การวิจัยกับการจัดการความรู้ ความแตกต่างที่เหมือนกัน


การวิจัยกับการจัดการความรู้ : ทำ KM เพราะกระสัน...หรือ

เคยได้รับอีเมล์จากอาจารย์หมอจิตเจริญเกี่ยวกับแรงบันดาลในในการทำKm มีข้อความลง Blog_KKU_KM ครับ และ มี File เรื่อง KM กับงานวิจัย และ แผน ยุทธศาสตร์ มข ส่งให้พวกเราดูว่า เราทำ Km เพราะ กระสั... หรือ ครับ โดยAAR ของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม
๒๕๔๘ได้ดำเนินการติดตามและทำความเข้าใจกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งขณะที่เรากำลังประชุมกัน มีประเด็นที่ผมฟังแล้วรู้สึกผิดหวังเพราะว่านักวิจัยท่านหนึ่งเล่าว่า งานวิจัยกับ KMมันเป็นคนละเรื่อง และ พวกที่ทำ KM ต้องมีความกระสั....( ขออนุญาต ไม่เขียนตัวเต็มครับ) ถึงมาทำกันทีมงานได้พยายามสื่อความให้ฟัง ถึงการทำ KMไม่ใช่ว่าเรากระสั.... แต่เราต้องการพัฒนาคน ( นักวิจัยทั้งหน้าใหม่หน้าเก่า ) และ พัฒนางาน ( งานวิจัยสู่การนำมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน หรือพัฒนาชุมชน)ผมเลยอยากตั้ง หัวปลา ให้พวกเราที่ทำ หรือ สนใจ KM ว่าเรามาทำ KM เพราะความ กระสั... จริงหรือ

เมื่อได้อ่านผมก็เกิดความรู้สึกอยากเขียนอะไรบางอย่างครับก็ได้ส่งไปให้อาจารย์หลายท่านได้อ่านในชื่อเรื่อง การวิจัยกับการจัดการความรู้ ดังนี้ครับ

แค่แรงบันดาลใจว่าทำจากอะไรก็เริ่มตั้งแง่ถกเถียงกันแล้วหรือครับ การที่บอกว่านักจัดการความรู้ทำการจัดการความรู้เพราะว่ากระสัน นั้น บางทีคำว่ากระสันอาจจะทำให้เกิดความล่อแหลมในการฟังหรือเข้าใจได้ ถ้าเป็นคนคิดมาก เพราะส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับความรู้สึกทางเพศ ทำให้บางคนกลัวที่จะใช้คำนี้ จริงๆแล้วผมได้แอบขโมยแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้เพราะอะไร จาก 3 กระ ของอาจารย์หมอพิเชฐ อุดมรัตน์ซึ่งผมค่อนข้างชอบเพราะสื่อได้ตรงใจดีคือกระแส กระสุนและกระสัน ที่มาจากภาษาอังกฤษคือFashion, Budget, Passion แต่ผมได้เพิ่มไปอีก 1 กระ คือกระสับกระส่ายหรือPolicy ดังนั้นคำว่ากระสัน จึงเป็นการเล่นคำเพื่อสื่อฟังแล้วเข้าใจง่าย เป็นการจัดการความรู้แบบที่ผู้ทำมีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำด้วยเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้น เข้าทำนอง ใฝ่ดี นั่นเอง แต่เนื่องจากคำว่ากระสัน จะสื่อให้หวาดเสียวไปหน่อย อาจารย์หมอวิจารณ์จึงได้เสนอ ให้ใช้คำว่ากุศลแทน โดยเราอาจไม่ใช้ 4 กระ แต่ใช้ 4 ก แทนก็ได้

นักวิจัยกับนักจัดการความรู้มีเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือการสร้างองค์ความรู้ โดยการวิจัยเริ่มจากปัญหา(Problem)แล้วใช้กระบวนการวิจัย(Methodology)หาคำตอบที่กลายมาเป็นความรู้ ในขณะที่การจัดการความรู้มองไปที่ความสำเร็จ(Success)แล้วมองย้อนออกมาว่าทำอย่างไรก็ได้เป็นความรู้ขึ้นมา(KM Process) การมองจากปัญหาจึงเต็มไปด้วยข้อสงสัย แต่การมองที่ความสำเร็จจึงมีความชื่นชม ปัญหาเป็นทุกข์ เป็นเรื่องเชิงลบ ในขณะที่ความสำเร็จเป็นสุข เป็นเรื่องเชิงบวก แต่สิ่งที่ได้ออกมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นกันคือความรู้ นักวิจัยและนักจัดการความรู้จึงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้และถือเป็นสิ่งสวยงามของสังคมที่จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆได้แต่แตกต่างต้องไม่แตกแยกและพร้อมที่จะยอมรับซึ่งกันและกันได้

การวิจัยเป็นวิธีการที่สามารถสร้างองค์ความรู้แก่สังคมมานาน สิ่งที่ได้จากการวิจัยซึ่งอาจเป็นตัวแบบหรือหลักการ ทฤษฎีต้องนำไปทดลองปฏิบัติจริงเพื่อพิสูจน์ว่าถูกต้อง ในขณะที่การจัดการความรู้ นำความรู้ที่ปฏิบัติสำเร็จแล้วมาถ่ายทอดได้เลย นอกจากการสร้างองค์ความรู้แล้ว การจัดการความรู้จึงสามารถพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรไปพร้อมกันได้เลย ได้ผลดีที่มีมิติกว้างกว่า แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยก็มีประโยชน์ยิ่งถ้าปัญหานั้นยังไม่มีใครทำได้สำเร็จ การวิจัยจะช่วยสืบเสาะหาคำตอบที่ดีได้ ดังนั้นการวิจัยและการจัดการความรู้จึงมีประโยชน์ทั้งคู่เป็นเพียงเครื่องมือของมนุษยชาติที่จะหยิบมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
หากมองให้ลึกขึ้นไปบางทีอาจจะเห็นว่าการวิจัยกับการจัดการความรู้เป็นเรื่องเดียวกันได้ถ้าไม่ยึดติดเฉพาะวิธีการของตน  หากไม่มีไอน์สไตน์ นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่เคยทำการทดลองใดๆด้วยตนเองเลยแต่สามารถจินตนาการได้อย่างแม่นยำว่าในที่สุดแล้วเมื่อความเร็วถึงจุดหนึ่งมวลจะกลายเป็นพลังงาน ในทำนองเดียวกัน ณ วันนี้มีการยอมรับกันแล้วว่าสิ่งที่เล็กที่สุดในตัวมนุษย์คือกลุ่มของพลังงานที่เรียกว่าคล๊าก(Clake) ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือเปล่า นั่นคือมวลและพลังงานในตัวมนุษย์ก็เป็นเรื่องเดียวกัน ในเรื่องการวิจัยหากมองสุดโต่งก็เป็นคนละเรื่องกับการจัดการความรู้ หากมองอย่างใกล้เคียงจะพบว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จะมีความเหมือนกับการจัดการความรู้เพราะเป็นการมุ่งไปหาความรู้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) การสังเกต การรวบรวมข้อมูลจากการเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ตามการรับรู้และความเข้าใจของผู้วิจัยแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ สรุปผลออกมาเป็นความรู้ หรือที่ยิ่งใกล้กันเข้าไปใหญ่ก็คือการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ถ้าไม่ยึดติดกับตัวกูของกู ไม่มีอุปทานในใจแล้ว สุดท้ายการวิจัยกับการจัดการความรู้จะเป็นเรื่องเดียวกันได้ หากยกตัวอย่างที่ผมคิดว่าคลาสสิกมากๆคือการค้นพบอริยสัจ4 ของพระพุทธเจ้าที่เริ่มจากปัญหา(ทุกข์) ทำการวิเคราะห์หาทางเลือกแล้วทดลองทำหลายๆทางจนพบทางที่ถูกต้องไปสู่การพ้นทุกข์ เกิดความสำเร็จคือนิโรธ แล้วนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศคือมรรคมาถ่ายทอดต่อ ซึ่งเป็นการจัดการความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ

 

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 3739เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2005 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทความที่น่าสนใจมากครับ  ผมเป็นนักวิจัยที่กำลังจะสวมบทเป็นนักจัดการความรู้  มีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันนะครับแล้วจะติดตามบทความเรื่อยๆครับ

ยอดเยี่ยมค่ะขอนำไปใช้งานและถ้ามีโอกาสจะมาแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ
     ผมมองเห็นเช่นนี้ครับว่า ในการจัดการความรู้มีการวิจัยอยู่ด้วย (ก็ได้) และในการวิจัยมีการจัดการความรู้อยู่ด้วย (ก็ดี) ครับ โดยสรุปขึ้นอยู่กับว่า เราใช้อะไรเป็นฐาน ใช้อะไรเป็นเครื่องมือ แต่สุดท้ายปลายสุดคือการพัฒนาคน งาน และองค์กร ครับ
ขอบคุณคุณชายขอบครับ ช่วงนี้ยุ่งมากเลยไม่ได้แวะไปทักทายบ่อยนัก ส่วนใหญ่จะอ่านอย่างเดียวไม่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้วย ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณชายขอบครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท