้คือ Mr. Gervase R. Bushe Ph.D.  อ่านแล้วไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย  โดยส่วนใหญ่เป็นการเล่าตัวอย่างที่ได้ทดลองทำวิจัยในทีม 3 ทีมโดยนำ AI มาใช้เป็นเครื่องมือ  สาเหตุที่คุณ Gervase ทำการวิจัยนี้เนื่องจากว่าเขาคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนสนทนากันในกลุ่มเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่,  คุณลักษณะแบบใหม่   และก็คิดได้ว่า Appreciative Inquiry เป็นเครื่องมือหนึ่งของ AR (Action Research) ที่สามารถช่วยให้เกิดตามที่คิดไว้

คุณ Gervase ได้แบ่งทีมออกเป็น 3 ทีม
1. Best Teams "ทีมยอดเยี่ยม"
2. New Teams "ทีมสร้างใหม่"
3. On-going Teams "ทีมระหว่างดำเนินงาน"

         ส่วนรายละเอียดของแต่ละทีมจะเป็นอย่างไร  ติดตามอ่านในตอนหน้าค่ะ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 37494เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากทราบว่า 3 ทีม แตกต่างกันอย่างไรค่ะ ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท