บทบาทของสภามหาวิทยาลัยต่อระบบอุดมศึกษา



            วันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๓ ผมต้องไปเป็นวิทยากร ในหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาอุดมศึกษา ที่เน้นไม่บรรยาย แต่เน้นกระตุ้นการ ลปรร. ของนายกสภา และกรรมการสภา จำนวน ๓๒ คน   ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์เพียบ   บางท่านเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา   หลายท่านเคยเป็นรัฐมนตรีหรือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


           ผมเองไม่ค่อยแม่นรายละเอียด จึงหาแผนอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ ๒ พศ ๒๕๕๑ - ๒๕๖๕ มาอ่าน   โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต แล้ว download เข้าไปเก็บไว้ใน iPad อ่านสดวกดี


          เมื่อเปิดอ่านผ่านๆ ก็ปิ้งแว้บว่า สภามหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะดูแลสถาบันของตนเท่านั้น แต่ต้องช่วยกันดูแลอุดมศึกษาในภาพรวมด้วย ในลักษณะที่มีสัดส่วน ๘๐ : ๒๐   ซึ่งเมื่อเอาแนวคิดนี้ไปเสนอต่อที่ประชุม ก็มีผู้บอกว่าเห็นด้วย   ว่าสภามหาวิทยาลัยต้องไม่เพียงดูแลมหาวิทยาลัยของตนเท่านั้น    ต้องมีส่วนร่วมกันสร้างวิวัฒนาการของระบบอุดมศึกษาของชาติด้วย 

         การช่วยกันสร้างวิวัฒนาการของระบบอุดมศึกษาไทยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนยิ่ง   ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่หลากหลาย   เอกสารแผนอุดมศึกษาระยะยาว แผนที่ ๒ ระบุว่าต้องคำนึงถึงปัจจัย ๑๑ ประการคือ

 รอยต่อการศึกษาระดับอื่น


 การแก้ปัญหาอุดมศึกษา- การจัดกลุ่มอุดมศึกษา


 ธรรมาภิบาลและการบริหาร


 การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อการแข่งขัน – ระบบวิจัยและนวัตกรรม

 

 การเงินอุดมศึกษา


 ระบบการพัฒนาบุคคลากร


 เครือข่ายอุดมศึกษา


 เขตพัฒนาเฉพาะภาคใต้


 การพัฒนานักศึกษาแบบบูรณาการ


 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้

 

 คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

 

       สำหรับเรื่องเขตพัฒนาเฉพาะภาคใต้นั้น เป็นเรื่องลดความขัดแย้งในสังคม   ซึ่งตอนยกร่างแผนอุดมศึกษาระยะยาวในปี ๒๕๕๐ เราเห็นเฉพาะความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดภาคใต้   แต่บัดนี้ต้องมองไปทั่วทั้งประเทศ ๗๖ จังหวัดแล้ว

 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๙ มิ.ย. ๕๓

        

หมายเลขบันทึก: 374880เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากการที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมามากกว่า 40 ปี ผมมีความรู้สึกว่า เรายังไม่รู้ว่าเขาบริหารมหาวิทยาลัยกันอย่างไร

โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ เราได้ใช้ระบบราชการเข้ามาจับ หลายคนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศก็ไม่รู้ว่าเขาบริหาร

ทำงานกันอย่างไร เพราะก้มหน้าก้มตาเรียนเพื่อให้จบ แล้วมาสอน และมาเป็นผู้บริหารตามความสารถของแต่ละคน

ไม้มีการอบรมกันอย่างถูกวิธี ตัวอย่างง่ายๆ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าระดับปริญญาตรีก็ยังวุ่นวาย เรามีการสอบรวม

ตั้งแต่ปี 2504 ระบบมันควรจะดีกว่าปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท